หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 15, 2564

ลักษณะของกราฟ หุ้น ที่เริ่มเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้น

 เงื่อนไขของหุ้นที่ จะขึ้นชุดแรกหลังจาก set กลับตัว หรือเด้งตาม set 

  • การลงของ set index ลงครบคลื่น และ ถึงแนวรับที่สามารถกลับตัวได้
  • กราฟ set index ต้องเริ่มกลับตัวที่แนวรับ
  • หุ้นที่จะขึ้นต้องลงมาก่อนและลงครบคลื่นของขาลงและติดแนวรับ เช่นเดียวกับ set 
  • หุ้น growth จะเป็นกลุ่มแรกที่กลับตัวตาม set ได้ดี
  • เกิดชุดเด้งขึ้นเป็น double bottom หรือ เด้งขึ้นลงในกรอบ sideway sub แรงขาย 2 ชุด
  • เกิดการยืดของ cycle จาก T/F เล็กขึ้นมาที่ T/F ใหญ่ที่สอดคล้องกัน หรือ เกิดการทำฐานของ dow ขาขึ้นได้สำเร็จ
  • เกิดการกลับตัวพร้อมกับ set ที่แนวรับโดยการสรา้งฐานของdow ขาขึ้น

กราฟ  set index เด้งขึ้นที่แนวรับชอง day เข้าไปดูการเคลื่อนที่ของคลื่นย่อยในแต่ละ T/F 


กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day



ตัวอย่างหุ้น SINGER ที่กลับตัวขึ้นพร้อมกับ set และยืดฝั่งขึ้นได้ไกล

กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day



ตัวอย่างที่ 2 หุ้น KTC ยืดฝั่งขึ้นตาม set ด้วยการทำฐานของ dow ขาขึ้นที่แนวรับแล้วยืดคลื่น 3 ขึ้นไป


กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day


ตัวอย่างที่ 3 หุ้น JMART เกิดชุดเด้ง sub แรงขายแล้วไม่หลุดแนวรับ สุดท้ายกลับตัวแล้วสร้างฐานของ dow ขาขึ้นตาม set 


กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day



ตัวอย่างที่ 4 หุ้น MTC  
  • เกิดชุด sub แรงขายที่แนวรับเพื่อพยายามจะเด้งขึ้นเพื่อเปลี่ยนเทรน
  • หลังจากจบการเด้งขึ้น ก็เริ่มสร้างฐานของ dow ขาขึ้นเพื่อเปลี่ยนเทรน
  • เมื่อสร้างเสร็จ เป็นจังหวะเดียวที่ set กลับตัว MTC ก็กลับตัวตาม set ยืดฝั่งขึ้นไปที่แนวต้าน

กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day

วันพุธ, กรกฎาคม 14, 2564

ลักษณะของเทรนขาลง 3 T/F

ลักษณะของเทรนขาลงโดย  ใช้ 3 T/F M1,M5,M15 โดยมีเงื่อนไขในการเปลี่ยนเทรนดังนี้

  • ใช้ T/F M15 เป็นหลักในการมองหาการเปลี่ยนเทรน
  • ใช้ T/F M5 เป็นตัวเชื่อมระหว่าง T/F M15 กับ T/F M1
  • 2 T/F อย่างน้อยต้องสอดคล้องกัน ไม่งั้นการเปลี่ยนเทรนจะไปไม่ได้ไกล
  • ต้องเกิดการสร้างฐานของ dow ขาลงที่ไล่จาก T/F เล็กไป สู่ T/F ใหญ่
  • การเปลี่ยนเทรนจะต้องเกิดที่แนวต้านของ T/F ใหญ่เสมอ ไม่ใช่ T/F เล็ก
  • แต่สัญญาณเปลี่ยนเทรน จะต้องเกิดที่ T/F เล็กไล่ไปที่ T/F ใหญ๋เสมอเช่นกัน
  • การการเคลื่อนที่ของ cycle ใน T/F ใหญ๋ระดับ M15 ต้องเคลื่อนที่ครบคลื่นที่แนวต้านด้วย


ตัวอย่างสัญญาณการเปลี่ยนเทรนที่แนวต้านของ T/F M15

  • เข้าไปดู cycle ย่อยระดับ M1 และ M5 เพื่อดูจังหวะของการเปลี่ยนเทรนที่ละเอียดขึ้น
  • ต้องมีความเชื่อว่า การเคลื่อนที่ของคลื่นย่อย คือ ส่วนประกอบของ T/F ที่ใหญ่กว่าเสมอ

กราฟ 3T/F M1,M5,M15


ตัวอย่างที่ 2 สัญญาณการเปลี่ยนเทรนที่แนวต้านของ T/F M15

กราฟ 3T/F M1,M5,M15


ตัวอย่างที่ 3 สัญญาณการเปลี่ยนเทรนที่แนวต้านของ T/F M15

กราฟ 3T/F M1,M5,M15



ตัวอย่างที่ 4 สัญญาณการเปลี่ยนเทรนที่แนวต้านของ T/F M15


กราฟ 3T/F M1,M5,M15




คลื่น 2 T/F H1

 คลื่น 2 ในกราฟ H1 นั้น คือ จุดเริ่มต้นของเทรนขาขึ้นในกราฟ Day

องค์ประกอบในกราฟ H1

  • การเด้งขึ้น จากแนวรับของ T/F day และ week 
  • การเกิดทำ double bottom ที่แนวรับ
  • เกิดการสร้างฐานของ dow ขาขึ้นใน T/F เล็กระดับ M1,M5,M15
  • เกิดการวิ่งขึ้นเพื่อที่จะเปลี่ยนเทรนไปที่แนวต้านของ T/F M15
  • ชนแนวต้านของ กราฟ M15 แล้วมีแรงขายกราฟเปลี่ยนเป็นขาลง
  • การลงของคลื่นในกราฟ M5 ลงมาด้วยคลื่น 3 ยาวและเด้งขึ้นทีแนวต้านชนแนวต้านของ dow ขาลงมีแรงขายออกมาและลงต่อไปที่รับ เกิดคลื่น 3 ที่สั้นลง
  • เมื่อลงมาที่แนวรับด้วยการลงด้วย 2 cycle ก็เด้งขึ้นทำคลื่น 2 เพื่อยืดคลื่น 3 ขึ้นไปในกรอบบีบตัว
ตัวอย่างกราฟ TFEX 3 T/F M1,M5,M15

T/F M1

  • เด้งขึ้นจากแนวรับขึ้นมาครบ 5 คลื่นแล้วทำ double bottom แล้วยืนบนแนวรับได้
T/F M5

  • ชนแนวต้านแล้วเปลี่ยนเป็นขาลง ลงมาด้วยการทำคลื่นยืด 2 cycle 
  • แล้วเด้งขึ้นไม่เปลี่ยนเป็นขาลง กลายเป็นยืนบนแนวรับได้
  • เปลี่ยนเป็น sideway ในกรอบบีบตัว เพื่อเลือกทางเป็นลักษณะของคลื่น 2
T/F M15

  • ลงมาที่แนวรับแล้วมีแรงซื้อกลับเกิดคลื่นย่อย
  • เมื่อเด้งขึ้นครบ 5 คลื่นชนแนวต้าน เกิดแรงขายเป้นขาลง
  • การลงลงมาที่แนวรับแล้วเปลี่ยนเป็น คลื่น 1 ย่อ 2 ของ T/F H1 


T/F H1,H4,Day

  • นับคลื่นใน T/F H1 ลงครบ 5 คลื่น
  • เกิดการเด้งขึ้นของ T/F H1 เพื่อสร้างเทรนขาขึ้นที่แนวรับ
  • T/F Day เกิดลักษณะของการเด้งขึ้นชนแนวต้าน



ตัวอย่างกราฟ TFEX 3 T/F  M1,M5,M15



T/F H1,H4,Day ภาพประกอบในคลื่นใหญ่




วันอังคาร, กรกฎาคม 13, 2564

ลักษณะของการทำ dow thoery หลังจากเกิด double bottom

 ลักษณะของการทำ dow ขาลง

  • ชนแนวต้าน แล้วไม่สามารถทะลุผ่านได้
  • เกิดการทำ double bottom ที่แนวรับ
  • หลังจาก เกิด double bottom กราฟจะกลับตัว แต่เกิดการสร้างฐานของ dow ขาลงที่แนวต้าน
  • indicator อยู่โซนขาลงไม่ได้อยู่โซนขาขึ้น
  • T/F .ใหญ่ยังทำ pattern ของขาลงที่ยังไม่จบ


ตัวอย่างกราฟ TFEX ลักษณะของ dow ขาลงที่แนวต้านในกราฟ 3 T/F  


กราฟ 3 T/F M1,M5M15

ตัวอย่างที่ 2 กราฟ TFEX ลักษณะของ dow ขาลงที่แนวต้านในกราฟ 3 T/F  


กราฟ 3 T/F M1,M5M15

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 11, 2564

คลื่นย่อยในคลื่นใหญ่ ดูการเชื่อม T/F อย่างไง

 อันดับแรก ต้องรู้ก่อนว่าคลื่นย่อยใน T/F เล็กอันไหนเป็น คลื่นย่อยของ T/F ใหญ่อะไรบ้าง

ในมุมของพรานล่าหุ้น เท่าที่เก็บข้อมูลของคลื่นย่อยพอจะสรุปข้อมูลได้ดังนี้

T/F H1 มีคลืนย่อยเป็น

  • T/F M15.M5,M1 
T/F Day คลื่นย่อยเป็น

  • T/F H1,H4 
กราฟ Week  มีคลื่นย่อยเป็น

  • T/F Day

กราฟ Month มีคลื่นย่อยเป็น

  • Day, Week
ฉะนั้นเมื่อรู้แล้วว่าคลื่นหลัก คือ T/F ไหน และเมื่อกราฟกำลังเคลื่อนทีใน T/F หลัก ก็เข้าไปดูคลื่นย่อยของ T/F นั้นเพื่อที่จะดูการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของกราฟในคลื่ย่อยว่าจะเคลื่อนที่ขึ้นหรือลง ประกอบกับแนวรับและแนวต้านของ T/F หลักไม่งั้นจุดซื้อและการเชื่อมของกราฟ จะไม่สามารถมองเห็นจากเห็นคลื่นหลัก ต้องเข้าไปดูในคลื่นย่อย เพื่อดูรายละเอียดการยืดคลื่นจาก T/F เล็กไปสู่ T/F ใหญ่


ตัวอย่างกราฟ TFEX คลื่นย่อยในคลื่นใหญ่ระดับ T/F M1,M5,M15

กราฟ TFEX T/F M1,M5,M15


TFEX คลื่นย่อยในคลื่นใหญ่

  • T/F H1,H4,Day

กราฟ TFEX T/F H1,H4,Day


ตัวอย่าง คลื่นของ T/F Mont,week ,day

กราฟ TFEX T/F Day,week,month



3 องค์ประกอบ ของจุดกลับตัวที่ควรดู

3 องค์ประกอบของจุดกลับตัว ประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้

  1. แนวรับแนวต้าน สำคัญของ T/F ใหญ่ไปสู่ T/F เล็ก
  2. dow thoery
  3. ความเชื่อมโยงของ multi time frame 

  1. แนวรับแนวต้าน สำคัญของ T/F ใหญ่ไปสู่ T/F เล็ก
การเคลื่อนที่ของกราฟ จะเคลื่อนที่เป็นกรอบราคา ตามแนวรับและแนวต้านของกราฟ ถ้า T/F ใหญ่ก็จะมีผลกับกราฟมากขึ้น ตามแรงซื้อละแรงขายของ T/F ที่ใหญ่กว่า ถ้ากราฟเป็นขาขึ้นกราฟก็จะวิ่งขึ้นไปที่แนวต้านด้านบนส่วนจะผ่านหรือ ไม่ผ่าน ก็อยู่ที่แรงซื้อและแรงขายที่แนวต้านนั้นๆ บวกกับ pattern ที่เกิดขึ้นหลังผ่านแรงขายที่ชนแนวต้านนั้นรวมกันเป็นองค์ประกอบ ว่ากราฟจะขึ้นต่อ หรือ เปลี่ยนเป็นขาลง

ตัวอย่างกราฟ TFEX หาแนวรับ แนวต้านใน แต่ละ T/F
  • ดูการทำฐานของ dow thoery ว่าใน T/F เล็กสามารถสร้างสำเร็จไหม
  • ถ้าสร้างฐานได้สำเร็จ กราฟก็จะเริ่มวิ่งขึ้นที่ฐาน
  • ขึ้นไปที่แนวต้านถัดไป   



หาแนวรับและแนวต้านใน T/F H1,H4 และ Day
  • เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ในแต่ละ T/F 
  • ดูพฤติกรรมของกราฟเมื่อ กราฟชนแนวรับ หรือ แนวต้านแล้วจะเกิด pattern อะไรเพื่อนำมาวิเคราะห์ทิศทางการเคลื่อนที่ต่อไป

T/F H1,H4,day


2.สร้างฐานของ dow thoery เพื่อเปลี่ยนเทรน
  • เมื่อกราฟลงมาที่แนวรับ ก็จะพยายามสร้างโดยการหลุดลง ด้วยการเกิด double bottom
  • หลังจากเกิด double bottom แล้ว ก็จะสร้างฐานเพื่อเปลี่ยนเทรน
  • หลังจากสร้างฐานสำเร็จ ก็จะค่อยเปลี่ยนเทรนด้วยการทำ dow ที่ฐานขึ้นไปเรื่อยๆ




3.ความเชื่อมโยงของ Multi time frame
    ความเชื่อ
  • T/F เล็กเป็นองค์ประกอบของ T/F ใหญ่
  • การเปลี่ยนแปลงของ T/F ใหญ่ต้องเข้าไปดูที่ T/F เล็ก
  • ตามแนวรับแนวต้าน จะเกิด pattern ใน T/F เล็กก่อนแล้วส่งผลไปสู่ T/F ใหญ่เสมอ
  • T/F ใหญ่จะคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ T/F เล็กเสมอ
ความเชื่อมของ T/F 
  • T/F M15 เป็นองค์ประกอบของ T/F H1
  • T/F H1 เป็นองค์ประกอบของ T/F day
เมื่อได้ความสัมพันธ์ของ T/F ใหญ่กับ T/F เล็กแล้วก็เอามาเชื่อมกันด้วยชุดความเชื่อที่ว่า T/F เล็กเป็นองค์ประกอบของ T/F ใหญ่  

ต้วอย่างภาพความเชื่อมโยงของ T/F H1,H4,Day

T/F H1,H4,day

ตัวอย่างความสัมพันธ์ของ T/F เล็กที่ตำแหน่งแนวรับของ Day และ week
  • เมื่อกราฟลงมาด้วย cycle ของขาลงให้ไปดูว่าลงมาด้วย T/F ไหนเป็น T/F หลัก
  • เมื่อทราบแล้วว่ากราฟกำลังสร้าง cycle ใน T/F ไหน
  • ก็เข้าไปดูใน T/F ที่เล็กกว่าเพื่อดูลักษณะการสร้างคลื่นย่อย ว่าเป็น pattrn กลับตัว หรือ ลงต่อ
  • เอามาเชื่อมกับ T/F ใหญ่เพื่อหาจุดเปลี่ยนเทรนต่อไป 

T/F M1,M5,M15



วันจันทร์, กรกฎาคม 05, 2564

Technical จงหาเหตุให้เจอ เพื่อพิสูจน์ผลที่ดี

 นักเทรดในมุมของ Technical ส่วนใหญ่จะเทรดตาม cycle ของกราฟ หาแนวรับแนวต้าน หาจุดเข้าจุดออกตามสัญญาณของ indicator ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่หาเหตุที่ดี เพื่อรอพิสูทน์ผลลัพธ์ ว่าจะเป็นไปตามเหตุที่เหล่าเทรดเดอร์เอามาหาเชื่อมโยงกับกราฟได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเครื่องมือต่างๆที่เอามาเชื่อมโยงมีประสิทธภาพมากพอ ผลลัพธ์ ก็จะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ซะส่วนใหญ่ และก็อาจจะมีส่วนน้อยที่ไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ ซึ่งเหล่าเทรดเดอร์ที่เชื่อมโยงเหตุได้ดี ก็จะเผื่อผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ ไว้อยู่แล้ว เพราะกราฟจะเคลื่อนตัวเป็น cycle เสมอแล้วเอา cycle มาต่อกันเกิดทิศทางได้ 3 ทิศทาง 

  1. เกิดเป็นเทรนขึ้น
  2. เกิดเทรนขาลง
  3. เกิด cycle ในกรอบ sideway 
ในสายของ Technical ก็แบ่งออกเป็นหลายสายมากมายแล้วแต่เหตุที่แต่ละคนจะเอามาอ้างอิงกับกราฟ ที่เห็นก็จะมีสายที่เทรดตาม

  • สัญญาณของ indicator
  • สายของ wave ( Elliott wave )
  • สายของการเชื่อม cycle จากใหญ่ไปเล็กแล้วเทรดตาม cycle เล็ก
เมื่อเหล่าเทรดเดอร์ศึกษาหาความรู้พื้นฐานจากที่ต่างๆ จนมีความรู้ระดับที่สามารถเอาเหตุต่างๆมาเชื่อมกันได้แล้วเอาเหตุมาจับกับกราฟ เพื่อรอพิสูทธ์ผลที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นไปตามเหตุที่เอามาเชื่อมโยงหรือไม่ ซึ่งเหตุต่างๆเหล่านี้เป็นเหตุทางสถิติที่ได้พิสูทธ์ผลมาแล้วในอดีต และมีการปรับจูนจนผลที่เกิดขึ้นค่อยข้างจะแม่นยำเพราะมีเงือนไขมากมายที่เอามาอ้างอิงกับกราฟว่ากราฟจะขึ้น หรือ ลง มีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ต้องเชื่อมโยงกัน ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้ถูกเก็บรวบรวมเป็นสถิติในมุมของ Technical มานานมากแล้ว และ ถูกพิสูทธ์ผลที่ออกมาค่อยข้างแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ 

เหตุที่ดีควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

  • เชื่อมโยงสถิติที่ดีที่เคยถูกพิสูทธ์มาแล้วว่าน่าเชื่อถือและเอามาอ้างอิงกับกราฟได้
  • ควรจะคลอบคลุมทุก T/F เพื่อหาความเชื่อมโยงของกราฟได้
  • ลงลึกถึงระดับ T/F เล็กได้เพราะสัญญาณการเกิดเทรนจะเกิดจาก T/F เล็กขึ้นไปที่ T/F ใหญ่
สรูป

นัก technical ที่ดีควรจะศึกษาหาความรู้ในเหตุที่มีสถิติรองรับและได้รับการพิสูจน์มาแล้วในอดีต เพื่อลดระยะในการศึกษา และต่อยอดในความรู้ชุดเดิมเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความแม่นยำสูงและ เกิดผลที่อยู่ในการคากการณ์ได้ จะทำให้ความเสี่ยงลดลง ความเสียหายจากการขาดทุนน้อยลง และทำให้เหล่าเทรดเดอร์เข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น เพราะเทรดไปตามเหตุและผล ที่เคยถูกพิสูจน์มาแล้วในอดีต



 

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 04, 2564

ทำลายเทรนขาลง 3 ขั้นตอน ver.2

 ทำลายขาลงแล้วเปลี่ยนเทรนด้วย 3 ขั้นตอน

  1. เทรนขาลง ลงมาชนแนวรับสำคัญ
  2. หยุดลงและออกข้าง บีบตัวในกรอบเปลี่ยนเทรน
  3. กราฟวิ่งขึ้นทะลุแนวต้านของ dow ขาลงได้สำเร็จ
ตัวอย่างที่ 1 กราฟ TFEX 3 T/F 

T/F 1 นาที

  • ลงมาที่แนวรับสำคัญของกราฟ 15 นาที
  • เด้งขึ้นทะลุแนวต้านของ dow ขาลงได้สำเร็จ
  • ยืนบนแนวต้านที่ทะลุขึ้นมาได้และ เปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้น วิ่งขึ้นไปที่แนวต้านด้านบน
T/F 5 นาที

  • ลงมาด้วยการทำคลื่น 3 แล้วเด้งขึ้นด้วย คลื่น 4 จบคลื่น 5 โดยไม่ทำ low ใหม่
  • หลังจากนั้น วิ่งขึ้นทำ cycle ขาขึ้นไปที่แนวต้าน 1 cycle แต่ไม่ผ่านแนวต้าน
  • กลับเป็นขาลงมาที่แนวรับอีกครั้ง แต่ low ยกขึ้นแล้ววิ่งขึ้นทะลุแนวต้านอีกครั้ง
  • เป็นลักษณะของการทำคลื่น 2 ที่แนวรับในกราฟ 5 นาที
T/F  15 นาที

  • ลงมาด้วยการทำ 2 cycle คือยืดคลื่น 3 ลงมาที่แนวรับ
  • แล้วเด้งขึ้นทำอีก 1 cycle แต่ยก low ขึ้น
  • แล้วก็เริ่มเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้น  วิ่งขึ้นทะลุแนวต้านของ dow ขาลงในกราฟ 15 นาที
  • เกิดการทำ cycle ใหม่ที่ยืดฝั่งขึ้นไปที่แนวต้านอขงกราฟ 15 นาที

กราฟ 3 T/F 1,5,15 นาที


ตัวอย่างที่ 2 กราฟ TFEX 3 T/F 
  • เกิดลักษระของการทำลายขาลงด้วย 3  ขั้นตอนเหมือนกันใน 3 T/F

กราฟ 3 T/F 1,5,15 นาที


ตัวอย่างกราฟ xau/usd 3 T/F 1,5,15 นาที

T/F  1 นาที
  • เด้งขึ้นไปที่แนวต้านด้วยการทำ 2 cycle เป็นลักษณะของการทำ double bottom
  • แล้ววิ่งทะลุแนวต้าน กลายเป้็นขาขึ้นที่แนวรับของกราฟ 15 นาที
T/F 5 นาที
  • ลงมาที่แนวรับของกราฟ  15 นาทีแล้วเด้งขึ้นด้วยการทำ cycle 1 cycle
  • หลังจากนั้น ก้เด้งขึ้นลงในกรอบแนวรับแนวต้านของกราฟ 15 นาที
  • หลังจากทำ double bottom ที่แนวรับของกราฟ 15 นาทีจะก็เปลี่ยนเทรนเป็นขึ้นแทนการลง
  • เมื่อกราฟเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นและทะลุแนวต้านได้ เทรนเป็นจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้นต่อไป
T/F 15 นาที
  • กราฟลงมาที่แนวรับของกราฟ H1
  • หลังจากนั้นก็เด้งขึ้นทำ cycle 1 cycle ที่ยก low ขึ้นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่น 2 
  • หลังจากทำ cycle ของคลื่น 2 ได้สำเร็จก็ยืดฝั่งขึ้นทะลุแนวต้านขึ้นเพื่อเปลี่ยนเทรนเป็นคลื่น 3 ต่อไป  

กราฟ 3 T/F 1,5,15 นาที



ทำลายกราฟขาลง เพื่อเปลี่ยนเป็นขาขึ้น

 การทำลายขาลงเพื่อเปลี่ยนเป็นขาขึ้นในกราฟ จะเกิดขึ้นเสมอเมื่อกราฟลงมาที่แนวรับสำคัญๆ แต่จังหวะของการเปลี่ยนเทรนที่สำเร็จนั้น  ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างเข้ามาเพื่อเปลี่ยเทรนที่ตำแหน่งของแนวรับ สำคัญ ไม่อย่างงั้นการเปลี่ยนเทรนจะเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นเพียงการเด้งขึ้นที่แนวรับ แล้วลงต่อเท่านั้น

เงื่อนไขของการทำลายกราฟขาลงที่มีโอกาส สำเร็จ

  • เกิดที่ตำแหน่งแนวรับที่ลงครบ cycle แล้วใน T/F ใหญ่ระดับ H1
  • เริ่มเห็นแรงขายหมดแรงลงที่ตำแหน่งนี้
  • แรงซื้อเริ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง กราฟเริ่มสร้างฐานของเทรนขาขึ้นได้ สำเร็จ
  • เกิดการส่งต่อการเปลี่ยนเทรนจาก  T/F เล็กไปสู่ T/F ใหญ่ไม่เกิดการขัดแย้งกัน
  • เทรนหลักระดับกราฟ day ขึ้นไปยังเป็นขาขึ้นอยู่ ยังไม่เปลี่ยนเป็นเทรนขาลง
 ตัวอย่างการเปลี่ยนเทรน ที่เห็นการทำลายแนวต้านของกราฟขาลงได้สำเร็จ

กราฟ 1 นาที

  • เป็นจังหวะที่ กราฟ 15 นาทีลงมาที่ตำแหน่งของการ mark low เรียบร้อยแล้ว
  • ที่แนวรับของกราฟ 15 นาที เริ่มเห็นแรงซื้อกลับมาที่ตำแหน่งแนวรับนี้
  • ในกราฟ 1 นาทีเริ่มเห็นการยืดขาลงไ้ดสั้นลงเรื่อยๆ มีแรงซื้อเข้ามาสู่ตลอดที่แนวรับนี้
  • ที่ตำแหน่งของรับในกราฟ 15 นาที กราฟ 1 นาทีเริ่มเห็นกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง
  • เริ่มเห็นการขึ้นลงของกราฟ แคบลงและเล็กลงเรื่อยๆ 
  •  จนสุดท้ายในกราฟ 1 นาทีเกิดการทำ double bottom แล้วยก low ขึ้นเพื่อเปลี่ยนเทรนได้สำเร็จ
กราฟ 5 นาที

  • นับ cycle ขาลงที่ตำแหน่งของแนวรับเป็น 3 เด้ง 4 แล้วลง 5 ไม่หลุดแนวรับ
  • เมื่อจบ cycle 5 คลื่นในกราฟ 5 นาทีแล้วกราฟไม่หลุดแนวรับลงไป กราฟก็จะเริ่มเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นทีแนวรับนี้
  • จะเห็นกรอบบีบตัว คือ กราฟไหลลงไปเรื่อยๆ จนชนแนวรับแล้ว swing ขึ้นลงในกรอบ
  • เมื่อแรงซื้อเข้ามาดันราคากราฟ ขึ้นทะลุแนวต้านได้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนเทรนขึ้น
กราฟ 15 นาที

  • นับคลื่นใหญ่ จะลงครบที่ตำแหน่งแนวรับที่ทำการ mark low เสร็จแล้ว
  • เมื่อลงครบคลื่นแล้ว ก็จะเกิดการเด้งขึ้นจาก deamnd ที่ตำแหน่งแนวรับนี้
  • ถ้ากราฟสามารถ ทำลายแนวต้านได้ และวิ่งขึ้นมายืนทำคลื่น 2 ได้กราฟก็จะเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นต่อไปได้


กราฟ xau/usd 3 T/F 1,5,15 นาที


ตัวอย่างกราฟ TFEX 3 T/F จังหวะลงมาที่แนวรับแล้วเกิดการทำลายเทรนขาลงเพื่อเปลี่ยนเทรน

กราฟ 1 นาที
  • ช่วงที 1 กราฟลงมาที่แนวรับของ T/F 15 นาทีแล้วหยุดลง
  • ช่วงที่ 2 กราฟเด้งขึ้นจากแนว demand ของ T/F 15 นาที
  • ช่วงที่ 3 กราฟยืนบรแนวรับได้ แล้วเกิดกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง
  • ช่วงที่ 4 กราฟเลือกทางขึ้นทะลุแนวต้านเปลี่ยนเทรนเป็นขึ้น
กราฟ 5 นาที
  • เกิดการ mark low เพื่อหยุดลงแล้วเด้งขึ้น
  • เมื่อเด้งขึ้นชนแนวต้านมีแรงขายออกมาลงมาที่แนวรับ แต่ไม่สามารถทะลุผ่านลงไปได้
  • ที่แนวรับเกิดการเด้งขึ้นจากแรงซื้อ และ วิ่งขึ้นทะลุแนวต้านแล้วยืนบนแนวต้านได้
  • เป็นจังหวะของการเปลี่ยนเทรน เพื่อที่จะขึ้นไปชนแนวต้านด้านบน
  • เมื่อชนแนว supply แล้วมีแรงขายออกมาแต่กราฟลงมาไม่หลุดแนวรับที่ยก low ขึ้น จะเป็นจุดเปลี่ยนเทรนของ dow ขาขึ้นครั้งแรกในกราฟ 5 นาทื
กราฟ 15 นาที
  • เกิดการทำคลื่น 1 ย่อ 2 ในกรอบแนวรับแล้วยืดคลื่น 3 เพื่อเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นต่อไป

กราฟ TFEX 3 T/F 1,5,15 นาที



ตัวอย่างกราฟ TFEX 3 T/F 
  • จังหวะของการออกข้างเพื่อทำลายกราฟขาลง แล้วกลับเปลี่ยนเทรนเป็น ขาขึ้น



mark low บีบตัวสร้างฐานทำ dow ขาขึ้น

 ลักษณะของกราฟที่กำลังจะเปลี่ยนเทรนจากลงเป็นขึ้น จะเห็นการขั้นตอนต่างๆตามนี้

  1. หยุดลงซะก่อนที่แนวรับใด แนวรับหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นแนวรับสำคัญ เรียกว่า การ " mark low "
  2. เริ่มมีแรงซื้อเข้ามา เพื่อทำการสร้างฐานของขาขึ้น เรียกว่า " ช่วงสร้างฐาน "
  3. เมื่อแรงขายหมด สร้างฐานเสร็จก็เริ่มเปลี่ยนเทรนจาก ลงเป็นขึ้น เรียกว่าช่วง " mark up " 
ช่วงหยุดลง มีรายละเอียดดังนี้
  • ต้องลงมาที่แนวรับของ T/F ใหญ่ระดับ กราฟ H1 ขึ้นไป
  • มีแรงมากซื้อที่ตำแหน่งนี้มากพอที่จะหยุดการลงต่อได้ 
  • อาจจะเป็นแนวรับของหลาย T/F รวมกันที่ตำแหน่งเดียว จะถือว่า เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งมาก 
  •  กราฟเคลื่อนที่แบบ cycle ครบแล้ว ตำแหน่งต่อไป คือ ตำแหน่งของการเเริ่ม cycle ใหม่
รายะลเอียดในกราฟ 1 นาที
  • กราฟจะวิ่งขึ้นที่คำแหน่งของแนวรับ ไปที่แนวต้านเพื่อพยายามที่จะเปลี่ยนเทรน
  • เกิดเป็น cycle หลาย cycle ในกรอบ sideway 
  • เมื่อวิ่งขึ้นครบ cycle แล้วชนแนวต้านผ่านไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนเป็นขาลงไปที่แนวรับด้านล่าง
  • กราฟจะวิ่งขึ้นลงเกิด cycle จนกว่าจะเกิด pattern ของฝั่งชนะ เกิดขึ้น
  • เมื่อเกิด pattern ของการเลือกทางแล้ว กราฟก็จะวิ่งไปทางฝั่งนั้น ทะลุแนวต้านเพื่อเปลี่ยนเทรนต่อไป
รายละเอียดในกราฟ 5 นาที
  • กราฟ 5 นาทีทิศทางการเคลื่อนที่ต้องสอดคล้องกับกราฟ 1 นาทีกราฟถึงเรเิ่มจะเปลี่ยนเทรน
  • กราฟ 1 นาทีเป็นคลื่นย่อยของกราฟ 5 นาทีฉะนั้น สัญญาณการเปลี่ยนเทรนจะเกิดก่อนกราฟ 5 นาที
  • กราฟ 5 นาทีจะวิ่งชนแนวต้าน แล้วย่อตัวลงมาที่แนวรับ เกิดเป็น double bottom ที่แนวรับ
  • เมื่อเกิด double bottom แล้วกราฟด็จะเริ่มเปลี่ยนทิศทางจากลงเป็นขึ้นแทน
  • ถ้ากราฟขึ้นทะลุแนวต้านในกราฟ 5 นาทีได้การเปลี่ยนเทรนก็จะเกิดขึ้นในขั้นตอนต่อไป
ลักษระของกราฟ  15 นาที
  • เกิด cycle การลงครบ cycle ที่แนวรับกลายเป็นคลื่น 3 ในุมมของ wave
  • เกิดการเปลี่ยนเทรน ที่สอดคล้องกับ T/F 1 และ 5 นาที
  • กราฟขึ้นทะลุแนวต้านได้ และเปลี่ยนเทรนเป็นขขาขึ้นได้ ในที่สุด
ตัวอย่างกราฟ xau/usd 3 ขั้นตอน
  • รายละเอียดในกราฟ 1,5,15 นาที


กราฟ xau/usd  3 ขั้นตอนในจังหวะของการเปลี่ยนเทรน



ลักษณะการเปลี่ยนเทรน ที่เกิด 3 ขั้นตอนที่เหมือนกันในกราฟ xau/usd





วันจันทร์, มิถุนายน 21, 2564

หุ้น รอบหลังวิกฤตCOVID-19

 หุ้นทีเด็ด 3 ประเภท Cyclical+Growth+Turnaround รอบหลังวิกฤตCOVID-19

1.การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น หากต้องการความมั่นคงรักษาเงินต้นได้ ให้เน้นการลงทุนยาว5-10ปีในหุ้นบลูชิพชั้นนำในSET50 ยิ่งหลังวิกฤตCOVID-19ยิ่งดี เพราะว่าหลังวิกฤตสำคัญอย่างBLACK MONDAY 1987 หุ้นฟื้นยาว10ปี หลังวิกฤตต้มยำกุ้งปี1997 หุ้นฟื้นยาว10ปี หลังวิกฤตซับไพรม์ปี2007ก็ฟื้นยาว10ปี และสถิติฟื้นมาราวๆ3-400% ดังนั้นหลังวิกฤตCOVID-19หากประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกคราว ก็คงฟื้นยาวไปถึงราวปี2030 ท่านก็ควรซื้อINDEX FUNDอิงหุ้นในSET50 หรือซื้อหุ้นตัวแทนแบบนี้เช่นTDEX BMSCITH เป็นต้น แล้วถือยาวไป10ปี เผื่อจะมีผบตอแทน3-400%แบบหลังวิกฤตหนก่อนๆ 2.แต่หากท่านต้องการเพิ่มพูนwealthในพอร์ตให้โตเร็ว ก็อาจอาศัยวิกฤตแบบนี้เลือกหุ้นที่high risk ,high returnขึ้นมาอกีหน่อย แต่หากจับMarket timingได้ดีก็จะลดความเสี่ยงลงไปได้ ก็ได้แก่ 2.1หุ้นอิงGlobal cyclicalหรือฟื้นตัวตามรอบวัฏจักรศก.โลก ที่ผ่านมารอบปีหุ้นพวกนี้เลยขึ้นมาเยอะมา่ก อย่างชิ้นส่วนฯDELTA HANA KCE ยางSTA เรือRCL PSL TTA โภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ปิโตรเคมี่ ถ่านหิน สินค้าเกษตร จนตอนนี้ผมต้องมาชวนสมาชิกทยอยขายทำกำไรหุ้นเหล่านี้อยู่ 2.2หุ้นที่จะTurnaroundโดดเด่นหลังวิกฤตผ่านพ้นไป ได้แก่พวกที่โดนกระทบหนักแต่รอดมาได้ และมีโอกดาสเติบใหญ่ขยายตัวเพราะคนอื่นในอุตสาหกรรมล้มหายตายจาก เช่น โรงแรม สายการบิน เป็นต้น ผมได้เล่าเรื่องหุ้นตัวหนึ่งคือ Uว่าคนเข้าใจผิดว่ามันเป็นหุ้นเน่า แต่ความจริงได้เพิ่มทุนสำเร็จมีเงินสดในมือ2หมื่นล้าน กิจการโรงแรมในEUกำลังเปิด มีโปรเจ็กต์ใหญ่เมืองใหม่อู่ตะเภา ราคาต่ำกว่าBV2.52บาทมาก และมีลุ้นปันผลมาก 2.3หุ้นtheme World reopenที่ตอนนี้ยังไม่ขึ้นและยังอยู่ฐานล่างจะได้ซื้อราคาต่ำมาก เช่น หุ้นสื่อสาร หุ้นอินฟราสตรัคเจอร์ อย่างรถไฟฟ้า โรงไฟฟ้า กองทุนอินฟราฯ พวกที่จะกลีบมาหลังวัคซีน อย่างห้างสรรพสินค้า โรงหนัง ภัตตาคาร พวกที่ขายสินค้าในห้าง เป็นต้น ผมได้ยกตัวอย่างTCAPว่าเป็นholding companyที่มีกำไรจากการถือหุ้นประกัน บลจ. โบรก ลีสซิ่ง บริหารหนี้ แต่ขาดทุนจากการถือหุ้นห้างMBK ต่อไปเมื่อMBKฟื้นก็จะปลอดล็อกให้ราคาขึ้นได้ ยังราคาถูกกว่าBVอยู่ครึ่งต่่อครึ่ง 2.4หุ้นGrowth กระแสตอนนี้คือกัญชงกัญชา แต่ราคาก็ขึ้นมาล่วงหน้าความคาดหวังไปเยอะมากๆแล้ว ขึ้นไป7-8เท่าตัวก็มี ทั้งที่ยังไม่ได้เป็๋นรูปเป็นร่างอะไรเลย แต่บางรายก็ยังขึ้นไม่มาก แะยังมีupsideอยู่ ผมได้ยกตัวอย่างGUNKULว่าที่เขาได้เริามธุรกิจต้นน้ำ ไปยันกลางน้ำ ปลายน้ำ ก็อาจเพิ่มมูลค่าให้อนาคตอีกมากทีเดียว เป็นต้น








วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 17, 2564

THANI หุ้นรถบรรทุก วิ่งขึ้นในวันที่ตลาดมีแรงขาย

 ดูงบการเงินของ THANI แล้ว งบก็เติบโตเท่าไร 





แต่ทรงกราฟในมุมของ Technical นี้สร้างฐานเป็น pattern ได้ดีมาก เพราะสร้างฐานเป็นคลื่น 2 และ dow ขาขึ้น

ดูกราฟ month 

  • นับ cycle ได้เป็น sidway 4 เพื่อขึ้นคลื่น 5



กราฟ week 
  • ก็กำลังขึ้นทำคลื่น 5


กราฟ day 
  • Mark low  แล้ว sideway สร้างฐาน
  • เมื่อสร้างฐานเสร็จก็ยืดฝั่งขึ้นไปที่แนวต้าน เป็น pattern ของคลื่นอย่างชัดเจน


กราฟ 4 T/F 

  • แสดงรายละเอียดของการสร้างที่ sideway ออกข้างนาน และ ยก low ขึ้นเป็นลักษระของคลื่น 2 ที่จะยืดคลื่น 3 ขึ้นได้ไกล





วันพุธ, มิถุนายน 16, 2564

ลักษณะของจุดเด้งขึ้นในกราฟทอง ( xau/usd )

 ลักษณะที่พรานล่าหุ้นเห็นจุดกลับตัวในกราฟทอง (xau/usd) มีดังนี้

  1. ลงมาชนแนวรับระดับ H1
  2. ปกติกราฟจะเด้งชึ้นแนวต้านแล้วยืดฝั่งลงทะลแนวรับลงไป เป็นลักษระของกราฟขาลง
  3. การเด้งขึ้นเมื่อลงชนแนวรับ กราฟจะเด้งขึ้นชนแนวต้านเลย จะเป็นลักษณะของกราฟที่ลงต่อเพราะเมื่อกราฟชนแนวต้าน ก็จะติดแนวต้าน แล้วผ่านไม่ได้ก็จะเปลี่ยนเป็นขาลง
  4. แต่ถ้าในกราฟ 1 นาทีเห็นกราฟลงที่แนวรับแล้ว sideway ออกข้างโดยที่ไม่เด้งขึ้น เหมือนว่าจลงต่อแต่ลงไม่ได้เลย ออกข้างไป
  5. เมื่อ sideway ออกข้างแล้วไม่ไเด้งขึ้น แต่เหมือนจะกดลงต่อ แต่ทะลุแนวรับลงต่อไม่ได้ สุดท้ายกราฟกลับตัวขึ้นทะลุแนวต้านขึ้นมาได้
  6. ลักษณะแบบนี้จะเป็นลักษณะของการกลับตัวที่แนวรับของ T/F ใหญ่กราฟก็จะกลับขึ้นตาม cycle ของ T/F ใหญ๋
  7. การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ จะเห็นในกราฟ M1 เท่านั้น

ตัวอย่างกราฟทอง xau/usd 3 T/F M1.M5,M15

  • รายละเอียดของจุดกลับตัวอยู่ที่กราฟ 1 นาที


กราฟ 3 T/F M1,M5,M15

กราฟทอง xau/usd ลักษณะของจุดเด้งครั้งที่ 2 

  • ลักษณะแบบเดียวกับการเด้งครั้งแรก คือ ลงมาsideway ที่แนวรับโดยไม่เด้งขึ้น
  • เกิดการบีบตัวระหว่างกรอบแนวรับแนวต้าน ราคาวิ่งอยู่ในกรอบก่อนจะเลือกทาง
  • เมื่อกราฟ วิ่งขึ้นทะลุแนวต้านขึ้นมาได้ เป็นจุดเด้งขึ้นตาม T/F ใหญ่ 

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15




วันอาทิตย์, มิถุนายน 13, 2564

mark low สร้างฐาน เปลี่ยนเทรน

 3 ขั้นตอนของการเปลี่ยนเทรน 

  1.  mark low คือ กำหนดตำแหน่งที่จะทำการสร้างฐานเพื่อเปลี่ยนเทรน ราคาจะไม่หลุดจากตำแหน่งนี้ในช่วงของการสร้างฐาน  
  2. สร้างฐาน  คือ คือการสร้างของเทรน ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้น หรือ ขาลงก็ต้องทีการสร้างซะก่อน 
  3. เปลี่ยนเทรน คือ เมื่อสร้างได้สำเร็จ ต่อไปก็คือการเปลี่ยนเทรนในรูปแบบของ dow thoery คือ ยก low ขึ้นไปเรื่อยๆ หรือ ทำ high ต่ำลงไปเรื่อยๆ

ตัวอย่างกราฟทอง ( xau/usd )
  • T/F M1 เกิดการเด้งขึ้นที่แนวรับ เป็นสัญญาณของการ mark low ที่ตำแหน่งนี้
  • T/F M5 เกิดการสร้างที่แนวรับได้สำเร็จ ก็จะทำกระบวนการที่ 3 คือวิ่งขึ้นยก high ยก low ขึ้นไปที่แนวต้านถัดไป แล้ว


ตัวอย่างกราฟทอง xau/usd อยู่ในกระบวนการที่จะเปลี่ยนเทรนที่แนวรับของ T/F H1
  • T/F M1 เกิดการ mark low ที่แนวรับของ T/F H1
  • T/F M5 เกิดการสร้างฐานที่แนวรับโดย ไม่ยืดฝั่งลง จึงเกดกราฟที่ทำ double bottom ที่แนวรับนี้
  • T/F M15 เอาไว้เชื่อม cycle ระหว่าง T/F M5 กับ T/F H1



ตัวอย่างกราฟ TFEX 3 ขั้นตอนของการเปลี่ยนเทรน
  • เกิดการ mark low ที่แนวรับของ T/F H1 เพื่อที่จะหยุดลงและสร้างฐาน
  • T/F M5 เกิดการสรา้งฐานของคลื่น 1,2 ของขาขึ้นได้สำเร็จ
  • T/F M15 เกิดการยืดของกราฟ เป็น cycle ขาขึ้น 5 คลื่น


  
ตัวอย่างกราฟ TFEX เกิดสัญญาณขาลง ที่ตำแหน่งแนวต้านของ T/F H1
  • เมื่อกราฟวิ่งขึ้นไปชนแนวต้านของ T/F H1 กราฟจะเกิดการ mark high ที่ตำแหน่งแนวต้าน
  • T/F M1 การ mark low ก็คือการทำ double bottom คือการหยุดขึ้นเพราะติดแนวต้าน และกราฟจะไม่สามารถวิ่งขึ้นทะลุแนวต้านนี้ได้อีกเลย
  • T/F M5 เมื่อกราฟใน T/F M1 ไหลลงมาที่แนวรับของ M5 แต่ไม่สามารถเด้งขึ้นแล้วยืนบนแนวรับได้กราฟก็จะลงต่อไปเกิด เป็น cycle ที่ 1 ใน T/F M5 และยืดลงไปที่แนวรับถัดไป
  • T/F M15 เกิดการยืดฝั่งลงที่ตำแหน่ง cycle 1 ซึ่งเป็นจุดเดียวกับกราฟ T/F M5 ทำให้เกิดคลื่นยืดขา 3 ใน T/F M15 ออกมาแล้วยืดลงไปที่แนวรับของT/F H1 


กราฟ 3 T/F M1,M5,M15

demand & supply ในกราฟ

 Demand & supply หรือเรียกว่า แรงซื้อ หรือแรงตามแนวรับแนวต้าน

มีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของกราฟ เพราะการกลับตัวจะเกิดตามแนวรับและแนวต้าน ตามจำนวนแรงซื้อและแรงขายที่สะสมอยู่ ยิ่ง T/F ใหญ่ก็จะมีจำนวน demand และ supply มากขึ้นตาม T/F ที่ใหญ่ขึ้นฉะนั้น ถ้าจะหาจุดกลับตัวแม่นๆ ให้ไปดูตามแนวรับแนวต้านของ T/F day และ  T/F 60 นาที

ในกรอบ sideway จะมี demand ที่แนวรับ และ มี supply ที่แนวต้าน ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ขึ้นลงในกรอบ จนกว่า demand  หรือ supply เริ่มจะอ่อนแอลง และทำใหกราฟเคลื่อนที่ไปที่ตำแหน่งนั้น เพื่อที่จะทำการทะลุแนวนั้นไป แต่ก่อนที่จะทะลุได้ ก็จะเกิดการวิ่งขึ้นลง ชนแนวต้านและแนวรับหลายครั้ง จนกราฟวิ่งไปด้านนั้น โดยไม่กลับมาอีกฝั่งหนึ่งเพื่อที่จะทำการวิ่งทะลุแนว demand หรือ supply นั้นๆไปให้ได้ 

Trend เป็นเรื่องสำคัญของการคาดการณ์ทิศทางการวิ่งในกรอบ sideway 

  • T/F ใหญ่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางใน T/F เล็ก
  • ถ้าใน T/F ใหญ่ยังเคลื่อนที่ไม่ครบ cycle ใน T/F เล็กก็จะยังเคลื่อนที่ไปตาม T/F ใหญ่
  • ถ้าจะมีการกลับตัว จะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งของแนว demand หรือ แนว supply สำคัญๆเท่านั้น
  • ให้เข้าไปดูใน T/F ที่เล็กกว่า เพราะจะเห็นทิศทางการเคลื่อนที่ ของคลื่นย่อยซึ่งเป็นองค์ประกอบของ T/F ใหญ่      

ตัวอย่างกราฟ ทอง ( xau/usd )

เมื่อกราฟชนแนวต้านแล้วย่อตัวลงไปยังแนว demand จะเกิดพฤติกรรมที่แนวรับดังนี้

วิ่งขึ้นครั้งที่ 1

  • เมื่อกราฟวิ่งขึ้นชนแนว supply ของกราฟ day แล้วมีแรงขายออกมาผ่านไม่ได้ กลายเป็นกรอบ การเคลื่อนที่ในกรอบ sideway 
  • จังหวะที่กราฟลงมาแล้ว กราฟ T/F day ยังเป็นขาขึ้นอยู่ ที่แนว deamnd ก็จะมีแรงซื้อรออยู่จำนวนมาก เมื่อกราฟลงมาถึงแนวรับ ซึ่งเป็นแนวรับของ T/F H1 ก็จะมีแรงซื้อจาก แนว deamand เข้ามาดันราคาให้กลับขึ้นไป ด้วย volume จำนวนมาก และจะทำการ mark low นี้ไว้
  • กราฟจะผ่านแนวรับนี้ลงไปไม่ได้ และกลับตัวเป็นขาขึ้นวิ่งขึ้นไปที่แนวต้านด้วยแรงซื้อมหาศาล เกิดแท่งเขียวยาวและ volume จำนวนมากเพราะเป็นการลงมาที่แนว demand ครั้งแรก
วิ่งขึ้นครั้งที่ 2

  • กราฟจะลงมาที่ตำแหน่ง low ที่ทำการ mark ไว้แล้วจากการลงครั้งที่ 1
  • deamnd ที่ยังมีอยุ่และยังไม่หมด ก็จะดันไล่ซื้อดันกราฟกลับขึ้นไปอีกครั้ง
  • ครั้งที่ 2 นี้จำนวนแรงซื้อที่แนว demand นี้เริ่มจะอ่อนแรงลงเพราะลงมา 2 ครั้งแล้วไม่สามารถผ่านแนวต้านขึ้นไปได้
ขา ลงครั้งที่ 1

  • กราฟชนแนวต้านระดับกราฟ day จะมีแรงขายออกมาจนกราฟเปลี่ยนเป็นขาลงไปที่แนวต้านด้านล่าง
  • เมื่อกราฟขึ้นมาที่แนวต้านก็จะทำการ mark จุดเพื่อที่จะทำเป็นจุดแนวต้านของขาลง ถ้ากราฟขึ้นมาชนครั้งที่ 2 ที่ตำแหน่งนี้แล้วผ่านไม่ได้ ก็จะเกิดขาลงที่ตำแหน่งอีกครั้ง
ขาลงครั้งที่ 2

  • เมื่อกราฟขึ้นมาครั้งที่ 2 ชนแนวต้านที่ถูก mark ไว้แล้วก็จะมีแรงขายออกมาที่ตำแหน่งนี้
  • ถ้ากราฟผ่านไปไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนเป็นขาลงครั้งที่ 2 ไปที่แนว demand ที่ถูกไว้ก่อนหน้านี้
ขาลงครั้งที่ 3 จะมีแรงขายออกมามากว่าทุกครั้ง

  • เมื่อกราฟขึ้นมาครั้งที่ แนวต้านที่ถูก mark ไว้ก็จะมีแรงขายออกมาไม่ยอมให้กราฟผ่านขึ้นไปได้ 
  • ถ้ากราฟ ผ่านขึ้นไปไม่ได้ ก็จะกลับเป็นขาลงครั้งที่ 3 ที่มีแรงขายจำนวนมาก เนื่องจากแรงซื้อที่เริ่มอ่อนแรงลง
  • จะเห็นแท่งเทียนสีแดงยาวกว่าก่อนหน้า ลงมาที่แนวรับที่ถูก mark ไว้

 กราฟ xau/usd จังหวะขึ้น 2 ครั้ง และลง 2 ครั้งที่แนวรับและแนวต้านของ demand & supply 

รายละเอียดใน T/F M5,M15,H1


รายละเอียดใน cycle และ ตำแหน่งการ mark จุดใน T/F H1,H4,Day


ภาพขยายจาก T/F เล็ก M1,M5,M15
  • M1 จะเป็นคลื่นย่อยที่เล็กที่สุดในกราฟ
  • M5 เป็นตัวเชื่อมการยืดของกราฟ M1 เพื่อสร้างเทรน
  • M15 เป็นตัวเชื่อมและนับคลื่นของ T/F ใหญ่จากรูปนับได้ 5 คลื่นแล้วรอดูการเด้งขึ้น 


กราฟ XAU/USD T/F ใหญ่
  • T/F M15 ขยายเพื่อดูคลื่นภายในว่าเคลื่อนที่ไปกี่ cycle แล้วใน T/F H1
  • H1 เอาไว้ดูแนวรับและแนวต้าน และจุด mark low และ mark high  
  • H4 ดูภาพคลืนใหญ่แนวรับแนวต้าน และ การเคลื่อนที่ของ cycle ใน T/F ใหญ่



ตัวอย่าง กราฟ TFEX แนว demand & supply
  • T/F H4 เกิดแรงขายลงมาหลุดแนวรับที่ 924 กลายเป็นขาลง
  • T/F H1 เมื่อหลุดแนวรับกราฟก็จะยืดลงไปที่แนวรับถัดไป
  • T/F Day กราฟลงมาถึงแนว demand ในกราฟ day ซึ่งปกติจะเด้งขึ้นแล้วค่อยๆเปลี่ยนเทรน ขึ้นหรือลงต่อไป แต่ที่แนว demand นี้กลับมีแรงซื้อไล่ราคากลับขึ้นมายืนบนแนวรับได้อย่างรวดเร็วบ่งบอกว่า กราฟยังไม่จบ cycle ขาขึ้นจึงมีแรงซื้อเข้ามาดันราคากราฟกลับไปเป็นขาขึ้นต่อได้   


กราฟ 3 T/F H1,H4,Day 





วันอาทิตย์, มิถุนายน 06, 2564

คลื่นยืดในกราฟ 1 นาที ต้นกำเนิดเทรน

ลักษณะ sideway ในกรอบเพื่อเปลี่ยนเทรน

 ความสำคัญของกราฟ 1 นาที คือ อะไรหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ และ ทราบมาก่อนว่าจุดกำเนิดของเทรน เกิดจาก T/F ที่เล็กที่สุดและค่อยๆยืดขึ้นจนเกิดเป็นเทรนขนาใหญ่ ระดับ T/F day และ week หรือ T/F month ก็ตาม ก็ล้วนแล้วมีจุดกำเนิดของกราฟมาจาก T/F 1 นาทีทั้งสิ้น

เพราะว่าเมื่อกราฟลงมาชนแนวรับแล้ว ในแต่ละแนวรับจะมี demand  อยู่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าแนวรับนั้น เป็นแนวรับของ T/F ระดับไหน day week month หรือ T/F ที่เล็กกว่า จะมี deamnd ไม่เท่ากัน

ลักษณะของกราฟขาขึ้น คือ เมื่อกราฟลงมาชนแนวรับแล้วจะสามารถเด้งขึ้นได้ และชึ้นไปชนแนวต้านที่สูงกว่าเดิมได้ หรือ เด้งชนแนวต้าน แต่ low ยกขึ้นเป็นลักษณของ dow thoery ของขาขึ้น

ลักษณะของกราฟ sideway ที่สร้างฐานของขาขึ้น

ลักษณะของcycle ในกราฟ 1 นาที

กราฟ 3 T/F ขยาย cycle ในกรอบ sideway
 
กราฟ 3 T/F M1,M5,M15


ลักษณะของกราฟวิ่งในกรอบ sideway เป็นลักษณะของขาลง

ลักษระของcycle ในกราฟ 1 นาที


ตัวอย่างของกราฟ 3 T/F วิ่งในกรอบ sideway ในกราฟขาลง 

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15

คลื่นยืดที่เกิดจากกราฟ 1 นาทีซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิดเทรนของกราฟ

ถ้ากราฟเกิดวิ่งเป็นเทรนไม่ว่าจะขาขึ้นหรือ ขาลง ก็ต้องเกิดจากการสร้างคลื่นในกราฟ 1 นาทีก่อนเสมอเพราะกราฟ 1 นาทีเป็นกราฟที่เล็กที่สุดที่สามารถมองเห้นได้ในกราฟ ลักษณะของการเกิดคลื่นยืดในกราฟ 1 นาทีจะมีลักษณะดังนี้
  • ลงมาชนแนวรับสำคัญที่มี demand เพียงพอที่จะเกิดการเด้งขึ้นได้
  • กราฟหยุดลงที่แนวรับนี้
  • โดยเกิดการทำ double bottom ที่แนวรับนี้ ที่จะกลับตัว
  • กราฟ sideway ออกด้านข้างเพื่อที่จะเปลี่ยนเทรน
  • กราฟเริ่มสร้างฐานของ dow ขาขึ้นตามทฤษฎี dow thoery 

ตัวอย่างกราฟที่มีลักษณะการยืดของกราฟจาก 1 นาทีขึ้นไป ที่ 5 นาที่แล้วเกิดเป็นเทรนขาขึ้น

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15


ตัวอย่างกราฟ TFEX ซึงเกิดการยืดขึ้นจนเกิดเทรนขาขึ้นต่อกันไปในแต่ละ T/F 

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15


ตัวอย่างกราฟขาลงที่จะยืดกราฟขึ้น แต่จะยืดกราฟฝั่งลงแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • กราฟเด้งขึ้นจากแนวรับ จาก volume ของ demand
  • เกิดการสรา้ง cycle ขาขึ้น ขึ้นไปที่แนวต้าน
  • เมื่อกราฟชนแนวต้าน ก็จะมีแรงขายออกมา เป็น supply ตามแนวต้านนั้นๆ
  • ถ้ากราฟจะขึ้นต่อ ต้องไม่หลุดแนวรับที่ทะลุขึ้นมายืนได้ เพื่อที่จะยืดกราฟฝั่งขึ้นต่อขึ้นไปอีก
  • แต่ถ้ากราฟไม่ขึ้น และเปลี่ยนเป็นขาลง กราฟก็จะลงมาที่แนวรับเดิมที่เคยทะลุผ่านขึ้นมายืนได้
  • แล้วเด้งขึ้นจาก deamnd ที่แนวรับนี้อยู่พักหนึ่งเพื่อที่จะเปลี่ยนเทรน
  • แต่ถ้าไม่สามารถเด้งขึ้นทะลุแนวต้านได้ และ volume  ของแรงซื้อก็เริ่มหมดลง
  • กราฟก็จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นเทรนขาลงทะลถแนวรับลงไปที่แนวรับด้านล่าง
ตัวอย่างกราฟ TFEX ที่สร้างเทรนขาลงเมื่อขึ้นชนต้านแล้วทะลุขึ้นไม่ได้ กราฟก็จะเปลี่ยนเทรนโดยยืดฝั่งลงและลงไปที่แนวรับถัดไป

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15