หน้าเว็บ

วันเสาร์, ตุลาคม 10, 2563

ลักษณะของจุดกลับตัวที่จะสามารถเด้งขึ้น โดยที่ไม่ผ่านการ sub แรงขาย

 องค์ประกอบสำคัญของการเด้งขึ้นเป็นรูปตัว V โดยที่ไม่ผ่านการ sub แรงขาย

  1. ลงมาชนแนวรับ ร่วม ของ T/F เล็กและ T/F ใหญ่
  2. ลงมาทำคลื่น 5 เป็นคลื่นลูกสุดท้ายก่อนจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ใน T/F เล็ก
  3. RSI อยู่โซนของการเด้งลงชนแนวรับมาแล้วเด้งขึ้น สั้น และ ลงมาที่แนวรับอีกครั้ง การลงสั้นลงเรื่อยๆเส้น RSI ขยับมาใกล้ตำแหน่งที่จะทะลุเส้น SMA ได้
  4. ใน T/F เล็กระดับ 1 นาทีขึ้นครบ 5 คลื่นที่แนวต้านด้านบน แล้วเปลี่ยนเทรนยืนบนแนวต้านได้ ลงขาเดียว คือ ลงมาทำขา 1 ขาเดียว แล้วติดแนวรับของ dow ขาขึ้น แล้วทำขาขึ้นต่อเลย ไม่ลงทำ ขา 2 และ 3 เหมือนว่ามีอาการของการรีบขึ้น เพราะจำนวน demand ที่สะสมไว้จากการหลุดแนวรับมาหลายแนวทำให้มีการสะสมพลังจำนวนมาก รอจังหวะจบขาลง หรือลงมาชนแนวรับแข็งๆ ของT/F ใหญ่ กราฟก็พร้อมที่จะวิ่งขึ้นเลย
  5. เมื่อวิ่งขึ้นชนแนวต้าน แล้วมีแรงขายออกมา ไม่ยอมลง แต่กลับยืนบนแนวรับของกรอบบีบตัวที่จะขึ้นต่อเปลี่ยนเป็นการทำคลื่น 1 ย่อ 2 ในมุมของ Elliott wave
  6. กราฟ 3 T/F 1,5,15 นาที เกิดสัญญาณซื้อพร้อมกัน
รูปกราฟ TFEX 4 T/F อธิบายที่ละ T/F
  • T/F 1 นาที
          เบรคแนวต้านของขาลงขึ้นมายืนได้และเมื่อวิ่งขึ้นไปชนแนวต้าน มีแรงขายออกมากราฟยืน sub แรงขายด้านบนแนวรับ เมื่อขึ้นครบ 5 คลื่น แรงขายสามารถลงมาทำขาลงได้ 1 ขาเพราะติดแนวรับ แล้วแรงซื้อก็ดันราคาขึ้นต่อเบรคแนวต้านขึ้นไป
  • T/F 5 นาที
          กราฟวิ่งขึ้นมาบนแนวรับแล้วยืน sub แรงขายโดยที่ไม่หลุดแนวรับ เมื่อ T/F 1 นาทีเคลื่อนที่ครบ 5 คลื่น และทำขาลงแค่ 1 ขา แล้วมีแรงซื้อซื้อกลับเลยดันราคาขึ้นทะลุแนวต้านขึ้นไป กลายเป็นการทำขา 1 ย่อ 2 เพื่อจะขึ้นคลื่น 3ของขาขึ้นแทนขาลง
  • กราฟ 15 นาที
        RSI ลงชนแนวรับครั้งที่ 2 หลังจากก่อนหน้านี้ลงมาชนก่อนแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 นี้เป็นตำแหน่งที่ RSI เด้งขึ้นจากแนวรับที่เป็นเหมือน double bottom ทำให้มีโอกาสสูงมากที่จะทะลุแนวต้านขึ้นไป

รูปกราฟ แสดงรายละเอียดจากกราฟ 4 T/F

รายละเอียดของกราฟ 4 T/F 1,5,15,H1


กราฟอธิบายรายละเอียดของการเด้งขึ้นของกราฟ 5 นาที

กราฟ 4 T/F 5,15,H1,H4







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น