Demand & supply หรือเรียกว่า แรงซื้อ หรือแรงตามแนวรับแนวต้าน
มีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของกราฟ เพราะการกลับตัวจะเกิดตามแนวรับและแนวต้าน ตามจำนวนแรงซื้อและแรงขายที่สะสมอยู่ ยิ่ง T/F ใหญ่ก็จะมีจำนวน demand และ supply มากขึ้นตาม T/F ที่ใหญ่ขึ้นฉะนั้น ถ้าจะหาจุดกลับตัวแม่นๆ ให้ไปดูตามแนวรับแนวต้านของ T/F day และ T/F 60 นาที
ในกรอบ sideway จะมี demand ที่แนวรับ และ มี supply ที่แนวต้าน ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ขึ้นลงในกรอบ จนกว่า demand หรือ supply เริ่มจะอ่อนแอลง และทำใหกราฟเคลื่อนที่ไปที่ตำแหน่งนั้น เพื่อที่จะทำการทะลุแนวนั้นไป แต่ก่อนที่จะทะลุได้ ก็จะเกิดการวิ่งขึ้นลง ชนแนวต้านและแนวรับหลายครั้ง จนกราฟวิ่งไปด้านนั้น โดยไม่กลับมาอีกฝั่งหนึ่งเพื่อที่จะทำการวิ่งทะลุแนว demand หรือ supply นั้นๆไปให้ได้
Trend เป็นเรื่องสำคัญของการคาดการณ์ทิศทางการวิ่งในกรอบ sideway
- T/F ใหญ่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางใน T/F เล็ก
- ถ้าใน T/F ใหญ่ยังเคลื่อนที่ไม่ครบ cycle ใน T/F เล็กก็จะยังเคลื่อนที่ไปตาม T/F ใหญ่
- ถ้าจะมีการกลับตัว จะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งของแนว demand หรือ แนว supply สำคัญๆเท่านั้น
- ให้เข้าไปดูใน T/F ที่เล็กกว่า เพราะจะเห็นทิศทางการเคลื่อนที่ ของคลื่นย่อยซึ่งเป็นองค์ประกอบของ T/F ใหญ่
ตัวอย่างกราฟ ทอง ( xau/usd )
เมื่อกราฟชนแนวต้านแล้วย่อตัวลงไปยังแนว demand จะเกิดพฤติกรรมที่แนวรับดังนี้
วิ่งขึ้นครั้งที่ 1
- เมื่อกราฟวิ่งขึ้นชนแนว supply ของกราฟ day แล้วมีแรงขายออกมาผ่านไม่ได้ กลายเป็นกรอบ การเคลื่อนที่ในกรอบ sideway
- จังหวะที่กราฟลงมาแล้ว กราฟ T/F day ยังเป็นขาขึ้นอยู่ ที่แนว deamnd ก็จะมีแรงซื้อรออยู่จำนวนมาก เมื่อกราฟลงมาถึงแนวรับ ซึ่งเป็นแนวรับของ T/F H1 ก็จะมีแรงซื้อจาก แนว deamand เข้ามาดันราคาให้กลับขึ้นไป ด้วย volume จำนวนมาก และจะทำการ mark low นี้ไว้
- กราฟจะผ่านแนวรับนี้ลงไปไม่ได้ และกลับตัวเป็นขาขึ้นวิ่งขึ้นไปที่แนวต้านด้วยแรงซื้อมหาศาล เกิดแท่งเขียวยาวและ volume จำนวนมากเพราะเป็นการลงมาที่แนว demand ครั้งแรก
- กราฟจะลงมาที่ตำแหน่ง low ที่ทำการ mark ไว้แล้วจากการลงครั้งที่ 1
- deamnd ที่ยังมีอยุ่และยังไม่หมด ก็จะดันไล่ซื้อดันกราฟกลับขึ้นไปอีกครั้ง
- ครั้งที่ 2 นี้จำนวนแรงซื้อที่แนว demand นี้เริ่มจะอ่อนแรงลงเพราะลงมา 2 ครั้งแล้วไม่สามารถผ่านแนวต้านขึ้นไปได้
- กราฟชนแนวต้านระดับกราฟ day จะมีแรงขายออกมาจนกราฟเปลี่ยนเป็นขาลงไปที่แนวต้านด้านล่าง
- เมื่อกราฟขึ้นมาที่แนวต้านก็จะทำการ mark จุดเพื่อที่จะทำเป็นจุดแนวต้านของขาลง ถ้ากราฟขึ้นมาชนครั้งที่ 2 ที่ตำแหน่งนี้แล้วผ่านไม่ได้ ก็จะเกิดขาลงที่ตำแหน่งอีกครั้ง
- เมื่อกราฟขึ้นมาครั้งที่ 2 ชนแนวต้านที่ถูก mark ไว้แล้วก็จะมีแรงขายออกมาที่ตำแหน่งนี้
- ถ้ากราฟผ่านไปไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนเป็นขาลงครั้งที่ 2 ไปที่แนว demand ที่ถูกไว้ก่อนหน้านี้
- เมื่อกราฟขึ้นมาครั้งที่ แนวต้านที่ถูก mark ไว้ก็จะมีแรงขายออกมาไม่ยอมให้กราฟผ่านขึ้นไปได้
- ถ้ากราฟ ผ่านขึ้นไปไม่ได้ ก็จะกลับเป็นขาลงครั้งที่ 3 ที่มีแรงขายจำนวนมาก เนื่องจากแรงซื้อที่เริ่มอ่อนแรงลง
- จะเห็นแท่งเทียนสีแดงยาวกว่าก่อนหน้า ลงมาที่แนวรับที่ถูก mark ไว้
กราฟ xau/usd จังหวะขึ้น 2 ครั้ง และลง 2 ครั้งที่แนวรับและแนวต้านของ demand & supply
รายละเอียดใน T/F M5,M15,H1
- M1 จะเป็นคลื่นย่อยที่เล็กที่สุดในกราฟ
- M5 เป็นตัวเชื่อมการยืดของกราฟ M1 เพื่อสร้างเทรน
- M15 เป็นตัวเชื่อมและนับคลื่นของ T/F ใหญ่จากรูปนับได้ 5 คลื่นแล้วรอดูการเด้งขึ้น
- T/F M15 ขยายเพื่อดูคลื่นภายในว่าเคลื่อนที่ไปกี่ cycle แล้วใน T/F H1
- H1 เอาไว้ดูแนวรับและแนวต้าน และจุด mark low และ mark high
- H4 ดูภาพคลืนใหญ่แนวรับแนวต้าน และ การเคลื่อนที่ของ cycle ใน T/F ใหญ่
- T/F H4 เกิดแรงขายลงมาหลุดแนวรับที่ 924 กลายเป็นขาลง
- T/F H1 เมื่อหลุดแนวรับกราฟก็จะยืดลงไปที่แนวรับถัดไป
- T/F Day กราฟลงมาถึงแนว demand ในกราฟ day ซึ่งปกติจะเด้งขึ้นแล้วค่อยๆเปลี่ยนเทรน ขึ้นหรือลงต่อไป แต่ที่แนว demand นี้กลับมีแรงซื้อไล่ราคากลับขึ้นมายืนบนแนวรับได้อย่างรวดเร็วบ่งบอกว่า กราฟยังไม่จบ cycle ขาขึ้นจึงมีแรงซื้อเข้ามาดันราคากราฟกลับไปเป็นขาขึ้นต่อได้
กราฟ 3 T/F H1,H4,Day |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น