หน้าเว็บ

วันพุธ, ตุลาคม 28, 2563

หุ้นที่เห็น ช่วงสะสมยาวๆ จะขึ้นได้ไกล

 หุ้นที่เห็นชัดๆ ว่ามีช่วงสะสมยาวนาน  เมื่อถึงเวลาวิ่งขึ้นก็จะไปได้ไกล เหมือนว่าเก็บสะสมพลังไว้เยอะ เมื่ออก สตาร์ท ก็จะไปได้กว่าตัวที่ไม่เห็นการสะสมยาวๆ

ตัวอย่างหุ้น STA 

เห็นกรอบสะสมยาวมาก กว่าปกติ เมื่อวิ่งขึ้นก็ไปได้เรื่อยๆถึงแม้ว่า set จะมีแรงขายออกมาก็ตาม



หุ้น KTC 

เป็นอีกตัวหนึ่งที่เห้นกรอบสะสม พลังยาวมาก เมื่อไม่หลุดแนงรับ ก็ค่อยๆวิ่งขึ้นไปได้เรื่อยๆ เป็นขาขึ้นไปทำคลื่น 4 ชนแนวต้านด้านบนอยู่





Tfex 28-10-20

 สัญญาณการเด้งขึ้น เมื่อชนแนวรับสำคัญ

  1. ดูแนวรับว่าเป็นแนวรับ ของ T/F ใหญ่ ระดับไหน Day หรือ week 
  2. ดูพฤติกรรม แรงซื้อ แรงขาย ผ่าน pattern ของกราฟ
  3. นับคลื่นย่อยใน T/F เล็กผ่านแนวรับ แนวต้านสำคัญ 
  1. ดูพฤติกรรม แรงซื้อ แรงขาย ผ่าน pattern ของกราฟ
จากรูป จะเห็นการลงมาครั้งนี้ เกือบชนแนวรับของ week ฉะนั้นจุดนี้ ก็น่าจะเห็นการเด้งขึ้นได้แรง เพราะเป้นแนวต้านจาก T/F ใหญ่

ดูพฤติกรรม แรงซื้อ แรงขาย ผ่าน pattern ของกราฟ
  • จะเห็นว่าเมื่อกราฟขึ้นไปชนแนวต้านด้านบน ของ T/F ระดับ H1,H4 แล้วยังสร้างคลื่นฝั่งขึ้นไม่ครบก็มีแรงขายออกมาจนกราฟเปลี่ยนเป็นขาลงที่แนวรับสำคัญ จากสัญญาณบอกว่ากราฟจะเปลี่ยนเป็นขาลง และจะลงได้ลึกเพราะแรงขายที่ทำลาย คลื่นฝั่งขาขึ้นได้ โดยที่ขาขึ้นยังสร้างขาขึ้นไม่เสร็จเลย
  • ดูในคลื่นย่อยจะเห็นว่า การสร้างใน T/F 5 นาทีสร้างคลื่นขาขึ้น ไม่ครบเช่นกันก็ยังเป็นสัญณาณบ่งบอกว่าแรงขายยังไม่หมดที่แนวรับนี้ กราฟจะยืดฝั่งลงทะลุแนวรับ แล้วไปชนแนวรับด้านล่างต่อไป


สัญญาณการเด้งขึ้นที่แนวรับ สำคัญ

  • คลื่นที่ลงมานับได้เป็น ขา 3 ใน T/F 15 นาที และ H1 รอการเด้ง เพื่อทำ ขา 4 หรือ จบลง แล้วทำ ขา 1,2 ของขาขึ้น
  • ดูแนวรับแล้วลงชนแนวรับระดับ week ฉะนั้นที่แนวรับนี้จะเด้งขึ้นได้แรง เพราะเป้นแนวรับของ T/F ใหญ่
  • สังเกตุกราฟใน T/F 5 นาทีจะเห็นว่าเกิดการเด้งขึ้นไปชนแนวต้าน แล้วยืนได้เมื่อสร้าง คลื่นครบแล้วแรงขายออกมา ก็ยังยืนได้ไม่หลุดแนวรับ หรือ ทำ low ใหม่ เป็นสัญญาณการเด้งขึ้นจากแรงซื้อที่มีมากกว่าแรงขาย
  • ในกรอบของ T/F 5 นาที จะเป็นกรอบแนวรับแนวต้านที่บีบตัวเพื่อเลือกทาง เมื่อทางลงไม่ทำ low ใหม่ก็จะเริ่มสร้างฝั่ง  ขึ้นแทน



  • ดูแนวรับว่าเป็นแนวรับ ของ T/F ใหญ่ ระดับไหน Day หรือ week 

  • แนวรับระดับ T/F week



วันศุกร์, ตุลาคม 23, 2563

ลักษณะของจุดเปลี่ยนเทรน ขึ้น และ ลง

การที่กราฟจะขึ้น หรือ ลงมันต้องมีปัจจัยอะไร ที่เข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง เราเคยสงสัยบ้างไหม

เท่าที่พรานล่าหุ้น พอจะเห็น พอจะรู้ คือ  

  • ใน T/F เล็กเกิดคลื่นที่เป็น cycle มาแล้ว หลาย cycle วิ่งขึ้นลงในกรอบของแนวรับและแนวต้าน
  • เมื่อแรงฝั่งหนึ่ง เริ่มมีแรงมากกว่าอีกฝั่ง ก็จะเริ่มเห็นการสร้าง pattern ของการขึ้น หรือ ลง
  • กราฟจะเริ่มขยับ ไปที่แนวรับ หรือ แนวต้าน ที่มีแรงมากกว่ามากระทำ เพื่อที่จะวิ่งทะลุเพื่อเปลี่ยนเทรน
  • เมื่อถึงจุด ที่แรงซื้อ หรือ แรงขาย เริ่มอ่อนแรงกว่าอีกฝั่ง ก็จะเกิด pattern ที่เรามองออกว่าจะขึ้น หรือ ลง พรานล่าหุ้น เรียกว่า จุดเปลี่ยนเทรนของการ ขึ้น หรือ ลง 
  • จะเริ่มเห็นการ dow ขาขึ้น หรือ ขาลง ไปเรื่อยๆ ที่ตำแหน่งแนวรับ หรือ แนวต้านถัดไป
ตัวอย่างกราฟ อธิบาย พฤติกรรมของกราฟฝั่งลงผ่านกราฟ ได้ดังนี้

พฤติกรรมของกราฟขาลง

1. หยุดการขึ้น
  • จะเกิดแรงขายที่ตำแหน่งของแนวต้าน ที่มี supply จำนวนมากไม่ยอมให้ผ่านแนวต้านนี้ไปได้ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวต้านของ T/F ใหญ่ระดับ day ขึ้นไปจะเห็นพฤติกรรมได้ง่าย
2. สร้าง dow ขาลง
  • เกิดการทำคลื่น 1 ย่อ 2 แต่เป็นในทางขึ้น ที่ขึ้นติดแนวต้านแล้วไปต่อไม่ได้ สุดท้ายกลับเป็นขาลง โดยการสร้าง คลื่น 2 ของขาลง
3. แรงขายเริ่มมากกว่าแรงซื้อ 
  • เกิดการยืดขาลงออกไปที่แนวรับถัดไป ถ้าแรงขายในช่วงนี้มีจำนวนมากขึ้น เพราะเป็นช่วงที่แรงขายกดทะลุแนวรับลงไปได้ ก็จะมีแรงเทขายจำวนมากออกมา ทำให้กราฟลงไปทะลุแนวรับได้ 1-2 แนว
4. ช่วงที่แรงขายเริ่มอ่อนแรงจาก แรงซื้อจากแนว demand ใหม่ จะเห็นกราฟออกข้างเป็น sideway
  • กราฟจะลงมาชนแนวรับตามจุดสำคัญๆ ของกราฟ ที่พอจะมี demand ที่ทำให้กราฟ เด้งขึ้นได้
  • ช่วงแรกจะมีแรงซื้อจากแนว deamnd เข้ามาทำให้กราฟเด้งขึ้น ไปชนแนวต้านด้านบน แล้วมีแรงขายออกมา เพื่อที่จะไม่ให้กราฟทะลุขึ้นไป
  • ถ้าแรงซื้อและแรงขายพอๆ กันกราฟก็จะออกข้างนานหน่อย เกิดเป็น sideway ขนาดใหญ่ 
5. ช่วงเริ่มเปลี่ยนเทรน จากแรงขาย ที่เป็นที่มีมากกว่า
  • ช่วงนี้จะเกิดหลังจากการเด้งขึ้นชนแนวต้าน และเกิดคลื่นมาแล้ว 2 ลูก
  • กราฟจะเริ่มเลือกทาง ถ้าแรงขายมากกว่า กราฟก็จะเริ่ม ไหลลงมาที่แนวรับด้านล่าง
  • เมื่อลงมาชนแนวรับ แล้วเจอแนว demand ใหม่ กราฟไม่สามารถทะลุแนวต้านก่อนหน้า แล้วขึ้นมายืนได้
  • เมื่อกราฟสร้างคลื่น จากแนว demand จนครบคลื่นแล้ว ไม่สามารถยืดฝั่งขึ้นออกได้ ก็จะมีแรงออกมาเปลี่ยนเป็นขาลง ลงไปแนวรับถัดไป

ภาพลักษณะของขาลงจากกราฟ T/F day

กราฟขาลง T/F day

ขยายคลื่นย่อย จากกราฟ 240 นาที หรือ T/F H4
  •  จะเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น และเห็นคลื่นสมบูรณ์ขึ้น

กราฟขาลง T/F H4

ตัวอย่างกราฟขาลงจาก หุ้น Thai

หุ้น TQM



หุ้น CKP



ลักษณะของจุดเปลี่ยนเทรนของฝั่งขาขึ้น แยกออกเป็น 4 โซน

1. โซนที่ลงมาชนแนวรับของ T/F ใหญ่ แล้วหยุดลง
  • กราฟจะเป็นขาลงมาที่แนวรับสำคัญของ T/F แล้วมีแรงซื้อที่ตำแหน่งนี้ จำนวนมากจนกราฟเปลี่ยนจากขาลง เป็นหยุดลง อาจจะเห็นแรงซื้อจนเกิดแท่งเทียน สีเขียว หางยาวขึ้นที่ตำแหน่งแนวรับนั้นๆ
2. โซนของการเด้งขึ้น เพื่อจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น
  • เมื่อกราฟลงมาชนแนวรับของ T/F ใหญ่ แล้วเด้งขึ้นไปชนแนวต้านเกิดการทำ คลื่นขาขึ้น แต่ยังไม่สามารถผ่านแนวต้านของ T/F ใหญ่ได้ กลับตัวลงมาที่แนวรับอีกครั้ง แล้วไม่ลงต่อ อาจจะเห็นการทำกราฟรูปแบบ duble bottom แล้วกราฟจะเข้าสู่กระบวนการ sub แรงขายและหยุดลงชั่วคร่าว
3.โซนของการ sub แรงขาย สู้กันระหว่างแรงซื้อและแรงขาย กราฟออก sideway
  • โซนนี้จะเกิดหลังจากที่กราฟเด้งขึ้นจากแนวรับสำคัญไปแล้ว ชนแนวต้านแล้วมีแรงขายออกมา กลับเป็นขาลงมาที่แนวรับอีกครั้ง 
  • แรงซื้อและแรงขายก็จะสู้กันเพื่อสร้างเทรนของตัวเอง ถ้าแรงซื้อมากกว่ากราฟก็จะค่อยๆขยับขึ้น คือ  กราฟก็จะวิ่งขึ้นชนแนวต้านแล้วมีแรงขายออกมา กราฟลงที่แนวรับ และก็มีแรงซื้อดันราคาขึ้นไปอีกเป็นครั้งที่ 2 จะไม่เห็นแรงขาย ดันราคาลงที่แนวรับนี้
4.โซนของการแรงซื้อมากกว่าแรงขาย และ สร้างเทรนขาขึ้นสำเร็จ
  • กราฟจะเริ่มยก low ยก high ใหม่ขึ้นไปที่แนวต้านด้านบน
  • เกิดการบีบตัวระหว่างแนวรับ และ แนวต้านเพื่อเลือกทาง ที่แนวต้านด้านบน
  • กราฟ ยืนบนแนวรับที่ยก low ขึ้นได้ และพยายามบีบตัวขึ้นไปเพื่อที่จะทะลุแนวต้านถัดไป
ตัวอย่างกราฟหุ้น 4 T/F 

หุ้น WHAUP คลื่น 4
   

หุ้น CHG คลื่น 2


 หุ้น COM7 คลื่น 4 


หุ้น TKN คลื่น 4



วันพุธ, ตุลาคม 21, 2563

ทรงของกราฟหุ้นที่ขึ้นตาม set วันนี้

 หุ้นที่มี flow เข้าและขึ้นตาม set วันนี้

กราฟ set index วันนี้ มีแรงซื้อที่แนวรับของกราฟ day 

กราฟ set index

1. DOHOME

  • เป็นหุ้นคลื่น 4 ลงมาที่แนวรับแล้วเด้งขึ้นจากการเด้งของ set 
   

กราฟ 4 T/F 15,H1,H4, day

2. PTTEP
  • เป็นหุ้นที่ยังคงเป็นขาลง ทรงเดียวกับ set ยังไม่กลับตัวเป็นขาขึ้น

กราฟ 4 T/F 15,H1,H4, day

3. SCB
  • กราฟเป็นขาลงตาม set แล้วเริ่มเด้งขึ้นตาม set เพราะ flow เข้ากลุ่ม Bank วันนี้  

กราฟ 4 T/F 15,H1,H4, day

4. KBANK
  • กราฟเด้งขึ้นตั้งแต่เมื่อวานที่ set กลับตัววันนี้ก้มี flow เข้าต่อเมื่อ set เริ่มสร้างเทรนขาขึ้น
กราฟ 4 T/F 15,H1,H4, day


ลักษณะจุดกลับตัว เริ่มจาก Time frame เล็กไปใหญ่


รูปแบบการกลับตัวที่แนวรับมีหลายรูปแบบ แต่หลักๆ จะมีข้อสังเกตุ ดังนี้
  • ต้องลงครบคลื่นในมุมของ wave และชนแนวรับสำคัญของ T/F ใหญ่
  •  เกิดการเด้งขึ้นที่แนวรับเพื่อ sub แรงขาย แล้วกลับขึ้นมายืนบนแนวรับที่หลุดลงไปได้
  • เกิดการเด้งเป็นรูปแบบ Flat ในมุมของ wave ที่แนวรับนั้นๆ
  • เริ่มสร้างฐานราคา คือ เริ่มยก low ยก high ขึ้น ในมุมของ dow theory
  • เริ่มวิ่งขึ้นไปที่แนวต้านเพื่อที่จะทะลุผ่านขึ้นไป แล้วเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้น 
ตัวอย่างการกลับตัวที่แนวรับที่เจอ จะมี 2 แบบ

ตัวอย่างการกลับตัวแบบที่ 1 ที่แนวรับในกราฟ TFEX เขียนเป็นข้อๆได้ดังนี้
  • T/F 15 นาทีลงมาชนแนวรับเด้ง sideway เป็นคลื่น 4 ขึ้น
  • กราฟ T/F 5 นาทีเกิดการเด้งขึ้นที่แนวรับ แต่พอขึ้นไปชนแนวต้านของ dow ขาลงก็มีแรงขายออกมาแล้วลงมาทำคลื่น 5 ขาสุดท้ายในกราฟ 15 นาที
  • กราฟ H1 จะเห็นการคลื่น 3 และ ออกข้างเป็นคลื่น 4 และลงคลื่นก่อนเด้งขึ้น
  • กราฟ H4 จะนับคลื่นได้ว่าเป็นคลื่น 3 และเด้งขึ้นเพื่อทำคลื่น 4  


TFEX 4 T/F 5,15,H1,H4


ภาพจุดเปลี่ยนเทรนในกราฟ 5 นาที จุดสังเกตุกราฟ และ indicator
  • กราฟลงมาทำคลื่น 3 และเด้งที่แนวรับ
  • เกิดการทำ double bottom ที่แนวรับนี้เป็นสัญญาณของการเด้งขึ้น
  •  เมื่อเด้งขึ้นแล้วเกิดการทำ ขา 1 ย่อ 2 บนแนวรับที่ยกตัวขึ้นเกิดสัญญารของการเปลี่ยนเทรน
  • หลังจากทำ คลื่น 1 และ 2 สำเร็จก็วิ่งขึ้นทำคลื่น 3 ยืดทะลุแนวต้านขึ้นไป

TFEX 4 T/F 5,15,H1,H4


 รูปในกราฟ 5 นาทีเมื่อจบการทำคลื่น 5 ก็ลงทำ abc แล้วเกิดการทำ double bottom ที่แนวรับอีกครั้ง ตอนเช้าตลาดเปิเมาก็กระโดดยืดคลื่น 3 ใน T/F H1 ขึ้นไปเป็นลักษณะของจุดกัลตัวที่กลับสำเร็จ และเปลี่ยนเป้นเทรนขาขึ้น


TFEX 4 T/F 5,15,H1,H4

ตัวอย่างภาพการกลับตัวของ set thai เป็นรูปแบบการกลับตัวของแบบที่ 2
  • กลับตัวจากแนวรับของ T/F week แต่ดูคลื่นย่อยในกราฟ 4 T/F ที่เล็กกว่า


รายละเอียดของคลื่นย่อยในกราฟ 5 และ 15 นาที

  • รายละเอียดของคลื่นย่อยในกราฟ 15 นาที

กราฟ T/F 15 นาที



กราฟ 5 นาที คลื่นย่อยทีเป็นขาลง
  • ทำขาลงลงไปที่แนวรับของกราฟ day
  • เด้งขึ้นทำคลื่น 3,4,5 และทำขาลง 1 ขาคือ ขา A แล้วทำขา 1 ,2 ของขชาขึ้นเลย
  • เกิดการกลับตัวที่แนวรับของ T/F week แล้วเริ่มยก low ยก high ไปที่แนวต้านด้านบน

กราฟ T/F 5 นาที



TFEX หาสัญญาณของการเด้งขึ้นจาก RSI

 จากรูปใช้กราฟ 4 T/F

เงือนไขการเกิด สัญญาณ การเปลี่ยนเทรน

  • RSI ต้อง ยืนเหนือเส้น SMAและใกล้เส้น 50 เพื่อวิ่งขึ้นทะลุเส้นนี้
  • MACD เกิดแท่งเขียวแท่งแรกเหนือเส้น 0
  • เกิดการตัดกันของเส้น SMA ช้าและเร็ว
  • การขึนลงของคลื่นทั้งคลื่นย่อยและคลื่นใหญ่ ต้องครบคลื่นแล้วถึงจะเกิดสัญญารการเปลี่ยนเทรน

ตัวอย่างรูปที่เกิดสัญญาณการเปลี่ยนเทรนจาก 4 T/F

  • 5,15,H1,H4 นาที

TFEX 4 T/F


พิจารณาภาพ T/F5,15,H1,H4 ประกอบ


TFEX 4 T/F



RSI บอก แนวรับแนวต้านที่จะเด้งได้ ส่วนจะกลับตัว หรือ ไม่กลับต้องดู patttern ของกราฟ

ความเข้าใจในการใช้งานของเครื่องมือนี้ 

RSI เป็น indicator พื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปหลายคนเข้าใจเรียกโซนซื้อขายว่า โซน over bought และ over sold และพยายามจะหาจังหวะเข้าสถานะ เพราะมองว่าเป็นจังหวะกลับ ขึ้น หรือ ลง แต่ในมุมมองของพรานล่าหุ้นไม่ได้มองว่าเป็น โซนกลับตัวขึ้นหรือลง เพราะว่าทุกครั้งที่กราฟเคลื่อนที่มาในโซนนี้ มันคือแนวรับหรือแนวต้านสำคัญเท่านั้น จะกลับหรือไม่กลับต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นอีก ใช้ RSI บอกว่าเป็นซื้อขายก็ต้องพิจาณาต่อว่า ซื้อแล้วเป็นแค่เด้งขึ้นเพื่อลง หรือ กลับตัวเลย ถ้าใช้ T/F ระดับ H1 ขึ้นไปก็พอที่ทำกำไรในจังเด้งขึ้นได้ แต่ต้แงออกให้ทันเพราะ ถ้าเข้าใจว่ากลับตัวแล้ว อาจจะทำให้จังหวะขาย ขายไม่ทันเพราะหักลงทุนมองว่ากลับตัวแล้ว

ตัวอย่างจากรูป

กราฟ 5 นาที จะเกิดจุดที่ RSI ลงมาโซน 30 หลายครั้งแต่ในภาพใหญ่ยังคงเป็นเทรนขาลงอยู่

การเกร็งกำไรในกราฟ 5 นาทีซึ่ง เทรนหลักเป็นขาลง

  • รอให้ RSI ลงมาที่โซน 30 หรือ 20 
  • หาเส้น SMA เพิ่มลงไปใน RSI เพื่อดูจังหวะที่เกิดสัญญาณตัดกัน
  • รอจังหวะ RSI ตัดเส้น SMA เกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรน
  • ขายเมื่อ RSI ตัด SMA หลุดเส้น 0 ลงมา



กราฟ H4 นาที

จะเห็นจังหวะของ RSI ที่ลงมาในโซนต่ำกว่า 30 อยู่หลายถ้าเป็น T/F ใหญ่ระดับ 60 นาทีขึ้นพอเอามาเกร็งกำไรในจังเด้งขึ้นของ RSI แต่ไม่ใช้การหาจังหวะกลับตัว ถ้าจะหาจังหวะกลับตัวต้องรอยืน ใน T/F ที่ใหญ่กว่าและเกิดสัญญารการตัดของเส้น SMA



กราฟ day

จังหวะที่ RSI ลงมาในโซนต่ำกว่า 30 มี 3ครั้ง
  1. ครั้งที่ 1 เป็นจังหวะเด้งเพื่อลงต่อ 
  2. ครั้งที่ 2 เป็นจังหวะเด้งแล้วกลับตัวจริง
  3. ครั้งที่ 3 เป็นจังหวะเด้งแล้วลงต่อ




 

วันจันทร์, ตุลาคม 19, 2563

Tfex จังวหะ Short และ long วันนี้

จังหวะ short Tfex เงื่อนไขในการเปิด S

  • เปิดโดดหลุดแนวรับลงมา
  • ยืนได้แล้วสร้างฐานในกราฟ 1 นาทีสรา้ง 3 แล้วยืนทำคลื่น 5 ไม่ได้ ลงมาที่แนวรับแล้วเด้งขึ้นไม่ผ่าน เส้น sma เป็นจังหวะของ ขาลง
  • ในกราฟ 1 นาทีลงมาที่แนวรับสร้างฐานแล้วกราฟพังที่คลื่น 4 ก็ลงต่อ
  • กราฟ 5 นาที macd ตัดลงแล้วเส้น macd ไม่สามารถตัด signal ได้อีกก็ยังคงเป็นขาลงอยู่ 


 

จังหวะเปิด Long ระยะสั้น

  • กราฟ 5 นาที macd ลงมาที่แนวรับแล้ว histrogram ไม่ทำสีแดงด้วยแสดงว่าแรงขายน้อยและใกล้จะกลับตัว
  • กราฟ 15 นาที RSI ลงมาที่เส้น 20 ซึ่งเป็นจุดเด้งขึ้นก่อนลงจะใหม่
  • กราฟ H1 ก้ลงชน RSI 20 ซึ่งปกติจะต้องเด้งก่อนลงอีกครั้ง
  • กราฟ 1 นาที macd เกิด histrogram แต่ไม่หลุด 0 แล้วสร้างขา 1,2 เพื่อขึ้นขา 3    





วันอาทิตย์, ตุลาคม 18, 2563

จุดเปลี่ยนเทรนขึ้น,ลง คือจุดเดียวกันจะเลือกทางไหน อยู่ที่อารมณ์ของตลาด

เงื่อนไขในการพิจารณา เพื่อหาจุดเปลี่ยนเทรนของหุ้น  มีอะไรบ้าง
  1. เทรนของกราฟใน T/F ใหญ่ อยู่ในเทรนขึ้น หรือ ลง 
  2. อารมณ์ตลาด ซื้อ หรือ ขาย หรือ ซื้อๆ ขายๆ หรือ ไม่ซื้อไม่ขาย
  3. ทรงของกราฟที่จะเอามาเทรด เข้าเงือนไขหุ้นที่จะเอามาเทรด
  4. หุ้นที่เอามาเทรด เป็นหุ้นประเภทไหน ( growth, turn around,หุ้นเกร็งกำไร,หุ้นมีข่าว )
  5. ประเภทของหุ้น 
         - หุ้นใหญ่พื้นฐานดี เอาไว้ทำราคา set index

         - หุ้นใหญ่พื้นฐานดี แต่ไม่ได้เอาไว้ราคา set index

         - หุ้นวัฎจักร มาเป็นรอบๆ

         - หุ้นขนาดกลางพื้นฐานดี รายใหญ่คุมอยู่

         - หุ้นขนาดกลางพื้นฐานดี รายย่อยเล่นกันเอง

         -  หุ้น turn around

         - หุ้นที่ไม่ได้รับความสนใจในช่วงเวลานั้นๆ  

ในวันที่ตลาดเป็นขาลงมีแรงขายมากกว่าแรงซื้อ กราฟเป็นขาลงหุ้นส่วนใหญ่ก็จะถูกขายแล้วลงตามตลาด แบ่งหุ้นที่ถูกขาย กับ หุ้นที่ไม่ถูกขาย จากทรงของกราฟ และเทรนที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อตลาดเป็นขาลงต้องมีแรงออกมาจากหุ้น อยู่ที่ว่าจะเอาหุ้นตัวไหนบ้างมาขายออก อาจจะไม่ถูกขายทุกตัว

เหตุผลของหุ้นบ้างตัวที่ไม่ลงตามตลาดใมวันที่ตลาดมมีแรงขายออกมา ดังนี้

  • หุ้นที่ถูกขายเป็นขาลงมาก่อนแล้ว ลงมาที่แนวรับอยู่ในโซนของการเด้งเพื่อเลือกทาง
  • เป็นหุ้นที่กำลังสร้างฐานของขาขึ้นอยู่ เนื่องจากพื้นฐานเปลี่ยน
  • เป็นหุ้นที่ถูกทำราคาขึ้นมายังไม่จบขาขึ้น และไม่มีนักลงทุนสถาบัน หรือ ต่างชาติถือครองในจำนวนมากพอที่จะเปลี่ยนทิศทางได้
  • หุ้นพื้นฐานดีเป็หุ้น growth stock ที่มีพื้นฐานรองขึ้นมาต่อเนื่องยาวนาน อาจจะย่อลงในกรอบล่าง ลงมาที่แนวรับแต่ยังอยู่ในเทรนเดิม กราฟยังไม่เสียทรง
ภาพ set index T/F 60 นาทีเป็นขาลงมาที่กรอบแนวรับ


หุ้นที่ตำแหน่งของจุดเปลี่ยนเทรนเลือกทางลง เพราะถูกขายออกมาตามตลาด

Patternของหุ้นที่ถูกขายออกมาตามตลาด

หุ้น TQM


หุ้น PRM 


หุ้น CKP


หุ้น ERW



หุ้นที่ยังขึ้น หรือ ยืนได้ในวันที่ ตลาดมีแรงออกมา

TISCO 

รายงานงบดีกว่าคาดทำให้มีแรงซื้อเข้ามา ราคากระโดดขึ้นไปติดแนวต้าน

TISCO T/F 60 นาที

MTC 

กราฟวิ่งอยู่ในกรอบ sideway และยืนได้บนแนวรับ


PTTTGC

ยืนได้ และกราฟวิ่งอยู่ในกรอบ sideway



STA

กราฟไม่ลงตามตลาด ยืนได้บนแนวรับ



KCE 

กราฟก็ยังวิ่งขึ้นในเทรนขาขึ้นของ T/F ใหญ่ไม่มีแรงขายออกมาทำให้กราฟเสียทรง




สรุป

ว่าในวันที่ตลาดมีแรงออกมาเปลี่ยนเทรนเป็นขาลง จะมีหุ้นบ้างตัวที่ไม่ลงตามตลาด เนื่องจากหลายสาเหตุแต่เมื่อตลาดมีแรงซื้อกลับมา แล้วเปลี่ยนเทรนใหม่เป็นขาขึ้น หุ้นพวกนี้เป็นหุ้นที่น่าสนใจที่จะคัดเอามาเทรดต่อไป





เทรดไปต้องอ่านแรงซื้อและแรงขาย อารมณ์กราฟ อยากขึ้นหรืออยากลง

ถ้ารู้จักสังเกตุอารมณ์ ของตลาดก็พอที่จะคาดการณ์เหตุการณ์ต่อไปที่จะเกิดตามแนวรับแนวต้านได้ดีขึ้น ถ้าตลาดอยากขึ้น 

  • แรงขายจะหายไปจะมีแต่แรงซื้อ และขึ้นไปยืนบนแนวรับได้สบาย 
ถ้าตลาดอยากจะลง

  • แรงซื้อจะหายไปมีแต่แรงขายตามแนวต้านจะขายใส่กราฟจนขึ้นไม่ได้แล้วกราฟก็จะเปลี่ยนเป็นขาลงตาม แรงวขายที่ขายออกมา


จากรูป พิจาณาเป็น T/F ไป 

  • T/F 1 นาทีมีการกระโดดเปิด gap ขึ้นติดแนวต้านแต่ยืนไม่ได้ สรา้งคลื่นได้แค้คลื่น 3 และกำลัทำคลื่น 4 ที่แนวต้านแต่กลับมีแรงขายใส่จำนวนมาก จนกราฟลงมาหลุดแนวรับสำคัญแล้วจังหวะเด้งขึ้นไม่สามารถทะลุแนวต้านของ dow ขาลงได้กราฟจึงเปลี่ยนเป็นขาลงตามแรงขายที่ขายออกมาจำนวนมาก
  • T/F 5 นาทีเด้งขึ้นไปชนแนวต้านก่อนหน้า แล้วมีแรงขายออกมาเกิดแท่งเทียนสีแดงยาวลงมาที่แนวรับแล้วก็มีแรงซื้อกลับ ดันขึ้นไปแต่ไม่สามารถทำ high ใหม่ได้กลับกัน เมื่อชนแนวต้านด้านบนแล้วก็เปลี่ยนเป็นขาลงมาที่แนวรับเป็นครั้งที่ 2 บ่งบอกว่ากราฟไม่สามารถขึ้นได้ มีแรงขายจำนวนมากขายออกมา แสดงว่าตลาดจะเอากราฟลงไม่เอาขึ้น
  • T/F 15 นาที กราฟวิ่งขึ้นยังอยู่ในกรอบของขาลงอยู่ เพราะเมื่อติดแนวต้านก่อนหน้าก็เปลี่ยนเป็นขาลงเลย ไม่มีแรงซื้อเข้ามาดันราคาให้ออกข้างก่อน เป็น sideway ก่อนเลือกทางที่แนวรับ แต่ดันกดกราฟหลุดแนวรับในการลงมาครั้งที่ 2 เลย ไม่ไเกิดการทำ double bottom ก่อนแล้วค่อยเลือกทางบ่งบอกถึงแรงขายจำนวนมากคุมสถานการณ์ไก้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
  • T/F H1 จังหวะเด้งเพื่อเปลี่ยนเทรนจากแนวรับสำคัญ ก็เด้งแล้วเกิดแท่งแดงยาวลงมาที่แนวรับจำนวน 4 แท่ง  แล้วก็ลงต่อเลย บ่งบอกว่าตลาดอยากลงมาก เพราะเกิดแรงขายจำนวนมาก และราคาเปลี่ยนแปลงเป็นขาลงอย่างรวดเร็ว


รูป 4 T/F ของกราฟ TFEX ขาลง



อ่านกราฟช่วงผันผวน วิ่งในกรอบ

 เมื่อกราฟวิ่งขึ้นชนแนวต้านแล้วมีแรงขายอกมา กราฟวิ่งผ่านไปไม่ได้ และเมื่อลงมาแนวรับก็มีแรงซื้อกลับตลอดจนกราฟเริ่มออกข้าง วิ่งขึ้นลงในกรอบแคบๆ เมื่อกราฟจะเริ่มเปลี่ยนเทรนกราฟจะมีพฤติกรรมแบบไหน มาดูกัน 

กราฟ TFEX วันที่ 16-10-20 อธิบายรูปกราฟด้านล่าง

  • กราฟลงมาชนแนวรับที่มี demand เพียงพอที่จะเด้งขึ้นไม่ลงต่อ
  • T/F 1 นาทีเกิดการเด้งขึ้นทำคลื่น Flat แล้วทำฐานของขาขึ้นโดยกราฟวิ่งขึ้นทะลุแนวรับสำคัญอขงขาลงแล้วยืนบนแนวรับ เกิด  dow ขาขึ้นในที่สุด
  • กราฟ 5 นาทีเกิดกรอบ sideway แล้วกราฟเลือกทางขึ้นก่อนจะมีแรงขายออกมา แลัวกราฟกลับตัวลงมาที่แนวรับของขาขึ้นยังไม่หลุด
  • กราฟ 15 นาทีช่วงของการเด้งขึ้นนับคลื่นได้เป็นคลื่น รอดูการของคลื่น 4 ว่าจะยืด 5 ลงต่อ หรือ ทำ 1,2 แล้วเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้น
  • กราฟ H1 เกิดแรงซื้อจาก ตำแหน่ง demand ที่แนวรับแต่กราฟไม่สามารถขึ้นไปยืนบนแนวรับได้ มีแรงขายออกมา แล้วกราฟก็หลุดแนวรับสำคัญเปลี่ยนเป็นเทรนขาตามเดิม
     

กรอบ sideway ก่อนเลือกทางจาก T/F M1


รูปต่อมาเป็นกรอบ sideway ของขาขึ้นอธิบายภาพตาม T/F ดังนี้
  • T/F 1 นาทีลงมาที่แนวรับแล้วเกิดการเด้งขึ้นจากแนว demand เพื่อที่จะเปลี่ยนเทรน และสุดท้ายสามารถ ยืนบนแนวรับของ dow ขาขึ้นได้ และทำคลื่น 1 ย่อ 2 ของขาขึ้น
  • T/F 5 นาที เกิดการสรา้งคลื่น Flat แล้วทำ double bottom ขึ้นมายืนสร้างขา 1,2 ของขาขึ้นได้
  • T/F 15 นาทีลงมาที่แนวรับในตำแหน่งของคลื่น 4 จึงเกิดการเด้งขึ้นจาก demand นี้เปลี่ยนเป็นขาขึ้นชั่วคร่าว
  • T/F H1 ลงมาที่แนว gap ที่เปิดไว้ แล้วติดแนวรับลงครบคลื่น 3 เลยเป็นจังหวะของการเด้งทำขา 4   

กราฟ 4 T/F ดูการเลือกทางใน side way

กรอบ side way ของขาลง อธิบาย 4 T/F ดังนี้
  • จากภาพ จะเห็นว่า T/F 1 นาทีเด้งขึ้นพยายามจะสร้าง low ของขาขึ้นแต่เมื่อชนแนวต้านเกิดการสร้าง high ที่เตี้ยลงติดแนวต้านผ่านไม่ได้เกิดเป้นการทำ dow ขาลงแทน
  • T/F 5 นาทีเกิดการเด้งของคลื่น 4 ที่แนวรับแต่ไม่สามารถสร้างฐานของเทรนขาขึ้นได้ 
  • T/F 15 นาทีตำแหน่งที่ลงมาแล้วเด้ง เป้นตำแหน่งที่ยังลงไม่ครบคลื่น เลยมีแรงขายออกมาไม่ยอมให้กราฟทำฐานของขาขึ้นได้ แล้วกราฟก็เปลี่ยนเป็นขาลงในที่สุด
  • กราฟ H1 เกิดการเด้งที่แนว demand เป็นคลื่น 3 และมีแรงขายขายใส่จนเกิดการสร้างคลื่น 3 ที่ยืดออกลงไปที่แนวรับถัดไป RSI ลงมาที่เส้น 20 ลงลึกมากก่อนจะเด้งจากแนวรับนี้

สัญญาณขาลงจากราฟ 1 นาที 

ภาพการสร้างเทรนขาลงจากราฟ 1 นาที แต่ T/F H1 ยังลงไม่ครบคลื่น
  • จะเห็นว่าใน T/F 1 นาที มีแรงซื้อที่แนวรับแล้วพยายามจะสร้าง dow ขาขึ้นแต่ช่วงท้ายของกราฟ กลับมีแรงขายออกมากดกราฟหลุดแนวรับของขาขึ้นไม่สามารถยืนบนแนวรับของขาขึ้นได้ แล้วก็เปลี่ยนเป็นขาลงตามเดิม T/F H1
  • กราฟ 5 นาที เป็นตำแหน่งของการสรา้ง Flat ที่ตำแหน่ง demand ทำคลื่น 3, 4 และ 5 แต่ดันยืดขา C ออกจากแรงขายแล้วกลับขึ้นไปยืนบนแนวรับไม่ได้ก็เปลี่ยนขาลงตาม T/F ใหญ่


สัญญาณเปลี่ยนเทรนจากกราฟ 1 นาทีจากตำแหน่งแนวรับของ T/F H1



วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 15, 2563

Tfex 14-10-63

 ภาพตอนเช้า จุดเปลี่ยนเทรนของขาลง จุดสังเกตุพฤติกรรมของกราฟ

  • T/F เล็กขึ้นครบคลื่น 
  • ชนแนวต้านสำคัญ ระดับ H1
  • เกิด divergene จาก MACD ของ T/F H1

กราฟ Tfex 4 T/F

เปิด gap โดดลงมาที่แนวรับของ H1 แล้ว sub แรงขายเพื่อจะกลับตัว

กราฟ 4 T/F


หลังจากลงมาแล้ว sub แรงขายแต่เปลี่ยนเทรนก้ลงอีก 1 ขาเป็นขา 5 ถึงแนวรับสำคัญของ H1 จุดสังเกตุของการเปลี่ยนเทรน
  • ลงมาครบ 5 คลื่นในฝั่งลงแล้วถึงจึดเด้งขึ้น
  • กราฟเด้งขึ้นทำคลื่น 3, 4, 5 พอทำขาลง ทำขาเดียวคือขา a เป็นลักษณะของฝั่งขึ้นอยู่
  • ใน T/F 15 นาทีขึ้นทำ 3,4,5 แล้วลงทำ a ขาเดียวติดแนวรับไม่หลุด คือ การจบขาลงแล้วจะเปลี่ยนเทรนเป็นการทำขาขึ้นต่อเพราะ ไม่ยืดขาลงออก แสดงว่าแรงขายหมดแล้ว 

ตำแหน่งจุดเปลี่ยนเทรน 4 T/F

จุดเปลี่ยนเทรนที่เป็นแนวร่วมของ 4 T/F

  • นับคลื่นใน 1 นาทีเพื่อดูคลื่นย่อย
  • เอามาเชื่อมกับ T/F 5 และ 15 นาทีเพื่อดูภาพใหญ่
  • หลังจากนับคลื่นครบแล้วในกราฟ 5 และ 15 นาที กราฟยังติดแนวรับของฝั่งขาขึ้นอยู่
  • indy บ่งบอกว่าการลงเริ่มอ่อนแรง แรงซื้อเริ่มได้เปรียบ
  • เมื่อจบการย่อจากกราฟ 15 นาทีจะเห็นโครงสรา้งของกราฟว่า พร้อมจะขึ้นต่อเพราะกราฟ ทำโครงสร้างของ คลื่น 1 ย่อ 2 ใหญ่เพื่อจะยืดขึ้นคลื่น 3 ต่อไป

กราฟ 4 T/F 1,5,15,H1