หน้าเว็บ

วันเสาร์, มีนาคม 27, 2564

cycle เล็กใน cycle ใหญ่

ยกตัวอย่างกราฟทอง ( XAU/USD )

ขั้นตอนแรก 

  • หาทิศทางการเคลื่อนที่ขแองกราฟจาก T/F ใหญ่ว่ามีทิศทางจะไปทางไหนได้บ้าง
  • เมื่อหาทิศทางได้แล้วก็ไปดูทีจุดเปลี่ยนเทรนใน T/F เล็กว่าจะเปลี่ยนเทรนไปทางไหน


กราฟ T/F H1,H4,Day


ขั้นตอนที่ 2 ลงไปดูคลื่นใน T/F ที่เล็กลง

  • เข้าไปดูที่แนวรับของ H1 ใน T/F M1
  • จะเห็น cycle ของ T/F M1 เคลื่อนที่ครบคลื่นแล้ว
  • เอาไปเทียบกับ T/F M5 ว่าอยุ่ในช่วงคลื่นไหนของ T/F M5
  • แล้วเทียบกับ T/F M15 ด้วยว่าใน T/F ใหญ่กว่ากำลังสร้างคลื่นอะไรอยู่
ในรูป 1 cycle ของ T/F M1 จะเป็นคลื่นย่อยในคลื่น 2 ของ T/F M5 

กราฟ T/F M1,M5,M15
 


รูปที่ 3 1 cycle ของ T/F M1 เป็นคลื่นย่อยของ คลื่น 1 ใน T/F M5

กราฟ T/F M1,M5,M15


รูปที่ 4 1 cycle ของ T/F M1 เป็นคลื่นย่อยในคลื่น 3 ของ T/F M5 

กราฟ T/F M1,M5,M15


รูปที่ 5 1 cycle ของ T/F M1 เป็นคลื่นย่อยใน T/F M5 ช่วงของ cycle ที่ 3 

กราฟ T/F M1,M5,M15


รูปที่ 6 ชุด sideway ใน T/F M1 เป็นคลื่นย่อยในช่วง cycle ที่ 3 ของ T/F M5 ซึ่งจะเป็นช่วงของคลื่น 4 ใน T/F M15   

กราฟ T/F M1,M5,M15


มุมมองของพรานล่าหุ้น

ฉะนั้นจับหลักการเคลื่อนที่ของคลื่นใน T/F ใหญ่ซะก่อนแล้วค่อยเข้าดูคลื่นย่อยใน T/F ที่เล็กกว่าจะห็น ความสัมพันธ์ของทิศทางการเคลื่อนที่ถ้า T/F เล็กและ T/F ใหญ่ สอดคล้องกันกราฟก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน แต่ถ้าไม่สอดคล้องกัน กราฟก็จะวิ่งจาก T/F เล็กไปที่แนวต้านของ T/F ใหญ่ถ้าผ่านไม่ได้ก็จะกลับทิศทางแล้วเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของ T/F ใหญ่ต่อไป จนกว่าจะถึงแนวต้าน หรือ แนวรับของ T/F ใหญ่อีกครั้ง ก็จะเกิดกระบวนการสร้างคลื่นย่อยเพื่อกลับทิศทางอีกครั้ง ถ้าทั้ง T/F เล็กและ T/F ใหญ่ สอดคล้องกันกราฟก็จะเคลื่อนเป็นเทรน แต่ถ้าไม่สอดคล้องกันกราฟก็อาจจะ sideway เพื่อรอเลือกทางอีกครั้งหนึ่งจนกว่า กราฟทั้ง T/F เล็กและใหญ่จะกลับมาสอดคล้องกันอีกครั้ง




cycle ธุรกิจในมุมของ พรานล่าหุ้น

 cycle ของธุรกิจ ที่เข้าใจโดยทั่วไปมี 4 Stage

  1. ช่วงเริ่มต้น สร้างฐาน
  2. ช่วงขยายตัว
  3. ช่วงอิ่มตัว
  4. ช่วงถดถอย



 ภาพจาก web Blockchain review 


หุ้นก็มี 4 stage เช่นกัน 


ตัวอย่าง เอาหุ้น CPALL มาวิเคราะห์หา cycle 


ดูงบการเงิน ช่องการเติบโตต่อปี
  • cycle แรกๆการเติบโตดีมาก เปอร์เซ็นต์หลัก 2 digit ตลอดกินเวลา 7 ปี
  • cycle ที่ 2 การเติบโตเริ่มช้าลงเปอร์เซ้นต์การเติบโตหลัก 1 digit 4 ปี
  • cycle ที่ 3 การเติบโตจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ การทำกำไร ถ้าน้อยกว่า cycle ที่ 2 cpall ก็คงใกล้ถึงจุดอิ่มตัวเข้าไปทุกที แต่ถ้ากำไรกลับมาเติบโตได้ ก็จะเกิด cycle ของการฟื้นตัวรอบที่ 3 ที่แรงและยาวนาน ขึ้นอยู่ว่า cpall จะมีกลยุทธ์อะไรมาขับเคลื่อนการเติบโตให้ขึ้นไปในระดับ 2 ditig ได้อีกครั้งหรือไหม










กราฟ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น cpall ตั้งแต่อดีตถึงปจจุบัน


กราฟ cpall T/F month






กรอบบีบตัว ver.2

 กรอบบีบตัวในช่วงนี้ กราฟทรงนี้จะมี flow เข้าแล้วขึ้นได้เหมือนไล่กราฟทรงนี้ขึ้นยกแผง

รูปแบบการบีบตัวในกรอบก็เหมือนกับ ver.1 แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมาคือ

  • กราฟ day อยู่ในช่วงของคลื่นปรับฐานของคลื่น 4 เพื่อจะขึ้น คลื่น 5 ต่อ
  • set ยังเป็นนขาขึ้นอยู่


หุ้น TRUE วิ่งในกรอบบีบตัวแล้วขึ้นต่อ

กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day 


หุ้น RS เลือกทางขึ้น



หุ้น KCE เลือกขึ้น



หุ้น ESSO ขึ้นต่อ



หุ้น EA กระโดดเปิด gap ขึ้นทะลุแนวต้านแล้วยืน sub แรงขายอยู่


หุ้น  CENTEL เลือกขึ้นต่อ



หุ้น BPP ขึ้นต่อ



หุ้น ACE บีบตัวแล้วทะลุแนวต้านขึ้นแรงเลย มีข่าวเรื่อง มี biglot เข้าซื้อ volume แต่หลักพันล้าน 




กรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง 1 pattern ที่ควรรู้

 Technical เป็นวิชาที่ว่ากันด้วยเรื่องกราฟ แล้วแต่ว่าใครเห็นในมุมไหน แบบไหน แล้วเอาตีความในมุมของตัวเอง เพื่อตกผลึกออกมาเป็นภาพที่สามารถเข้าใจและ ถ่ายทอดออกไปได้

กราฟจะมีหลาย pattern มากเพราะแรงซื้อและแรงขายที่เข้ามากระทำกับกราฟ ผ่านแนวรับและแนวต้านจะเกิดเป็นรูปแบบต่างๆ ผ่านกราฟราคาที่เราเห็นกัน 

ฉะนั้นถ้าใครสามารถเข้าถึงหลักการ ของแรงซื้อและแรงขายผ่านแนวรับแนวต้านได้ ก็จะสามารถเข้าใจพฤติกรรมของราคาผ่านกราฟ tecnical และสามารถเอาไปใช้ประโชน์ในการสร้างรายได้ได่ต่อไป

Pattern ที่จะพูดถึงต่อไปนี้เป็น pattern ที่พบเจอบ่อย พรานล่าหุ้นเรียกว่า กรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง โดยลักษระจะเกิดในช่วงที่กราฟลงมาที่จุดกลับตัว มีจุดสังเกตุดังนี้

  • แรงซื้อและแรงขายจะมีลักษณะที่สมดุลกัน ในช่วงที่กราฟเริ่มจะกลับตัว
  • จะเห็นพฤติกรรมอของแรงซื้อที่เริ่มเข้ามากระทำกับกราฟมากขึ้น แรงขายจะเริ่มลดลง
  • เห็นการวิ่งขึ้นชนแนวต้านจากแรงซื้อที่เกิดแท่งเทียนสีเขียวยาวขึ้นไปที่แนวต้าน
  • เห็น low ที่เริ่มสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อกราฟลงมาที่บริเวณแนวรับ ที่มี demand เพียงพอที่จะเป็นแนวกลับตัวได้ส่วนใหญ่จะเกิดใน T/F ใหญ่ระดับ day ขึ้นไป

ลักษณะพฤติกรรมในกรอบบีบตัวที่เห็นได้

  • กราฟจะเริ่มเคลื่อนที่ในกรอบที่แคบลงเรื่อยๆ
  • จะเห็นบนแนวรับ สำคัญๆทีมีนัยยะกับการกลับตัว
  • volume จะเริ่มแห้งลงเรื่อยๆ
  • indicator จะวิ่งไปที่ค่ากลาง คือ ถ้าเป็น MACD ก็จะวิ่งอยุ่ที่เส้น 0 ถ้าเป็น RSI ก็จะวิ่งอยู่ที่โซนเส้น 50 
ขั้นตอนของการเปลี่ยนเทรนในกรอบบีบตัว

  1. T/F day ลงมาที่แนวรับสำคัญที่สามารถเป็นแนวกลับตัวได้
  2. ในมุมของคลื่นลงมาครบแล้วไม่ว่าจะเป็น 3 หรือ 5 คลื่นที่แนวรับนี้
  3. เกิดกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง
กรอบบีบตัวของฝั่งขาขึ้น

  1. สร้างฐานของ dow theory ฝั่งขาขึ้นได้
  2. เคลื่อนที่ยืดขึ้นทะลุแนวต้านแล้ว ยืดต่อไปที่แนวต้านถัดไป
  3. T/F ใหญ่สอดคล้องกับทิศทางของ T/F เล็กเสมอ 

เมื่อกราฟเลือกทางแล้วสิ่งที่เห็น คือ 

  • แรงซื้อและแรงขาย จะเริ่มขาดความสมดดุล คือ จะมีฝั่งหนี่งมากว่ากว่าอีกฝั่งหนึ่ง
  • จะเริ่มกราฟเคลื่อนที่ไปในฝั่งซึ่งมีแรงมากกว่า
ภาพตัวอย่างกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทางของหุ้น WHA T/F M15 จุดสังเกตุในกรอบบีบตัว

  • ลงมาที่แนวรับสำคัญของ day
  • เห็นลักษณะของกราที่ลงต่อไม่ได้ออก sideway ที่แนวรับนี้
  • เห็นแรวซื้อกลับเข้ามาที่แนวรับนี้
  • เริ่มเห็นการสร้างฐานของ dow ขาขึ้น คือ เริ่มสร้างกราฟที่ยก low ขึ้น
  • indicator เริ่มเปลี่ยนจากสัญญาณของฝั่งลง เป็นเริ่มส่งสัญญาณของฝั่งขาขึ้น


ภาพกราฟ หุ้น PLANB 4 T/F 

  • วิ่งในกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทางแล้วก็เลือกทางขึ้น ไม่ลง



หุ้น TQM วิ่งในกรอบบีบตัวแล้วเลือกทางขึ้น



หุ้น whaup เลือกทางขึ้น 



หุ้น JMART เลือกทางขึ้น




หุ้น JMT เลือกทางขึ้น



หุ้น STEC เลือกทางขึ้น



หุ้น AEONTS เลือกทางขึ้น



หุ้น SAWAD เลือกทางขึ้น




วันศุกร์, มีนาคม 26, 2564

หุ้นจะขึ้น หรือ ลง มีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ต้องดู

 การขึ้นลงของหุ้นประกอบไปด้วยปัจจัยอะไรบ้าง

  1. เริ่มจาก flow เข้าหรือ folw ออก low ประกอบไปด้วย
    • นักลงทุนต่างประเทศ
    • สถาบันในประเทศ
    • โบรกเกอร์
    • ประชาชนทั่วไป
     2. Flow เข้า หรือ flow ออก set

    • ถ้า Flow ซื้อมากว่าขาย กราฟก็จะขึ้น
    • ถ้า Flow ขายมากกว่าซื้อกราฟก็จะลง
     3. เมื่อ ตลาดหลักเปรียบเสมือนประตูด้านแรก มี Flow เข้า ออก ก็จะส่งผลไปที่หุ้นรายตัว
    • หุ้นรายตัว Flow เข้า ก็จะขึ้น
    • flow ออก ก็จะลง

ภาพองค์ประกอบการขึ้นลงของตลาดหุ้น


เมื่อรู้แล้วว่า ถ้า set มี flow เข้าเป็นซื้อ หุ้นรายตัว ก็จะมีแรงซื้อเข้ามาด้วย มาวิเคราะห์ต่อว่าหุ้นจะขึ้น ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ผลักดันอยู่
  1. พื้นฐานของบริษัทดี มีกำไรเติบโต
  2. Sentiment มาที่กลุ่ม
  3. มีแรงเกร็งกำไรเพราะมีข่าวดีเข้ามา
  4. วัฎจักรของสินค้าที่บริษัทขายอยู่นั้น กลับมาอีกครั้ง
ลองวิเคราะห์หาเหตุของการที่หุ้นจะวิ่งเป็นขาขึ้นสักตัวหนึ่ง มีอะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อนบ้าง เมื่อเจอแล้วก็เอาปัจจัยนั้นมาคัดกรองต่อไปเรื่อยๆ




วันอังคาร, มีนาคม 23, 2564

cycle ต่อ cycle ความจริงในกราฟที่ต้องดู

Cycle ในมุมมองพรานล่าหุ้น

 ในมุมของพรานล่าหุ้น cycle คือ คลื่นย่อยหลายๆลูก มาต่อเชื่อมกันเพื่อทำให้เกิดเทรนขาขึ้น หรือ ขาลง เมื่อเกิดเทรนแล้ว ก็จะเห็นการเคลื่อนที่เป็นเทรนขึ้นหรือ ลง ใน T/F ใหญ่

Cycle ที่เห็นรายละเอียดชัดที่สุด

ฉะนั้น ความสำคัญในการเกิด cycle ที่ต้องดู คือ คลื่นย่อยที่สามารถเห็นรายละเอียดของการเคลื่อนที่ได้อย่างชัดเจน จะเห็นได้จาก T/F M1 เพราะใน T/F M1 จะเป็น T/F ที่เล็กที่สุดที่กราฟแสดงให้เห็น รายละเอียดของคลื่นก็จะเล็กตามไปด้วย ทำให้ใน T/F M1 นี้จะเห็นคลื่นย่อยจำนวนมากมาต่อกันเพื่อทำให้เกิดเทรนขาขึ้นหรือขาลง ตามแรงซื้อและแรงขายที่เข้ามา

siedway กับ T/F

ในจังหวะที่กราฟ sideway แล้วเอา T/F ใหญ่มาดูจะเห็นรายละเอียดได้ไม่ครบเท่า T/F เล็กเพราะการเคลื่อนที่ของกราฟจะเห็นรายละเอียดได้ดีเท่ากับ T/F เล็ก ทำให้การเทรดใน sideway ด้วยการใช้ T/F ใหญ่เข้ามาจับไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไร  

ปัญหาของ T/F เล็ก

  • จะเกิดสัญญาณซื้อขายบ่อยมาก ถ้าใช้ indocator ในการหาสัญญาณเข้าออก
  • บางจังหวะเกิดคลื่นย่อยมากไปจนทำให้ต้องรอนาน ถ้าไปดู T/F ใหญ่จะเห็นภาพสั้นกว่าทำให้ไม่ต้องรอนานๆในบางจังหวะ
  • T/F เล็กเอามาดูเพื่อหาเทรนไม่เหมาะ เพราะ cycle ใน T/F เล็กจะเกิดสัญญาณขึ้นลงเร็วมากและ เกิด cycle  หลาย cycle แต่เป็น cycle เล็กๆมาต่อกัน
การแก้ปัญหา
  • เอา T/F ใหญ่เข้ามาช่วยวิเคราะห์คลื่นเพื่อหาจุดเชื่อมที่ดีจาก T/F เล็กไปใหญ่
  • ดู T/F เล็กและใหญ่ควบคู่กันไปเพื่อดูทิศทางการเคลื่นอที่
  • ดูเทรนจาก T/F ใหญ่ประกอบกับ T/F เล็ก  

เมื่อเอา T/F เล็กมาเชื่อมกับ T/F ใหญ่จะเกิดความสัมพันธ์ใหม่

T/F เล็ก

  • หาสัญญาณเปลี่ยนเทรน
  • ดูคลื่นย่อยในช่วง sideway และ ช่วงที่กราฟเคลื่อนที่ในช่วงแคบๆ
T/F ใหญ่

  • เอาไว้ดูเทรน ในภาพใหญ่
  • เชื่อมคลื่นจาก T/F เล็กไป T/F ใหญ่
  •  หาจุดออกเมื่อกราฟเคลื่อนที่เป็นทรนแล้ว
  • ดูแนวรับและแนวต้านหลัก

ตัวอย่าง cycle เล็กใน cycle ใหญ่

กราฟ TFEX 3 T/F 
  • นับคลื่นย่อยใน T/F M1 ได้ 3 cycle
  • นับคลืนย่อยใน T/F M5 ได้ 2 cycle
  • นับคลื่นใน T/F M15 ได้ 1 cycle 


แกะคลื่นย่อยในคลื่นใหญ่
  • นับคลื่นใน T/F M1 ได้ 5 cycle
  • นับคลื่นใน T/F M5 ได้ 2 cycle
  • นับคลื่นใน T/F M15 ได้ 1 cycle 




วันพฤหัสบดี, มีนาคม 11, 2564

ออกแบบระบบเทรดให้มีประสิทธิภาพ

 ระบบเทรดในมุมของพรานล่าหุ้น คือ

การเอา indicator มาช่วยอ่านจังหวะในการเคลื่อนที่ของกราฟ เพราะ indicator นั้นจะเคลื่อนที่ตามกราฟ โดยที่ไม่ผิดทางเลย ถ้าเราสามารถเทรดตามจังหวะของ indicator ไปพร้อมกับกราฟได้จะทำให้โอกาสทำกำไรมากขึ้น และโอกาสผิดทางน้อยลงทันที 

ปัญหาของ indicator คือ 

การเคลื่อนที่จะช้ากว่ากราฟเพราะต้องเอาราคาปิดของกราฟมาพล็อตเพื่อแสดงผลออกมาทำให้เกิดสัญญาณซื้อที่ช้ากว่ากราฟ ทำให้จุดซื้อไม่ได้เปรียบ และอาจจะทนแรงเหวี่ยงของกราฟไม่ไหวเพราะต้นทุนที่ถือตาม indicator นั้นเป็นจุดเข้าที่เกิดหลังจากมีสัญญาณเปลี่ยนเทรนมาแล้วสักพักหนึ่งเลย

ตัวอย่างจุดเข้าจาก indicator เส้นค่าเฉลี่ย ที่สูงจากจุดกลับตัวประมาณ 10-15%

ระบบเทรดที่ดี

ในมุมของพรานล่าหุ้น ควรที่จะสามารถกรอง pattern ของกราฟจากหลายๆ pattren ได้ด้วยระบบเทรดระบบเดียวไม่อย่างงั้นเราต้องออกระบบเทรดหลายระบบมารองรับกับ pattern ของกราฟทำให้เกิดความยาก เพราะต้องจดจำระบบเทรดจำนวนมากมาใช้กับกราฟแต่ละ paternt

ระบบเทรดที่มีประสิทธิภาพ ในมุมพรานล่าหุ้น

  • ควรออกแบบครั้งเดียวแล้วใช้ได้กับกรฟาหลายๆ pattern
  • ไม่ควรยุ่งยาก ในการต้องจดจำระบบเทรดเยอะๆ แล้วนำมาใช้กับกราฟแต่ละรูปแบบ
  • ควรมองหาจุดแนวร่วม หรือ จุดเปลี่ยนเทรน แล้วใช้แนวร่วมนั้นมาออกแบบระบบ เพราะจะทำให้ออกแบบระบบเทรดครั้งเดียวแล้วนำมาใช้เทรดกับกราฟหลาย pattern ได้
  • ระบบเทรดควรจะออกแบบให้กินคำใหญ่ไว้กอ่น เมื่อโอกาสมาถึง และ กินคำเล็กก็ได้ถ้ากราฟ sideway
  • เมื่อออกแบบระบเทรดที่เอามากรอง pattern ทั้งหมด 100% ระบบควรที่จะกรอง pattern ได้เกินครึ่งของ pattern ที่เกิดขึ้นในกราฟทั้งหมด 
  • เมื่อออกแบบระบบได้แล้ว ก็ควรทำตามระบบด้วยวินัยอย่างเคร่งครัด เพราะถ้าออกแบบระบบมาดีแล้ว สิ่งต่อไปก็คือ ปฎิบัติตาม เพื่อวัดผลจากการซื้อขายจริงว่าระบบ มีเปอร์เซ็นต์แม่นยำในการซื้อขายเท่าไร และเป็นระบบที่ดีไหม ที่จะเอามาดเทรดในทุกสภาวะของตลาด จะแก้ไข แก้ที่ระบบอย่าไปแก้ตอนเทรดหน้างานไม่งั้นระบบที่ออกแบบมาจะทำงานไม่ได้ผลเลย

 





วันจันทร์, มีนาคม 01, 2564

มุมคิดพรานล่าหุ้น การเทรด

 การที่จะประสบความสพเร็จ ในการเทรดนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง

คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในตลาด เพราะว่ามีความอยากนำทางเข้ามา 

  • อยากมีอิสระภาพ ทางการเงิน เพราะเห็นคนอื่น มีอิสระภาพทางการเงินจากหุ้น
  • อยากรวย เพราะเห็นคนอื่นรวย
  • อยากสบาย เพราะเห็นเทรดเดอร์หลายคนไม่ต้องไปทำงาน อยู่ที่บ้าน
  • อยากรวยเร็ว เพราะเห็นคนอื่นเทรดได้เงินเกือบทุกวัน
  • ไม่อยากทำงาน เพราะเบื่อสังคมทีตื่นแต่เช้า และกลับเย็นไม่มีเวลลาเป็นของตัวเอง
หลายๆความคิดเหล่านี้ ทำให้พนักงานหลายคน หรือ คนที่ เห็นตัวอย่างของคนที่สำเร็จจากตลาดหุ้น ก็อยากเรียนแบบ และ มองว่าการทำเงินจากตลาดน่าจะเป็นอาชีพที่ตอบโจทยฺขงอตัวเองได้ ก็เลยหันมาเอาดีกับการหาเงินจากตลาดหุ้น

ความจริงที่เกิดขึ้นจากตลาด

  • สามารถทำเป็นอาชีพได้ แน่นอนเพราะหลายคนสามาถทำเงินจากตลาดได้
  • แต่ทำไม คนที่ปนะสบคงามสำเร็จที่เห็น น้อยมาก
  • ทำไม คนที่สำเร็จใช้เวลาหลายปี ในการสร้างผลตอบแทน ไม่ใช่ ข้ามคืนเหมือนที่เข้าใจ
  • ต้องมีองค์ความรู้หลายด้านที่ ไม่เคยเรียนมาก่อน
  • ต้องรู้จัก บริหารอารมณ์ของตัวเองไม่งั้น จะเป้นเทรดเดอร์ที่เทรดตามอารมณืซึ่งใช้ไม่ได้กับตลาด เพราะตลาดไม่เคยทำตามสั่งใคร
  • เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ จะมีไสต์การเทรดของตัวเองที่ชัดเจน ไม่ลอกใคร
  • ต้องทำงานหนัก มากว่าพนักงานประจำเสียอีก
  • ไม่ต้องไปทำงานเช้า สแกนเวลา และกลับบ้านตอนเย็น แต่เวลาทำงานของเหล่าเทรด์เดอร์ คือ เกือบ 24 ชั่วโมง 
  • มีความเครียด เพราะเป้นการเอาเงินมาต่อเงิน ด้วยองค์ความรู้ที่มี 
ฉะนั้นในมุมของพรานล่าหุ้น มองว่าการเทรด ไม่ง่ายเลย และ ถ้าอยากจะอยู่รอด ก็ต้อง ศึกษาเหมือนตอนที่เราเรียนตั้งเด็กจนโต แต่การเทรด อาจจะเป็นวิชา เฉพาะจึงอาจจะศึกษาแค่เรื่องเดียว และใช้เวลาไม่นานเหมือนกับการเรียนที่ โรงเรียนที่ต้องใช้เวลาเรียน นานมาก 

พรานล่าหุ้นจะขอ พูดเปรียบเทียบ อาชีพ เทรดเดอร์ กับ อาชีพ นายพราน ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อาชีพ นายพราน
  1. มีอาจารย์ผู้ที่คอยถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ หรือ ไม่งั้นก็ต้องฝึกเองนานหลายปี
  2. ต้องเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆของการล่า ที่ประสบความสำเร็จ
  3. ต้องมี ทักษะ ในการล่าขั้นสูง และมีความชำนาญ อย่างมาก
  4. มีอาวุธ คู่กายเอาไว้ใช้ล่สัตว์
  5. มีไสต์การล่า เป็นแบบฉบับของตน ที่ใครเรียนแบบได้ยาก 
  6. ใช้ความ พยายาม อดทน ขยัน เรียนรู้ วิชา นายพราน 
อาชีพ เทรดเดอร์
  1. ช่วงแรก ควรจะมีผู้แนะการลงทุนก่อน หรือ ไม่งั้น ก็หาความรู้จากหนังสือก่อน
  2. ต้องมีองค์ความรู้หลายแขนง เอาไว้ในการเทรด  
  3. ต้องมีทักษะ และ ความชำนาญในการอ่านกราฟ เป็นอย่างดี
  4. ต้องมี อาวุธ ในการเทรด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมืออะไรก็ตามที่ทำให้เรา อ่านกราฟได้ ง่าย ขึ้น แม่น ขึ้น
  5. ต้องพัฒนา ระบบเทรดของตัวเองขึ้นมาใช้งาน 
  6.  ใช้ความ พยายาม อดทน ขยัน เรียนรู้
จะเห็นว่าหลักการของ 2 อาชีพไม่ต่างกัน เพราะมัน คือ อาชีพ

'' อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป ''

ฉะนั้นการที่หลายคนต้องการเข้ามาที่ตลาดเพื่อ ที่จะแลกเปลี่ยนเอาตัวเงินออกไป ต้องถามกลับไปว่า แล้วเทรดเดอร์ที่เขา ประสบความสำเร็จมาก่อนเรา เขาใช้เวลานานเท่าไร และต้องศึกษาองค์ความรู้อะไรบ้างในการเทรด แต่ละครั้ง ต้องทุ่มเทแค่ไหน เหล่านี้ คือ พื้นฐานของเหล่าเทรดเดอรืที่ประสบความสำเร็จ

ถ้าอยากจะประสบความสำเร็จ เหมือน ที่เห็นในข่าว รายการทีวี หรือ internet ก็ต้องเรียนรู้พื้นฐานเหล่านี้ก่อน เมื่อเรียนรู้แล้ว ก็เอาความรู้เหล่านี้ไปสร้างเป็นระบบเทรดของตัวเอง เพื่อเอาใช้ในการหาเงินในตลาดต่อไป