การทำลายขาลงเพื่อเปลี่ยนเป็นขาขึ้นในกราฟ จะเกิดขึ้นเสมอเมื่อกราฟลงมาที่แนวรับสำคัญๆ แต่จังหวะของการเปลี่ยนเทรนที่สำเร็จนั้น ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างเข้ามาเพื่อเปลี่ยเทรนที่ตำแหน่งของแนวรับ สำคัญ ไม่อย่างงั้นการเปลี่ยนเทรนจะเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นเพียงการเด้งขึ้นที่แนวรับ แล้วลงต่อเท่านั้น
เงื่อนไขของการทำลายกราฟขาลงที่มีโอกาส สำเร็จ
- เกิดที่ตำแหน่งแนวรับที่ลงครบ cycle แล้วใน T/F ใหญ่ระดับ H1
- เริ่มเห็นแรงขายหมดแรงลงที่ตำแหน่งนี้
- แรงซื้อเริ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง กราฟเริ่มสร้างฐานของเทรนขาขึ้นได้ สำเร็จ
- เกิดการส่งต่อการเปลี่ยนเทรนจาก T/F เล็กไปสู่ T/F ใหญ่ไม่เกิดการขัดแย้งกัน
- เทรนหลักระดับกราฟ day ขึ้นไปยังเป็นขาขึ้นอยู่ ยังไม่เปลี่ยนเป็นเทรนขาลง
กราฟ 1 นาที
- เป็นจังหวะที่ กราฟ 15 นาทีลงมาที่ตำแหน่งของการ mark low เรียบร้อยแล้ว
- ที่แนวรับของกราฟ 15 นาที เริ่มเห็นแรงซื้อกลับมาที่ตำแหน่งแนวรับนี้
- ในกราฟ 1 นาทีเริ่มเห็นการยืดขาลงไ้ดสั้นลงเรื่อยๆ มีแรงซื้อเข้ามาสู่ตลอดที่แนวรับนี้
- ที่ตำแหน่งของรับในกราฟ 15 นาที กราฟ 1 นาทีเริ่มเห็นกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง
- เริ่มเห็นการขึ้นลงของกราฟ แคบลงและเล็กลงเรื่อยๆ
- จนสุดท้ายในกราฟ 1 นาทีเกิดการทำ double bottom แล้วยก low ขึ้นเพื่อเปลี่ยนเทรนได้สำเร็จ
- นับ cycle ขาลงที่ตำแหน่งของแนวรับเป็น 3 เด้ง 4 แล้วลง 5 ไม่หลุดแนวรับ
- เมื่อจบ cycle 5 คลื่นในกราฟ 5 นาทีแล้วกราฟไม่หลุดแนวรับลงไป กราฟก็จะเริ่มเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นทีแนวรับนี้
- จะเห็นกรอบบีบตัว คือ กราฟไหลลงไปเรื่อยๆ จนชนแนวรับแล้ว swing ขึ้นลงในกรอบ
- เมื่อแรงซื้อเข้ามาดันราคากราฟ ขึ้นทะลุแนวต้านได้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนเทรนขึ้น
- นับคลื่นใหญ่ จะลงครบที่ตำแหน่งแนวรับที่ทำการ mark low เสร็จแล้ว
- เมื่อลงครบคลื่นแล้ว ก็จะเกิดการเด้งขึ้นจาก deamnd ที่ตำแหน่งแนวรับนี้
- ถ้ากราฟสามารถ ทำลายแนวต้านได้ และวิ่งขึ้นมายืนทำคลื่น 2 ได้กราฟก็จะเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นต่อไปได้
กราฟ xau/usd 3 T/F 1,5,15 นาที |
ตัวอย่างกราฟ TFEX 3 T/F จังหวะลงมาที่แนวรับแล้วเกิดการทำลายเทรนขาลงเพื่อเปลี่ยนเทรน
กราฟ 1 นาที
- ช่วงที 1 กราฟลงมาที่แนวรับของ T/F 15 นาทีแล้วหยุดลง
- ช่วงที่ 2 กราฟเด้งขึ้นจากแนว demand ของ T/F 15 นาที
- ช่วงที่ 3 กราฟยืนบรแนวรับได้ แล้วเกิดกรอบบีบตัวเพื่อเลือกทาง
- ช่วงที่ 4 กราฟเลือกทางขึ้นทะลุแนวต้านเปลี่ยนเทรนเป็นขึ้น
- เกิดการ mark low เพื่อหยุดลงแล้วเด้งขึ้น
- เมื่อเด้งขึ้นชนแนวต้านมีแรงขายออกมาลงมาที่แนวรับ แต่ไม่สามารถทะลุผ่านลงไปได้
- ที่แนวรับเกิดการเด้งขึ้นจากแรงซื้อ และ วิ่งขึ้นทะลุแนวต้านแล้วยืนบนแนวต้านได้
- เป็นจังหวะของการเปลี่ยนเทรน เพื่อที่จะขึ้นไปชนแนวต้านด้านบน
- เมื่อชนแนว supply แล้วมีแรงขายออกมาแต่กราฟลงมาไม่หลุดแนวรับที่ยก low ขึ้น จะเป็นจุดเปลี่ยนเทรนของ dow ขาขึ้นครั้งแรกในกราฟ 5 นาทื
กราฟ 15 นาที
- เกิดการทำคลื่น 1 ย่อ 2 ในกรอบแนวรับแล้วยืดคลื่น 3 เพื่อเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นต่อไป
กราฟ TFEX 3 T/F 1,5,15 นาที |
ตัวอย่างกราฟ TFEX 3 T/F
- จังหวะของการออกข้างเพื่อทำลายกราฟขาลง แล้วกลับเปลี่ยนเทรนเป็น ขาขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น