หน้าเว็บ

วันอังคาร, ธันวาคม 29, 2563

ดูคลื่นย่อย และจังหวะเด้งขึ้นของกราฟ XAU/USD

สังเกตุ จุดกลับตัวของกราฟ เพื่อจังหวะในการเปิด oreder

มี 3 สัญญาณที่กราฟส่งออกมา ที่พรานล่าหุ้นจับได้ คือ 

  1. ลงมาชนแนวรับของ กราฟ H1
  2. เกิดสัญญาณการเด้งขึ้นของการจบคลื่น 3 ในกราฟ 15 นาที
  3. กราฟ 5 นาทีแรงขายเริ่มอ่อนแรงลง แรงซื้อเริ่มเข้ามาแทน 

ดูจากรูปจะเห็นความสัมพันธ์ของ 3 T/F ที่พรานล่าหุ้นจับความเชื่อมโยงได้แล้วเอามาวิเคราะห์ หาจังหวะในการเข้าอีกครั้ง เพราะเมื่อ 3 T/F เกิดสัญญาณการเชื่อมโยงกัน มันก็จะเป็นเหตุที่ดี ในการเกิดการเปลี่ยนเทรนชั่วคราวในกราฟ H1 เพราะสัญญาณที่ได้จะจับมาจาก T/F ใหญ่ก่อน และสังเกตุการสร้างคลื่นใน T/F เล็กไปด้วย เมื่อมาถึงที่เชื่อมโยงกัน ก็จะเกิดสัญญาณของการเปลี่ยนเทรน ที่ส่งต่อจาก T/F ใหญไปที่ T/F เล็ก


กราฟ T/F M5,M15,H1


นับคลื่นจากกราฟ M1 เพื่อดูคลื่นและหาจังหวะที่เชื่อมโยงกับสัญญาณของ T/F ใหญ๋

จากรูปจะเห็นสัญญาณ

ที่เกิดขึ้นจากกราฟเล็กไปใหญ่

  • กราฟ 1 นาทีเกิดสัญญาณการกลับตัวขึ้น เพราะสร้างขา 1,2 ที่แนวรับ
  • กราฟ 5 นาทีเห็นสัญญาณจากแรงขายที่ลดลง และเป็นจุดเด้งขึ้นจาก MACD
  • กราฟ 15 นาทีเกิดสัญญาณการเด้งขึ้นของ indicator ทั้ง 2 แบบ

กราฟ T/F M1,M5,M15


นับคลื่นย่อยเพื่อหาสัญญาณการเปลี่ยนเทรน จากลงเป็นขึ้น

  • กราฟ 1 นาทีจะเกิดเด้งขึ้นจากการลงมาที่แนวรับ เมื่อลงมาทำคลื่น 5 
  • กราฟ 5 นาทีลงมาด้วยกราฟที่ยืดขาลงออกมา 3 ชุด
  • กราฟ 15 นาที เกิดสัญญาณการเด้งขึ้ยจาก 2 indicator


กราฟ T/F M1,M5,M15




วันเสาร์, ธันวาคม 26, 2563

นับคลื่นย่อยในกราฟ 1 นาทีเป็นองค์ประกอบของ T/F ใหญ่

 นับคลื่นจาก T/F เล็กเพื่อหาจังหวะเปลี่ยนเทรนใน T/F ใหญ่

ถ้าดูสัญญาณเปลี่ยนเทรนจาก T/F เล็กจะเจอสัญญาณเปลี่ยนเทรนจำนวนมาก มากว่า T/F ใหญ่เพราะ ใน T/F จะเกิดคลื่นย่อยจำนวนมากมาต่อกัน ทำให้เกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรนถี่กว่า T/F ใหญ่ เราสามารถดูแนวรับแนวต้านจาก T/F ใหญ่มาก่อนแล้วค่อยไปดู การสร้างคลื่นย่อยเพื่อต่อคลื่นเล็กไปเรื่อยๆ จนเกิดคลื่นยืดใน T/F ใหญ่

สัญญาณการเปลี่ยนเทรนจาก T/F 1 นาที ที่นับได้ ที่เป็นคลื่นย่อยของกราฟ T/F 15 นาที ซึ่งในคลื่นย่อยระดับ 1 นาที ก็จะเกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรนเพื่อยืดคลื่นย่อยขึ้นไปนับได้ 5 คลื่นย่อยในกราฟ 1 นาที และ คลื่นขาลงที่เป็นจุดเปลี่ยนเทรนร่วม 1 จุดที่เกิดในกราฟ 15 นาทีแต่ไปดูสัญญาณเปลี่ยนเทรนที่กราฟ 1 นาที

วิธีดูจุดเปลี่ยนเทรนจาก T/F เล็กไปใหญ่
สัญญาณขาลง จากคลื่นย่อย วิธีการดูสัญญาณของของขาลงเพื่อหาจุดเปลี่ยนเทรนที่มีประสิทธิภาพ
  • สังเกตุการเบรคแนวรับ ลงมาที่แนวรับถัด แล้วเด้งขึ้นติดแนวต้านที่เคยเป็นแนวรับมาก่อนแล้วไม่ผ่านเปลี่ยนขาลงต่อไป
  • สังเกตุจาก RSI จะเกิดสัญญาณของเทรนขาลงขึ้นในกราฟ 1 นาทีส่งต่อไปที่ กราฟ 5 นาที
  • ดูคลื่นจากกราฟ 15 นาทีว่าเป็นชุดที่ชนแนวต้านแล้วรึยัง และ เป็นคลื่นชุดสุดท้ายแล้วรึยังเพราะเมื่อกราฟ 1 นาทีเกิดสัญญาณของขาลงแล้วจุดเปลี่ยนเทรนเป็นจุดแนวร่วมเดียวกับ กราฟ 5,15 นาทีจะเป็นจุดของการเปลี่ยนเทรนที่ดี เพราะเมื่อเกิดสัญญาณเปลียนเทรนในกราฟ 1 นาทีและเกิดที่คลื่นชุดสุดท้ายที่ขึ้นมาในกราฟ 5 นาทีก็จะเกิดการยืดของขาลงในกราฟ 15 นาทีด้วย

เกิดสัญญาณขาลงในกราฟ 1 นาทีซึ่งเป็นแนวเปลี่ยนเทรนร่วมในกราฟ 5,15 นาที

เกิดสัญญาณขาลงในกราฟ 1 นาที

จุดสังเกตุสัญญาณขาขึ้นในกราฟ 1 นาที

สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 1 ของขาขึ้นจากแนวรับของกราฟ 15 นาที แต่เกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรนที่กราฟ 1 นาทีก่อน

สัญญาณเปลี่ยนเทรนจากกราฟ 1 นาที


สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 2 จากกราฟ 1 นาทีเพ่อยืดคลื่นย่อยขึ้นในกราฟ 15 นาที

สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 2 ของกราฟ 1 นาที


สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 3 เป็นขาขึ้นในกราฟ 1 นาที เพื่อยืดขาขึ้นต่อในกราฟ 15 นาที

สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 3 ของกราฟ 1 นาที


สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 4 ของขาขึ้นในกราฟ 1 นาที เกิดการยืดคลื่นครั้งที่ 4 ในกราฟ 15 นาที

สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 4 ของกราฟ 1 นาที


สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 5 ของขาขึ้นในกราฟ 1 นาที เกิดการยืดคลื่นครั้งที่ 5 ในกราฟ 15 นาที

สัญญาณเปลี่ยนเทรนครั้งที่ 5 ของกราฟ 1 นาที







cycle การฟื้นตัวของอุตสาหกรรม ท้ายปี 2563

 cycle ของการขึ้นหลังจากลงด้วยกลุ่ม ท่องเที่ยว

  • โรงแรม
  • สายการบิน
  • สนามบิน
cycle ของการขึ้นนำด้วยหุ้นใหญ่ ที่เป็นกลุ่ม value stock เพื่อดัน set index ขึ้น
  • กลุ่ม Bank
  • กลุ่ม ปิโตรเคมี
  • โรงกลั่น + น้ำมัน
  • โรงไฟฟ้า 

เมื่อ set ขึ้นมาชนแนวต้านในกราฟ day และย่อตัว หุ้นกลุ่ม growth ก็เริ่มขยับขึ้นจากการปรับฐานอยู่ในกรอบสะสมมาสักระยะ และ พร้อมด้วยกลุ่ม value ที่เป็นตัวนำของกลุ่มก็ขยับตามด้วย 

cycle ของการขึ้น รายอุตสาหกรรม




วันศุกร์, ธันวาคม 25, 2563

XAU/USD ดูจังหวะกลับตัวของคลื่น 4 ไป คลื่น 5

 ลักษณะของ sideway dow และ side up จุดสังเกตุ

sideway dow

  • ขึ้นมาติดแนวต้านของ T/F ใหญ่
  •  high เริ่มเตี้ยลงจากการลงมาที่แนวรับ
  • เกิดกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง
sideway up
  • ลงมาชนแนวรับของ T/F ใหญ่
  • low เริ่มยกขึ้นไปที่แนวต้าน
  • เกิดคลื่นลูกเล็ก 2-3 ก่อนถึงจุดเปลี่ยนเทรน
  • เกิดการบีบตัวระหว่างแนวต้าน และ แนวรับ ก็จะเกิดเบรคทะลไปด้านใดด้านหนึ่ง 


ลักษณะที่เกิดขึ้นกับ ทอง ใน T/F และ T/F เล็ก

ภาพของ T/F เล็ก

  • กราฟ 5 นาทีลงมาครบ 5 คลื่นที่แนวรับแล้ว
  • เกิดการเด้งที่ บีบตัวที่แนวรับนี้ แต่ high เตี้ยลงเป้นลักษระของการลงต่อ
  • เมื่อ sideway ชุดนี้เลือกลงต่อไปที่แนวรับถัดไป ในกราฟ H1 ก็จะเกิดการลงมาครบ abc 3 ขา ที่แนวรับของ H1
  • แล้ว เกิดการทำคลื่น 1,2 เป้นลักษณะของต้นเทรนขาขึ้นเป้นสัญญาณบอกว่ากราฟระยะสั้น จบขาลงแล้วต่อไปก็จะเด้งขึ้นด้วยการคลื่นฝั่งขาขึ้นต่อไป
 


ภาพใน T/F ใหญ่

  • นับคลื่นจากกราฟ H1 คลื่นฝั่งขาขึ้นยังขึ้นไม่ครบ เหลือ คลื่น 5 อีก 1ชุด
  • ดูกราฟ H4 จะเห็นสัญญาณจาก RSI ว่าการลงมาชุดนี้จาก กราฟ 5 นาทีเป็นคลื่น 4 ที่ยังไม่จบขาขึ้น
  • เมื่อกราฟลงมาที่แนวรับของ RSI ก็เด้งขึ้นทำคลื่น 5 ต่อได้
  • กราฟ T/F day ก็ยังไม่ลง แต่ก็บ่งบอกว่าแรงฝั่งขาขึ้นเริ่ม อ่อนแรงลงมากแล้ว





วันพุธ, ธันวาคม 23, 2563

ทรงหุ้นที่ขึ้นวันนี้ เป็นหุ้น growth คลื่น 4

 หุ้นขึ้นวันนี้ เป็นหุ้นที่เคยขึ้นมาก่อนหน้านี้ เป็นพวกหุ้น growth stock ที่กราฟ day ขึ้นมาทำคลืน 4 ค้างไว้

เมื่อหุ้นใหญ่ทำ set ถูกขายก็มี flow เข้ามาที่หุ้นกลุ่มนี้ โดยหุ้นกลุ่มนี้ทรงกราฟสร้างคลื่น 2 และกำลังเปลี่ยนเทรนขาขึ้นด้วยการทำคลื่น 3, 4 และ 5 

JMT ทำคลื่น 3 ในกราฟ 60 นาที


PTG ทำคลื่น 2 อยู่ยังไม่ยืดคลื่น 3 ขึ้นทะลุแนวต้าน



TU ลงมาที่แนวรับแล้วมีแรงซื้อกลับมาไล่ราคาขึ้นพร้อม หุ้น growth ทั้งหลาย 




TVO หุ้น trunarond  จากกราคาถั่วเหลืองที่สูงขึ้น ทำขา 2 และวันนี้ยืด ขา 3 ขึ้นไป



CBG เด้งขึ้นตั้งแต่เมื่อวานกำลังขึ้นทำคลื่น 5 ในกราฟ 60 และ 15 นาที



PRM  วันนี้เปิดโดดวิ่งไล่ราคาขึ้นเป็นหุ้น growth ที่เด้งขึ้นแรงมากวันนี้  





สัญญาณของจุดกลับตัวของ xau/usd

 สัญญาณการกลับตัวจะเริ่มจาก T/F เล็กไปใหญ่ก่อนเสมอ

 แต่เราต้องใช้แนวรับ แนวต้านมากจาก T/F ใหญ่และจุดกลับตัว เพราะการเคลื่อนที่ของกราฟนั้น T/F คือ องค์ประกอบของ T/F ใหญ่ ฉนั้นถ้าดูภาพร่วทั้งหมดต้องใช้ T/F ใหญ่ระดับ day เพื่อใช้ประเมินทิศทางราคา ของกราฟ แล้วถึงเข้าไปดูรายละเอียดจาก H1 และ H4 อีกที

การสังเกตุสัญญาณของจุดกลับตัวที่พรานล่าหุ้นใช้มีอยู่ 6 องค์ประกอบดังนี้

  1. เกิด double bottom ที่ low ฝั่งลงยกขึ้น
  2. สัญญาณจาก indy เกิดการตัดกันของเส้นเร็ว และเส้นช้า
  3. สัญญาณจาก indy ในส่วนของ macd ที่บอกว่าการ swing เริ่มลดลงและเริ่มจะวิ่งขึ้นแทน
  4. เห็นการทำ double bottom เป็นสัญญาณการ rebound
  5. คลื่นฝั่งลงใน T/F H1 ลงครบแล้วที่แนวรับสำคัญ
  6. ลงมาชนแนวรับร่วมระดับ day ลงไป


ภาพที่ 1 xau/usd 3 T/F องค์ประกอบของสัญญาณต่างๆ 6 สัญญาณ 

xau/usd 3 T/F 1,5,15 นาที


ภาพที่ 2 สัญญาณจาก T/F ใหญ่ที่จับได้

xau/usd 3 T/F H1,H4,Day 




วันอังคาร, ธันวาคม 22, 2563

สัญญาณจาก จุดเปลี่ยนเทรนขาขึ้น

สัญญาณของจุดเปลี่ยนเทรนขาขึ้น มีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณา ดังนี้

  1. ลงมาชนแนวรับที่ตำแหน่ง RSI oversold แล้วเด้งขึ้นยืนบนแนวรับได้
  2. ชนแนวรับร่วมระหว่าง T/F M5,M15 และ H1
  3. ยืนบนแนวรับของ dow ขาลงในกราฟ 5 นาทีได้
  4. ขึ้นเบรคแนวต้านของ dow ขาลงได้
  5. ชนแนวต้านมีแรงขายออกมาแต่ยืนบนแนวรับได้ และเริ่ม sub แรงขายเพื่อกลับตัว
  6. เห็น double bottom ที่แนวรับเพื่อทำท่ากลับตัว
  7. หลังจากเห็น double bottom แล้วเห็นการทำคลื่น 1 ย่อ 2 และเริ่มทำ dow ขาขึ้นได้
  8.  กราฟ 15 นาทีเกิดการทำคลื่น 3 ย่อ 4 เพื่อขึ้น 5
  9. กราฟ H1 RSI ยืนบนเส้น sma ได้กลายเป็นคลื่น 3 และ sideway sub แรงขายที่แนวรับ ยืดคลื่น 5 ขึ้นไป


รูป S50Z20 

จังหวะกลับตัวที่แนวรับร่วม H1, M15 และ M5


กราฟ 3 T/F 5,15,H1

ตัวอย่างภาพที่ 2 กราฟ TFEX S50Z20 จังหวะของจุดเปลี่ยนเทรนจากลงเป็นขึ้น

ใช้กราฟ 3 T/F M5,M15,H1 เพื่อจังหวะกลับตัวที่แนวรับ

กราฟ 3 T/F 5,15,H1


หาคลื่นหาคลื่น 4 ก่อนจะจบขาลงด้วยคลื่น 5

คลื่น 4 จะเป็นคลื่นก่อนการลงขาสุดท้ายของขาลง ถ้าหาคลื่น 4 เจอก็มีโอกาสที่จะได้คลื่น 2 ของขาขึ้นเพราะรอการลงของคลื่น 5 แล้วรอการการสร้างของขาขึ้น คือ การทำคลื่น 1 และคลื่น 2 นั้นเอง

ส่วนใหญ่คลื่น 2 และ คลื่น 4 จะเกิดในตำแหน่งเดียวกัน คือ เกิดหลังจากเกิดคลื่น 3 ไปแล้วซึ่งบ้างครั้งทำให้เทรดเดอร์เข้าใจผิดคิดว่าลงจบแล้ว แต่จริงๆเป็นการเด้งในกรอบของคลื่น 4 เท่านั้น

ฉะนั้นคลื่น 4 จึงเป็นอีกคลื่นหนึ่ง ที่มีควาสำคัญมากของการหาจังหวะกลับตัว
ลักษณะของคลื่น 4 
  • เกิดหลังการลงของคลื่นยืดจากขา 3 ลงมาที่แนวรับแล้วเด้งขึ้นชนแนวต้านเกิดกรอบ swing ขึ้นและลงในกรอบติดแนวต้านทะลุไม่ได้
  • เกิดคลื่นที่เรียกว่า flat คือ ขึ้นและลงเท่ากันไม่ขึ้น หรือ ลงออก
  • วิ่งขึ้นในกรอบ sideway ไปเรื่อยๆไม่สามารถ ยก high ยก low ขึ้นได้
ลักษณะของ indicator RSI
  • RSI จะวิ่งขึ้นจาก โซนของ oversold ขึ้นมาที่เส้น 50 แล้วไม่ผ่าน
  • เมื่อไม่ผ่านเส้น 50 ก็จะลงต่อไปที่แนว oversold อีกครั้ง
ลักษณะของ MACD
  • จะเกิด histrogram สีเขียวขึ้นตามจำนวนการเด้งขึ้นคลื่นย่อย
  • เส้น macd และ signal line จะยังเคลื่อนที่ใต้เส้น 0
  • เส้น macd จะเคลื่อนที่มาชน หรือเกือบชนเส้น 0 แล้วกลับเป็นขาลงใหม่อีกครั้งจะยังไม่ผ่านเส้น 0 ขึ้นไป  




กราฟทองคำ T/F 5 นาที

 

กราฟทองคำ T/F 5 นาที

Tfex T/F 5นาที


นับคลื่นใน TFEX เพื่อหาคลื่น 4 จุดสังเกตุจาก indicator จา่กกราฟ day
  • RSI ลงชนโซน oversold แล้วเด้งขึ้น ชนเส้น 50 ไม่ผ่านกลับลงมาอีกครั้ง
  • MACD เด้งขึ้นเกิด histrogram สีเขียวแล้วก็ลงเกิด histrogram สีแดงก่อนจะเกิดสัญญาณ bullish divergence แล้วเปลี่ยนเป็นขาขึ้นในกราฟ day

Tfex T/F Day


วันอาทิตย์, ธันวาคม 20, 2563

ลักษณะ จุดกลับตัวที่แนวรับ ver.3

ลักษณะของจุดกลับตัวที่แนวรับ

 จุดกลับตัวที่พบจะเป็น pattern ใน T/F เล็กเป็นลักษณะ sideway สู้กันระหว่างแรงซื้อและแรงขายเพื่อที่จะเลือกทางไม่ขึ้นก็ลง และเกิดการสวิงที่แคบลงเรื่อยๆ จนถึงจุดเปลี่ยนเทรน จะมีลักษณะดังนี้

1. ลักษณะ sub แรงขายแบบออกข้าง แล้วบีบตัวเลือกทาง
    - ดูแนวรับจากกราฟ day H4 และ H1 เพื่อหาแนวรับร่วมกัน จะเป้นเด้งที่ดี
    - เมื่อได้แนวรับจาก T/F ใหญ่แล้วก็เข้าไปดูการ สร้าง pattern ใน T/F เล็ก 5 และ 15 นาที
    - ดูจังหวะของ T/F 5 นาที ที่เชื่อมไป T/F ใหญ่ 15 นาทีว่ามีจุดแนวร่วมเดียวกันไหม 
    - ดูแนวร่วมของ T/F H1 ต่อถ้า T/F 5 และ 15 นาทีมีจุดของกราฟเชื่อมกัน
    - ดูแนวต้านจากกราฟ H4 ถ้า T/F เล็กเคลื่อนที่ทะลุแนวต้านของ T/F H1 ได้แล้วกราฟก็จะวิ่งขึ้นไปชน           แนวต้านของ T/F H4 ต่อไปเพื่อเปลี่ยนเทรนเป็นเทรนขาขึ้น

ภาพตัวอย่างที่ 1 จากกราฟ TFEX การเคลื่อนที่ของกราฟเล็กไปสู่กราฟใหญ่ เมื่อถึงแนวรับสำคัญ

จังหวะกราฟเคลื่อนที่ ที่จุดกลับตัวจาก 3 T/F 5,15,H1
 


จังหวะกราฟเคลื่อนที่ ที่จุดกลับตัวจาก 3 T/F 5,15,H1


ภาพตัวอย่างที่ 2 ชนแนวต้านแล้วมีแรงขายออกมา เกิดการ sub แรงขายแล้วยก low ขึ้นไปที่แนวต้านสร้างคลื่น 2 แล้วยืดคลื่น 3 ทะลุแนวต้านขึ้นไป 


จังหวะกราฟเคลื่อนที่ ที่จุดกลับตัวจาก 3 T/F 5,15,H1




2. กลับตัวแบบตัว V คือ เบรคแนวต้านแล้วยืนได้แล้วก็ sideway ขึ้นไปเพื่อที่จะเบรคแนวต้านถัดไป


เบรคแนวต้านแล้วยืนได้ แล้ววิ่งขึ้นต่อไป


3.แบบลง 5 คลื่นในกราฟ H1 และคลื่น 5 หลุด low ชนแนวรับของ H1 แล้วดึงกลับสร้างคลื่น 2 เป็นตัว V แล้วยืดคลื่น 3 ออกเปลี่ยนเป็นขาขึ้น





4. ลงครบ 5 คลื่น แล้วติดแนวรับของ H1 แล้วกลับตัวที่แนวรับเด้งขึ้นในกรอบบีบตัว 1 cycle แล้วยก low ไปที่แนวต้านสร้างคลื่น 2 แล้วยืดคลื่น 3 ทะลุแนวต้านขึ้นไป


sub แรงขาย 1 cycle แล้วเปลี่ยนเทรนทำคลื่น 1,2



5. ลงแบบทำ dow ขาลง high เตี้ยลง low เตี้ยลงไปที่แนวรับของ H1 แล้วบีบตัวเด้งขึ้นทะลุแนวต้านเปลี่ยนเป็นขาขึ้น


ทำ dow ขาลงเมื่อลงมาครบคลื่นแล้วติดแนวต้านH1 ก็เด้งขึ้นเพื่เปลี่ยนเทรน


6. ลงครบคลื่นแล้ว กระโดดเปิด gap เด้งขึ้นทำ 1,2 บนแนวรับแล้วยืดคลื่น 3 ขึ้นไป


ลงชนแนวรับของ H1 แล้วเด้งเปลี่ยนเทรนในการลงมาครั้งแรก








ลักษณะของ sideway ลง และ sideway ขึ้น

ช่วง sideway จะเป็นช่วงที่อันตรายสำหรับเทรดเดอร์ถ้าจะคิดจะเทรด เพราะว่ามันช่วงที่ราคาจะวิ่งขึ้นลงในกรอบแคบๆ และ บีบตัวเพื่อที่จะเลือกทาง

วิธีสังเกตุในกราฟ day

  1. คลื่นวิ่งขึ้นครบคลื่น 5 คลื่นแต่ไม่ผ่านแนวต้าน
  2. ชนแนวต้านแล้วมีแรงขายออกมายืนไม่อยู่ เกิดการทำคลื่น 1 ย่อ 2 บนแนวรับ กลายเป็นขาลง
  3. indicator RSI หลุดเส้น 50 ลงมา
  4. MACD ก็หลุดเส้น 0 ลงมา
sideway ขาขึ้น

  1. ลงมาชนแนวรับแล้วเกิดการเด้งบนแนวรับไม่หลุด
  2. เห็นการทำ double botttom
  3. เกิดการวิ่งทะลุแนวต้านแล้วยืนบนแนวต้านได้ ยก low ขึ้น วิ่งในกรอบบีบตัว
  4. วิ่งอยู่บนแนวรับที่ยกตัวขึ้น แล้วพยายามิวิ่งขึ้นทะลุแนวต้านถัดไป
  5. RSI ยืนบนเส้น sma 9 ได้
  6. MACD histrograme เกิดแท่งเขียวเส้น macd ยืนบนเส้น signal line ได้

ตัวอย่างหุ้น BEC เกิด sideway ขนาดใหญ่ในกราฟ day


ตัวอย่างกราฟ BEC ทำ sideway ขาขึ้นและลงในกราฟเดียวกัน

 

ตัวอย่างหุ้น TKN เกิด sideway ขนาดใหญ่ในกราฟ week

ตัวอย่างกราฟ TKN ทำ sideway ขาขึ้นและลงในกราฟเดียวกัน




วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 17, 2563

อยู่กับความเครียด ให้ได้ ver 1.0

 ความเครียดจะเป็นเพื่อนกับเทรดเดอร์ เกือบตลอดเวลาของการเทรด

การจัดการกับความเครียด ต้องรู้สาเหตุก่อนว่าความเครียดเกิดจากอะไร

  • เกิดจากความคาดหวังของเทรดเดอร์
  • เกิดจากความผิดพลาดในการเทรด
  • เกิดจากความไม่รู้ว่ากราฟจะเคลื่อนที่ไปทางไหน
  • เกิดจากความกลัว ในสิ่งต่างๆที่ไม่รู้
  • เกิดจากความกดดันในสถานการณ์ที่บีบคันที่เทรดเดอร์พยายามจะก้าวผ่าน level ใหม่ขึ้นไป
  • เกิดความกดดันในใช้ชีวิต เพราะต้องใช้เงินในการขับเคลื่อนกิจกรรม ในการดำรงชีวิต
การรับมือกับความเครียดในมุมของ พรานล่าหุ้น

ต้องรู้เหตุก่อนว่าเราเหตุของการเกิดความเครียดคืออะไร แล้วถึงจะไปหาทางแก้ปัญหาทีเหตุ ในทางพุทธศาสนา สอนเรื่องการปล่อยวาง อย่ายึดติด และรู้จักการจัดการกับ กิเลส ทุกเรื่องที่เกิดขึ้น ในมุมของ พรานล่าหุ้น ก็จะพยายามหาความรู้และนำความรู้ที่เหล่านั้นมาเชื่อมต่อกัน เพื่อหาวิธีที่จะอยู่กับความเครียดและเทรดต่อไปได้

หลักการของพรานล่าหุ้น

ความเครียดที่เกิดจากความไม่รู้

เข้าไปหาความรู้จาก สิ่งที่เราไม่รู้เพราะที่เราเครียดส่วนหนึ่งมาจากการที่ความรู้ของเราไม่ถึงหลักการเทรด การเทรดส่วนใหญ่จึงเป็นการเทรดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการขาดทุน และเกิดความเครียดในที่สุด 

วิธีแก้ไข
  • จัดการกับตัวเอง ทำตารางการเรียนรู้ขึ้นมา เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดของตัวเองแล้วหาทางแก้ไขให้ผิดพลาดน้อยลง โดยหาข้อมูลจาก internet ส่วนหนึ่งจาก กราฟ จาก การวิเคราะห์ของตัวเอง นำข้อมูลมาเชื่อมกันเพื่อตกผลึกความรู้ชุดใหม่ออกมาเรื่อยๆ ให้ความรู้ใหม่ๆเหล่านี้เป็นไปตามตลาดให้มากที่สุด
สร้างสมดุลย์ให้กับตัวเอง

จัดการกับตัวเอง
  • แบ่งเวลาออกให้ชัดเจนเพื่อที่จะจัดการเรื่องต่างๆตามที่ตั้งเป้าไว้
  • ทบทวนการเทรดทุกวันเพื่อที่จะตกผลึกชุดความรู้ใหม่ๆทุกวัน
  • หาข้อมูลเชื่อมการขึ้นและลงของกราฟ ว่ามีอะไรเชื่อมกับอะไรบ้าง
  • พยายามจับหลักการขึ้นลงของกราฟ ว่ามีอะไรที่ทำให้กราฟขึ้นและลง และ อะไรที่เป็นอ้างอิงอขงการขึ้นลงที่จับต้องได้
  • ออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอ เพื่อที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นฐานของจิตที่ดี
จัดการกับความคิด
  • นั่งสมาธิเพื่อเรียนรู้ที่จะแยก กิเลสออกจากจิตไม่ยึดติดกับอะไรมากไป
  • คิดทบทวนเรื่องการเทรดที่ผิดพลาด ว่าทำไมถึงผิดแล้วพยายามหาทางแก้ปัญหานั้น
  • พยายาม ตกผลึกหลักการเทรดที่ทำกำไรได้และเป็นการเทรดแบบยั่งยืน ไม่ใช่แค่เป็นการนเทรดแบบชั่วครั้งชั่วคร่าว
  • ดูคนเก่งๆ ว่าเขามีวิธีจัดการหลักคิดในการเทรดอย่างไง
 


อารมณ์ในแต่ละ level ของเทรดเดอร์ มุมพรานล่าหุ้น

 level ที่ 1

- เป็นช่วงของมือใหม่ที่เพิ่งเขาตลาดมาด้วยภาพที่สวยงาม หวังว่าจะเข้ามาหาเงินจากตลาด

- หาความรู้จากทุกที่ ด้วยความหวังที่ว่าความรู้ที่ได้มาจะช่วยหาเงินได้

- เมื่อนำความรู้นั้นมาเทรด แต่ยังเชื่อมโยงข้อมูลไม่ได้ ทำให้อารมณ์เริ่มแปรปรวน

- ทำกำไรได้บ้างไม่ได้บ้าง จิตยังมืดมนกับการเทรดเพราะยังวนเวียนอยู่กับการขาดทุน

- เริ่มมีมุมมองของการเทรดที่แย่ลง เพราะเทรดแบบได้บ้างเสียบ้าง จับหลักการเทรดที่ยังยืนยังไม่ได้

- ความเครียดเริ่มครอบงำ ไม่รู้จักอารมณ์ของการเทรดที่ทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ 

- เริ่มออกห่างจากตลาดอีกครั้ง ด้วยอารมณ์ที่สับสนว่าจะชนะอย่างไง แสวงหาช่วงทางใหม่ๆต่อไป


รอยต่อของ level 1 มี 3 ทางเลือก

  1. ถ้าใครที่ยังอยู่ได้ ก็จะคงวนเวียนในตลาดต่อไปด้วยความ สับสน และความหวังที่จะทำเงินในตลาดต่อไป แต่จิตใจที่แน่วแน่ที่จะเทรดแบบเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องยังไม่มีแล้ว และยังจับหลักของตลาดยังไม่ได้ แต่ก็จะยังเทรดต่อไปด้วยจิตใจที่คิดว่าจะเจอทางสว่างสักวัน หรือเทรดไปเรื่อยๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ แต่ความกระหายที่ทำเงินจากตลาดไปหายไป เปลี่ยนเป็นเทรดไปเรื่อยๆแทน

      2.  คนที่สับสนในการเทรด และเริ่มมองว่าตลาดยาก ไปทำอย่างอื่นดีกว่า ก็ต้องออกจากตลาดไป

      3.  อยู่ในตลาดอยา่งมุ่งมั่นเหมือนเดิม ด้วยจิตที่แน่วแน่ ยังไม่ลดละที่จะหาทางจับหลักการเทรดให้ได้จะใช้เวลานานแค่ไหน หรือ                 ไปเรียนที่ไหน  หรือ หาคนแนะนำทำหมด ด้วยความครัทธา และ ความ   เชื่อที่จะอยู่กับตลาดให้ได้

level ที่ 2

- จิตใจที่ยังไม่ยอมแพ้ จนนำพามาให้เจอ อาจารย์ดี เพื่อนดี หรือ เริ่มเห็นหลักการของตลาด

- เริ่มมีความหวังที่จะทำเงินได้อย่างต่อเนื่อง เริ่มพัฒนาระบบของตัวเองขึ้นมา

- เทรดอย่างมุ่งมั่น ขยัน และอดทน ที่จะเรียนรู้นิสัยของตลาดอย่างไม่ลดละ

- เริ่มเจอแนวทางของตัวเอง พบหลักการเทรดที่จะอยู่รอดจากตลาดได้บ้างมุม

-  เริ่มลงลึกในระบบเทรดของตัว และเริ่มทำกำไรได้ มากกว่าเสีย

- เริ่มเข้าใจหลักการเทรดที่ยั่งยืน ว่าจะเทรดอย่างไร

- เริ่มแยกอารมณ์ออกจากการเทรด โดยใช้ระบบเทรดเขามาแทน

- เริ่มเห็นกิเลสในตัวเอง ว่าต้องแยกออกจาการเทรด และเทรดไปตามนิสัยของตลาดแทน ต้องสรา้งความสมดุลย์ ระหว่างระบบเทรดและการทำกำไร ต้องไม่มากและไม่น้อยไป รักษาสมดุยล์การเทรดไปเรื่อยๆ จนเกิดทักษะ และความชำนาญมากขึ้นตามลำดับ

Level ที่ 3

- เริ่มเลือกการเทรดที่ทำเงิน และการเทรดที่ไม่ทำงเงินออกจากันได้

- อยู่กับการเทรดที่ทำเงินได้อย่างต่อเนื่องและเริ่มยาวนานขึ้น

- สภาพจิดใจ มองเรื่องการเทรดเป็นเรื่องปกติของการสร้างรายได้ เป็นอาชีพหนึ่งเท่านั้น

- เริ่มใส่น้ำหนักของเทรด ไปตามสภาวะตลาดได้อย่างแม่นยำรู้ว่าช่วงไหนตลาดดี ช่วงไหนตลาดแย่

- จิดใจเมื่อไม่เทรดก็ผ่อนคลายเป็นคนปกติ แต่เมื่อถึงเวลาเทรด ก็ปรับเปลี่ยนให้เป็นนิสัยของเทรดเดอร์ที่มุ่งมั่น อดทน และรอคอยจังหวะการทำเงินได้อย่างแม่นยำ



วันอังคาร, ธันวาคม 08, 2563

หาคลื่น 2 ในกราฟให้เจอแล้วจะได้คลื่นยืดเป็นคลื่น 3

คลื่น 2 เป็นคลื่นต้นเทรนเมื่อ เข้าใจหลักการเคลื่อนที่ของคลื่น ก็จะสามารถหาคลื่น 2 ได้เพื่อที่จะได้คลื่นยืดออกเป็น 3 เป็นจุดเทรดที่ดีในมุมของ Elliott wave 

ในคลื่นใหญ่ระดับ H1 ขึ้นไปจะประกอบไปด้วยคลื่นย่อยใน T/F เล็ก ตั้งแต่ T/F 15 นาทีลงมาจำนวนมาก ฉนั้นถ้าหากเทรดเดอร์เข้าการเคลื่อนที่ของคลื่นเล็กในคลื่นใหญ่ ก็จะสามารถหาจุดเข้าที่ปลอดภัย และ ความเสี่ยงต่ำได้ เป็นจุดเข้าที่ดี และได้เปรียบ 

ลักษณะของคลื่น 2 ที่เกิดใน T/F เล็ก

  • T/F ใหญ่ยังเคลื่อนที่ขึ้นยังไม่ครบคลื่น
  • เกิดการพักฐานจาการชนแนวต้าน แล้วมีแรงขายออกมา แต่ไม่หลุดแนวรับ
  • ช่วง sideway sub แรงขายจะเห็นคลื่นใน T/F เล็กหลายคลื่นวิ่งขึ้น วิ่งลงในแนวรับและแนวต้านของ T/F ใหญ่
  • จะเริ่มเห็นการทำ dow ของขาขึ้นใน T/F ก่อนแรงขายเริ่มลดลง
  • เห็นการวิ่งขึ้นชนแนวต้านและย่อ sub แรงขายเกิดการสร้างฐานของขาขึ้น บนแนวรับที่ยกตัวขึ้นใน T/F เล็ก
  • เมื่อไปดูรายละเอียดใน T/F ใหญ่จะเห็นการสร้างคลื่น 1 ย่อ 2 

หุ้น IVL 

  • เกิดคลื่น 2 2 ครั้งใน T/F 15 นาที
  • T/F H1 จะเห็นการสร้างคลื่น 2 เพื่อยืดคลื่น 3 ออกที่แนวรับ
  • T/F H4 จะเห็นคลื่น 2 และยืดคลื่น 2 ขึ้นมาชนแนวต้าน sideway คลื่นและยืดคลื่น 5 ออก
  • T/F day จะเห็นคลื่น 2 และคลื่นยืดของคลื่น 3 แต่ยังไม่ขึ้นไม่จบในกราฟ day 


กราฟ 4 T/F 15, H1, H4 และ day

หุ้น TKN 

  • T/F 15 นาทีจะเห้นการทำคลื่น 2 และยืดคลื่น 3 ออกที่ตำแหน่งแนวรับ
  • T/F H1 จะเห็นการกลับตัวที่แนวรับ แล้วเกิดการสร้างฐานของคลื่น 2 และยืดคลื่น 3 ขึ้นไป
  • T/F H4 จะเห็นกรอบ sideway ขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่าว่ากรอบสะสม และเริ่มวิ่งขึ้นชนแนวต้านด้านบน
  • T/F day เพิ่งเห็นการทำคลื่น 2 และยืดขึ้นในกรอบแนวรับและแนวต้าน ยังไม่สร้างคลื่น 3 

กราฟ 4 T/F 15, H1, H4 และ day

หุ้น IRPC 
  • T/F 15 นาทีเห็นการสร้างคลื่น 2 และยืดคลื่น 3 ขึ้นไปชนแนวต้าน
  • T/F H1 จะเห็นกรอบ sideway ขนาดใหญ่ และเห็นการสร้างฐานเป้นคลื่น 2 และกำบลังยืดคลื่น 3 ขึ้นไป
  • T/F H4 จะเห็นชุด sub แรงขายเป็นคลื่น 4 และกำลังยืดคลื่นขึ้นไป
  • T/F day จะเห็นชุดของคลื่น 1 ย่อ 2 และยืดคลื่น 3 ติดแนวต้านมีแรงขายออกมา เห็นขชุด sub แรงขายทีแนวรับ และกำลังยืดคลื่น 5 ขึ้นไป   

กราฟ 4 T/F 15, H1, H4 และ day


TFEX 03-12-20

 เชื่อม T/F หาจุดเปิด order จากแนวรับของ T/F ใหญ่แล้วไป หาจุดเข้าจาก T/F เล็ก

เนื่องจาก T/F เล็กเป็นองค์ประกอบของ T/F ใหญ่ ฉะนั้นเมื่อหาแนวรับจาก T/F ใหญ่ได้แล้วก็เข้าไปดูสัญญาณการเปลี่ยนเทรนจาก T/F เล็ก คือ

  • รอให้ T/F เล็กเกิดสัญญาณของการทำคลื่น 2 ก่อน
  • เพราะมันจะบ่งบอกว่า จบขาลงใน T/F ใหญ่แล้ว
  • เกิดสัญญาณต้นเทรนของการเด้งขึ้น หรือ เปลี่ยนเป็นขาขึ้นใน T/F ใหญ่
  • เอา indicator เข้ามารวมวิเคราะห์ทิศทางด้วย เหมือนมีเพื่อนช่วยวิเคราะห์อีกคนหนึ่ง ไม่งั้นจุดเปลี่ยนเทรนอาจเพี้ยนได้จาก อีโก้ของเทรดเดอร์เอง
รูปกราฟ 3 T/F จาก T/F 1 นาที 5 นาที และ 15 นาที

  • จะเห็นแนวรับของ H1 และเป็นแนวรับเดียวกับ T/F เล็ก 2 T/F 1นาที และ5นาที
  • จังหวะเปลี่ยนเทรนถ้าเป็นจังหวะเดียวกับ T/F ใหญ่จะเป็นจุด เปิด order ที่ดีและได้เปรียบในเรื่องของการถือ
  • ใช้ 2 indicator เข้ามาช่วยวิคราะห์ทิศทาง คือ RSI และ MACD
  • หาภาพรวมจาก T/F ใหญ่แล้ว จุดเปิด order เข้าไปดูรายลบะเอียดที่ T/F เล็กกว่า
  • ใช้การนับคลื่น Elliott wave เข้ามาช่วย

ภาพจุดเปลี่ยนเทรนเป็นจุดเดียวกันของ 3 T/F 

  • สัญญาณการเปลี่ยนเทรน จะเกิดจาก T/F ก่อนเสมอ
การเกิดสัญญาณการเปลี่ยนเทรนทีจะเปลี่ยนเทรนจาก T/F เล็กไปสู่ T/F ใหญ่ได้ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

  • กราฟต้องลงมาที่แนวรับสำคัญของ T/F ใหญ่
  • คลื่นใน T/F ใหญ่ลงครบแล้ว
  • เกิดสัญญาณ  Bullish divergence ใน T/F เล็กส่งต่อไปยัง T/F ใหญ่
  • ทิศทางของ T/F เล็กและ T/F ใหญ่ต้องสอดคล้องกันเสมอ

ภาพ 3 T/F M1, M5และ M15


ภาพ คลื่นย่อยที่ตำแหน่งแนวรับของ T/F H1


นับคลื่นใน T/F H1 เชื่อมไปยัง T/F Day




วันจันทร์, ธันวาคม 07, 2563

mindset จากคนปกติ สู้เทรดเดอร์อาชีพ

นิสัยของคนปกติ 

มีนิสัยเป็นตัวเอง เป็นนิสัยที่มีความอยากเป็นตัวขับเคลื่อน โดยที่ยังแยกไม่ได้ว่า ความยากนั้นมีทั้งดีและไม่ดี ต้องใช้สติปัญญาในการแยก สิ่งดีออกจากสิ่งไม่ดี และเลือกทำแต่สิ่งที่ดี เพื่อที่จะได้ไม่หลงไปกับความยากแล้วทำให้ชีวิต จมอยู่กับด้านมืนไปทั้งชีวิต

นิสัยของเทรดเดอร์อาชีพ

จะสังเกตุลักษณะนิสัยของตลาดก่อนว่าตลาดมีนิสัยแบบไหน และ มีพฤติกรรมอย่างไร เพื่อที่จะได้รู้ นิสัยของตลาดว่า นิสัยของตลาดเป็นแบบไหน เมื่อเรียนรู้แล้วก็นำข้อมูลที่ได้มาแยกแยะ เพื่อที่จะหานิสัยของตลาดที่แท้จริง หรือที่เรียกว่า แก่นของตลาดว่าการที่ตลาดขึ้น หรือ ลง ด้วยเหตุผลอะไร และมีอะไรเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เมื่อแยกแยะข้อมูลได้แล้ว ก็เอาข้อมูลนั้นมาสร้างระบบเทรดไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด ไม่ใช่เทรดไปตามอารมณ์ของเทรดเดอร์เอง เพราะถ้าเทรดไปตามอารมณ์ของเทรดเดอร์เอง ก็จะทำให้พอร์ตพัง เพราะข้อมูลของหุ้นที่จะขึ้นหรือลง ตัวเราไม่ใช่คนทำราคา ฉะนั้นถ้าอิงที่ความคิดของตัวเทรดเดอร์เอง หุ้นที่หามาก็จะไม่ตรงกับหุ้นที่ตลาดเลือกทำราคา ทำให้การหาหุ้นมาเทรด จังหวะของการเทรด ไม่ตรงกับตลาดสักที จึงทำให้เหล่าเทรดเดอร์ที่ไม่ศึกษา นิสัย ของตลาดเสียก่อน ไม่รู้จักจังหวะของตลาด ไม่รู้จักพฤติกรรมของตลาด และแยกแยะข้อมูลไม่ได้ว่าข้อมูลไหน เป็นข้อมูลจริงที่ทำให้หุ้น หรือ ลงได้  

สรุปออกเป็นข้อๆ ดังนี้

แนวคิดของคนปกติ

  1. ยังเอานิสัยตัวเอง มาครอบตลาดหวังว่าตลาดจะเคลื่อนที่ไปตามที่ตัวเองคิด
  2. ไม่รู้จักศึกษา นิสัย และ พฤติกรรมของตลาดก่อน ว่าตลาดมีนิสัยเป็นอย่างไงบ้าง
  3. เทรดไปตาม กิเลส ของตัวเอง ( ความอยากทั้งหลาย ที่ครอบงำอยู่ ) เช่น 
          - อยากได้จุดต่ำสุด 

          - อยากเทรดตลอดเวลา 

          - อยากได้กำไรเร็วๆ เลยไปเทรดหุ้นปั่น

          - คิดแต่มุมของการทำกำไร โดยไม่คิดเผื่อในมุมของความผิดพลาด 

          - ไม่รู้จักจังหวะของกราฟดีพอ เลยทำให้เทรดคร่อมจังหวะบ่อยๆ

          - อารมณ์ของการเสียเงิน แล้วอยากจะเอาคืน 

    4. เชื่อนักวิเคราะห์ หรือ กูรู เพียงเพราะอยากได้กำไร โดยที่ไม่ยอมศึกาหาความรู้ก่อน



แนวคิดของเทรดเดอร์อาชีพ
  1. เทรดเดอร์ต้องปรับแนวคิดในการเทรด ไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่เทรดไปตามอารมณ์ของตัวเอง
  2. ต้องศึกษา นิสัยของตลาด ว่าตลาดขึ้น และ ลง ด้วยเหตุผลอะไร
  3. เมื่อตลาดขึ้นตลาดเลือกหุ้นกลุ่มไหน เอาหุ้นตัวไหนมาทำราคา ในช่วงจังหวะแบบไหนบ้าง
  4. เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะตลาดไม่เคยหยุดนิ่ง เพียงแต่จะวิ่งไปตาม วัฎจักร ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
  5. รู้จักจดบันทึก เพื่อการทบทวนและ เอาข้อมูลในอดีตมาวิเคาาะห์หาเหตุและผล ของ การขึ้นลง ของตลาด
  6.  ศึกษาลงลึกไปเรื่อยๆ จนตกผลึกแนวการเทรด ให้ตรงกับนิสัยของตลาด แล้วอยู่กับหลักการเทรดที่เปลี่ยนไปตามตลาดให้มากพอ จนเกิดประสบการณ์ และความชำนาญ และเกิดแนวคิดการเทรดในแบบฉบับของตัวเอง ที่สามารถทำกำไรในตลาดได้เรื่อยๆ


 

วันเสาร์, พฤศจิกายน 28, 2563

ความแตกต่างของ sw คลื่น 2 และ คลื่น 4

 ข้อสังเกตุของ sideway คลื่น 2 ขาขึ้น และ คลื่น 4 ขาลง

 sideway คลื่น 2

  • เทรนก่อนหน้าเริ่มเปลี่ยนเป็นขาขึ้นมาก่อนแล้ว
  • ติดแนวต้านเดียวกัน
  • ชนแนวต้านก่อนหน้า แล้วย่อ sub แรงขายลงมาที่แนวรับ ที่ยกตัวขึ้ยเกิดการทำ dow ขาขึ้นไปที่แนวต้าน
  • indicator เกิดการทำคลื่น 2 เพื่อยืดคลื่น 3 

BEC กลับตัวเป็นขาขึ้น กราฟ day


ข้อสังเกตุของ sideway คลื่น 4 
  • เทรนก่อนหน้าเป็นขาลงมาก่อน
  • high ต่ำลงเรื่อยๆ เป็นลักษณะของการทำ dow ขาลง
  • ติดแนวรับสำคัญ เกิด sideway ขนาดใหญ่ที่แนวรับนี้
  • เกิดการทำ dow ขาลงมาที่แนวรับใหม่แล้ว มี demand ซื้อเข้ามา
  • แรงซื้อจากแนว demand เด้งขึ้นแต่ก็ยังติดแนวต้านของ dow ขาลงอยู่
  • เกิดการ sideway ในกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง แต่ก็ยังอยู่ใต้แนวต้านของขาลงอยู่
  • indicator บอกสถานะว่า ยังไม่สามรถยืนบนแนวต้านของจุดกลับตัวได้   

AWC วิ่ง sideway ในกรอบบีบตัว แล้วลงต่อในกราฟ day 



วันพุธ, พฤศจิกายน 11, 2563

เลือกใช้ T/F ให้เหมาะสมกับ ช่วงของกราฟ

 ในบ้างครั้งเราต้องรู้ว่า ข้อดี ข้อเสีย ของ การใช้ กราฟ time frame เดียวมันมีอะไรบ้าง เพราะปกติกราฟจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้นหรือได้ T/F เล็กก็จะเริ่มเปลี่ยนเทรนก่อน แต่ถ้าไม่สอดคล้องกับ T/F ใหญ่ก็ต้องไปดูที่แนวต้านของ T/F ใหญ่ว่า T/F เล็กจะทะลุได้ไหม ถ้าทะลุไม่ได้ เทรนก็จะเปลี่ยนตามเทรนของ T/F ตามเทรนปกติฉะนั้น ถ้าใช้ T/F เข้ามาช่วยในการเชื่อม T/F ต้องรู้ว่าช่วงไหนจะใช้ T/F ไหน เชื่อม กับ T/F ไหนบ้าง ไม่งั้นเวลาในการดูการเปลี่ยนเทรน อาจจะถูกหลอกจากกราฟได้ หรือ เห็นจุดเปลี่ยนเทรนไม่ชัดเจนทำให้การเข้า order ผิดพลาดไป

ภาพตัวอย่างกราฟ TFEX 

  • ใช้ 3 T/F ในการเชื่อมแต่มองเห็นจุดเปลี่ยนเทรนไม่ชัด
  • ใช้ 5,15,H1 จังหวะเด้งขึ้นจากแนวรับ มองไม่เห็นจังหวะการทำ คลื่น 1,2 
  • ทำให้จังหวะเข้าอาจมองผิดพลาดไป
  • เมื่อเข้าไปดูใน T/F 1 นาที ก็จะเห็นการทำ 1,2 ชัดเจน เป็นจุดเปลี่ยนเทรนที่ดี
  • แต่เมื่อนำเชื่อม T/F กับ กราฟ 5 และ 15 นาทีพบว่าไม่สอดคล้องกัน
พอสรุปได้ว่า
  • เมื่อกราฟใหญ่ลงมาที่แนวรับจะมีการเด้งขึ้นจากแรงของ demand 
  • ในT/F เล็กจะเห็นการทำคลื่นชุดขาขึ้นก่อน T/F ใหญ่
  • แต่ต้องดูว่าการเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นนั้น สอดคล้องกับ T/F ใหญ่ไหม 
  • เพราะถ้าไม่สอดคล้องกับ T/F ใหญ่แสดงว่า อาจะเป็นแค่การเด้งขึ้นของชุด T/F เล็กเท่านั้น
  • เมื่อขึ้นมาชนแนวต้านของ T/F ใหญ่แล้วไม่ผ่าน ก็จะเคลื่อนที่ไปตาม คลื่นของ T/F ใหญ่
  • ฉะนั้น เมื่อ T/F เล็กและ T/F ใหญ่ถ้าขัดแย้งกัน 
  • ควรจะเชื่อ T/F ใหญ่ก่อนเพราะ T/F ใหญ่ก็เป้นส่วนประกอบในคลื่นของ T/F ใหญ่กว่าอีกที่หนึ่ง
  • ถ้าเรามองการเปลี่ยนเทรนของ T/F เล็กแล้วมันจะขึ้นเลย ยังสรุปไม่ได้ถ้า T/F เล็กไม่สอดคล้องกับ T/F ที่ใหญ่กว่า

กราฟ 5,15,H1

สรุปว่าคลื่นใน T/F เล็กอาจจะเป็นชุดเด้งขึ้นเท่านั้น ยังไม่เป็นเทรน ถ้าไม่สอดคล้องกับ T/F ใหญ่  

ใช้กราฟ 1 นาทีเข้ามาช่วยในการดูจุดเปลี่ยนเทรน

  • จะเห็นการทำคลื่น 1 และ 2 ชัดเจนในกราฟ 1 นาที
  • ทำให้หาจุดเปลี่ยนเทรนได้ง่ายและ เห็นจังหวะของการเข้า order ที่ดี
  • แต่เมื่อเด้งขึ้นแล้ว กราฟ 15 นาทียังไม่เปลี่ยนเทรนขาขึ้นด้วย ก็ต้องไปดูที่แนวต้านของกราฟ 15 นาทีว่าจะแรงขายออกมา มากหรือ น้อย ถ้ามากก็แสดงว่าชุดของกราฟในชุดเล็ก เป็นแค่การเด้งเท่านั้นในชุดของคลื่นใหญ่เท่านั้น อาจจะเป็นเด้ง B เพื่อลง C ต่อก็ได้
  • แต่ใน T/F เล็กจะเกิดสัยญารเปลี่ยนเทรน เร้วกว่า T/F ใหญ่และแยกไม่ได้ว่าเป็น ชุด เปลี่ยนเทรนขึ้น หรือ ชุดเด้ง ต้องดู กราฟ T/F ใหญ่ประกอบด้วย การเชื่อม T/F จึงสำคัญมาก ถ้าเข้า


กราฟ T/F 1,5,15 นาที 


นับคลื่นในกราฟ 1 นาที ว่าคลื่นย่อยเคลื่อนที่อยู่ที่คลื่นไหน จะได้ไม่พลาดในการเข้า order 

  • จากรูปนับคลื่นจาก T/F 1 นาทีเป็นคลื่น 3 และเด้ง 4 แล้วที่แนวรับ 873 เกิด การทำ double bottom 
  • ในกราฟ 5 นาทียังยก low ยก high ขึ้นอยู่ก็ยังบ่งบ่งบอกว่า ยังเป็นขาขึ้นอยู่และ เมื่อจบการลงซึ่งลงมาทำ 1,2,3 ที่แนวรับแล้วกลับตัว ทำ 1,2 เพื่อยืดคลื่น 3 ของฝั่งขาขึ้น
  • ก็จะเกิดการเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นชั่วคร่าว ทำให้มีจังหวะทำกำไรได้ระยะสั้นๆ ตาม เทรนใหญ่ที่ยังเป็นขาขึ้นอยู่ คลื่นยังขึ้นไม่ครบ


กราฟ T/F 1,5,15 นาที 


ภาพเมื่อกราฟเคลื่อนตัวไปตามคลื่น จะเห็นว่าการเด้งขึ้นของ กราฟ 1 และ 5 นาทีที่ไม่สอดคล้องกับ กราฟ 15 นาที และ H1 เป้นชุดเด้งขึ้นของขา B ในกราฟ H1 เท่านั้น สัญญาณการเปลี่ยนเทรนจึงเกิดเฉพาะใน T/F เล็กเท่านั้น T/F ใหญ่เป็นเด้งขึ้นเพื่อลง ถ้าเอา T/F มาเชื่อมกันได้ ก็จะเห้นรายละเอียดของคลื่น เล็กในคลื่นใหญ่ ได้อย่างสมบูรณ์ และ ไม่หลงกับทิศททางของการเกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรนใน T/F เล็ก

 
กราฟ 15,5 H1 นาที

วันอังคาร, พฤศจิกายน 10, 2563

ว่าด้วยเรื่องของแรงขาย

 แรงขาย คือ แรงที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแนวต้านนั้นๆ จะมาก หรือ น้อย ขึ้นอยู่ ปัจจัยหลายอย่าง

  1. T/F ยิ่ง T/F ใหญ่ยิ่งมีแรงขายมากกว่า T/F เล็ก
  2.  สภาพตลาด ณ.เวลานั้นๆ ข่าวต่างๆ  จะส่งผลต่อแรงซื้อและแรงขาย แต่อาจจะเป็น ชั่วคร่าว และกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เมื่อเวลาผ่านไป
  3. เทรนของกราฟ คือ ทิศทางการเคลื่อนที่ของกราฟที่เคลื่อนที่ด้วยความแรงไปด้านด้านหนึ่งอย่างชัดเจน เมื่อกราฟเคลื่อนที่เป็นเทรนผ่านแนวต้านต่างๆ ก็จะมีแรงขายออกมา คือ เมื่อกราฟเคลื่อนที่ชนแนวต้าน ก็จะมีแรงขายออกมา แต่ถ้า กราฟเคลื่อนที่ด้วยความแรง มีแรงซื้อมาก และพุ่งขึ้นด้วยแท่งเทียนสีเขียวจำนวนมาก ก็อาจจะทะลุแนวต้านไปได้หลายแนว จนกว่าแรงซื้อ จะเริ่มอ่อนแรง และวิ่งด้วยอัตราเร่งที่ลดลง เมื่อชนแนวต้าน แล้วมีแรงขายออกมา การวิ่งลงของแรงขายผ่านแนวรับ ก็จะเป็นบอกได้ว่า แรงขายนั้นๆ มีมาก หรือ น้อย
  4. เคลื่อนไปตามทิศทางปกติของกราฟ
          ถ้าในสภาวะเหตุการณ์ปกติ กราฟก็จะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางปกติ ผ่านแนวต้านต่างๆ และวิ่งตาม                คลื่น ไปเรื่อยๆ หรือ ทิศทางเดิมต่อไปจนกว่า แรงซื้อจะหมด หรือ แรงขายมากว่าจนสามารถ ทำให้              กราฟกลับทิศทางได้

กราฟทอง 5 นาที

  • จะเห็นว่าเมื่อกราฟเปลี่ยนเทรนขาลง จะเกิดแท่งเทียนยาวสีแดงลงมาแนวรับ
  • ช่วงแรกจะมีแรงขายจำนวนมากออกมา และช่วงท้ายๆ เมื่อเจอแนวรับ แรงขายเริ่มลดลง
  • เมื่อจุดกลับตัว การยืดออกของกราฟฝั่งลงเริ่มน้อยลงเมื่อชนแนวรับ
  • เริ่มเห็นการยก low ขึ้นเพื่อทำ dow ขาขึ้นไปที่ตำแหน่งของแนวต้านใน T/F ใหญ่ 

                                      

กราฟ 15 นาที

  • การเปลี่ยนเทรน แรงซื้อและแรงขายต้องต่างกัน แต่จะเห็นสัญญาณของกราฟก่อนแล้ว 
  • เมื่อเอา dow ขาขึ้นมาจับ ก้จะเห็นว่าในตำแหน้งก่อนเปลี่ยนเทรนเป็นขาลง กราฟไม่สามารถทำ high ใหม่ได้
  • แรงขายเริ่มเข้ามากดดันแรงซื้อ ที่แนวต้านจะมีแรงออกมาตลอด กราฟทะลุผ่านไปไม่ได้
  • เมื่อ แรงขายเริ่มมีมากกว่าแรงซื้อ สังเกตุจาการทำ dow ขาขึ้นครั้งแรก แล้ว ก็เกิด double bottom ด้านบน แล้วเกิดการทำ dow ขาลงแทนขาขึ้น
  • หลังจากนั้น แรงขายก็เข้ามาควบคุมกราฟ แทนฝั่งซื้อ




   เราสามารถดูแรงขายตามแนวต้านต่างๆ ว่ามีมากหรือน้อย และพฤติกรรมของแท่งเทียน