การที่กราฟจะขึ้น หรือ ลงมันต้องมีปัจจัยอะไร ที่เข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง เราเคยสงสัยบ้างไหม
เท่าที่พรานล่าหุ้น พอจะเห็น พอจะรู้ คือ
- ใน T/F เล็กเกิดคลื่นที่เป็น cycle มาแล้ว หลาย cycle วิ่งขึ้นลงในกรอบของแนวรับและแนวต้าน
- เมื่อแรงฝั่งหนึ่ง เริ่มมีแรงมากกว่าอีกฝั่ง ก็จะเริ่มเห็นการสร้าง pattern ของการขึ้น หรือ ลง
- กราฟจะเริ่มขยับ ไปที่แนวรับ หรือ แนวต้าน ที่มีแรงมากกว่ามากระทำ เพื่อที่จะวิ่งทะลุเพื่อเปลี่ยนเทรน
- เมื่อถึงจุด ที่แรงซื้อ หรือ แรงขาย เริ่มอ่อนแรงกว่าอีกฝั่ง ก็จะเกิด pattern ที่เรามองออกว่าจะขึ้น หรือ ลง พรานล่าหุ้น เรียกว่า จุดเปลี่ยนเทรนของการ ขึ้น หรือ ลง
- จะเริ่มเห็นการ dow ขาขึ้น หรือ ขาลง ไปเรื่อยๆ ที่ตำแหน่งแนวรับ หรือ แนวต้านถัดไป
พฤติกรรมของกราฟขาลง
1. หยุดการขึ้น
- จะเกิดแรงขายที่ตำแหน่งของแนวต้าน ที่มี supply จำนวนมากไม่ยอมให้ผ่านแนวต้านนี้ไปได้ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวต้านของ T/F ใหญ่ระดับ day ขึ้นไปจะเห็นพฤติกรรมได้ง่าย
- เกิดการทำคลื่น 1 ย่อ 2 แต่เป็นในทางขึ้น ที่ขึ้นติดแนวต้านแล้วไปต่อไม่ได้ สุดท้ายกลับเป็นขาลง โดยการสร้าง คลื่น 2 ของขาลง
3. แรงขายเริ่มมากกว่าแรงซื้อ
- เกิดการยืดขาลงออกไปที่แนวรับถัดไป ถ้าแรงขายในช่วงนี้มีจำนวนมากขึ้น เพราะเป็นช่วงที่แรงขายกดทะลุแนวรับลงไปได้ ก็จะมีแรงเทขายจำวนมากออกมา ทำให้กราฟลงไปทะลุแนวรับได้ 1-2 แนว
- กราฟจะลงมาชนแนวรับตามจุดสำคัญๆ ของกราฟ ที่พอจะมี demand ที่ทำให้กราฟ เด้งขึ้นได้
- ช่วงแรกจะมีแรงซื้อจากแนว deamnd เข้ามาทำให้กราฟเด้งขึ้น ไปชนแนวต้านด้านบน แล้วมีแรงขายออกมา เพื่อที่จะไม่ให้กราฟทะลุขึ้นไป
- ถ้าแรงซื้อและแรงขายพอๆ กันกราฟก็จะออกข้างนานหน่อย เกิดเป็น sideway ขนาดใหญ่
- ช่วงนี้จะเกิดหลังจากการเด้งขึ้นชนแนวต้าน และเกิดคลื่นมาแล้ว 2 ลูก
- กราฟจะเริ่มเลือกทาง ถ้าแรงขายมากกว่า กราฟก็จะเริ่ม ไหลลงมาที่แนวรับด้านล่าง
- เมื่อลงมาชนแนวรับ แล้วเจอแนว demand ใหม่ กราฟไม่สามารถทะลุแนวต้านก่อนหน้า แล้วขึ้นมายืนได้
- เมื่อกราฟสร้างคลื่น จากแนว demand จนครบคลื่นแล้ว ไม่สามารถยืดฝั่งขึ้นออกได้ ก็จะมีแรงออกมาเปลี่ยนเป็นขาลง ลงไปแนวรับถัดไป
ภาพลักษณะของขาลงจากกราฟ T/F day
กราฟขาลง T/F day |
ขยายคลื่นย่อย จากกราฟ 240 นาที หรือ T/F H4
หุ้น TQM
1. โซนที่ลงมาชนแนวรับของ T/F ใหญ่ แล้วหยุดลง
- กราฟจะเป็นขาลงมาที่แนวรับสำคัญของ T/F แล้วมีแรงซื้อที่ตำแหน่งนี้ จำนวนมากจนกราฟเปลี่ยนจากขาลง เป็นหยุดลง อาจจะเห็นแรงซื้อจนเกิดแท่งเทียน สีเขียว หางยาวขึ้นที่ตำแหน่งแนวรับนั้นๆ
- เมื่อกราฟลงมาชนแนวรับของ T/F ใหญ่ แล้วเด้งขึ้นไปชนแนวต้านเกิดการทำ คลื่นขาขึ้น แต่ยังไม่สามารถผ่านแนวต้านของ T/F ใหญ่ได้ กลับตัวลงมาที่แนวรับอีกครั้ง แล้วไม่ลงต่อ อาจจะเห็นการทำกราฟรูปแบบ duble bottom แล้วกราฟจะเข้าสู่กระบวนการ sub แรงขายและหยุดลงชั่วคร่าว
- โซนนี้จะเกิดหลังจากที่กราฟเด้งขึ้นจากแนวรับสำคัญไปแล้ว ชนแนวต้านแล้วมีแรงขายออกมา กลับเป็นขาลงมาที่แนวรับอีกครั้ง
- แรงซื้อและแรงขายก็จะสู้กันเพื่อสร้างเทรนของตัวเอง ถ้าแรงซื้อมากกว่ากราฟก็จะค่อยๆขยับขึ้น คือ กราฟก็จะวิ่งขึ้นชนแนวต้านแล้วมีแรงขายออกมา กราฟลงที่แนวรับ และก็มีแรงซื้อดันราคาขึ้นไปอีกเป็นครั้งที่ 2 จะไม่เห็นแรงขาย ดันราคาลงที่แนวรับนี้
- กราฟจะเริ่มยก low ยก high ใหม่ขึ้นไปที่แนวต้านด้านบน
- เกิดการบีบตัวระหว่างแนวรับ และ แนวต้านเพื่อเลือกทาง ที่แนวต้านด้านบน
- กราฟ ยืนบนแนวรับที่ยก low ขึ้นได้ และพยายามบีบตัวขึ้นไปเพื่อที่จะทะลุแนวต้านถัดไป
หุ้น COM7 คลื่น 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น