หน้าเว็บ

วันอาทิตย์, มีนาคม 10, 2562

ศึกษาธรรมชาติของกราฟ

กราฟโดยทั่วไปก็จะเคลื่อนที่ขึ้นลงเป็นวัฏจักร เหมือนอย่างที่เรารู้ๆกันจากบทความทั่วไปที่เขียนเกี่ยว technical ก็จะพูดเกี่ยว ลักษณะของกราฟซึ่งเป็นพื้นฐานของ วิชา technical เลย

รูปแบบการเคลื่อนที่ของกราฟ


รูปแบบของกราฟ แบบต่างๆ


เมื่อรู้แล้วว่ากราฟมีลักษณะการเคลื่อนที่เป็น วัฎจักรตามรูป ต่อไปสิ่งที่ต้องทำก็ คือ การออกแบบระบบเทรดตาม จุดของกราฟขึ้นและลง

ต่อมาทำความเข้าใจเรื่องของคลื่นใน สภาวะต่างๆ มีด้วยกัน 3 สภาวะ คือ

  1. สภาวะ side way
  2. สภาวะเทรนขาขึ้น ( up trend )
  3. สภาวะเทรนขาลง ( down trend )
ทำการแแยกเทรนจาก t/f ใหญ่ระดับ month และ week ออกมาซะก่อนว่ากราฟที่กำลังวิเคราะห์อยู่ อยู่ในช่วงสภาวะอะไร เพื่อที่จะได้รู้ว่าคลื่นที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะจะมีลักษณะการเกิดเป็นอย่างไร วิ่งขึ้นแรง ลงไม่แรง หรือ ลงแรง เด้งขึ้น น้อย หรือ สรา้งคลื่นแบบสั้นๆ ออกกข้างไปเรื่อยๆ วิ่งอยู่ในกรอบ จนกว่าจะเลือกข้าง

cycle


up trend



down trend
                                                  รูปภาพจาก web https://forexnew.org

ต่อมาเมื่อแยกเทรนจาก t/f .ใหญ่ออกมาได้แล้ว ก็เข้าไปดูการสรา้งคลื่นภายใน t/f ที่เล็กกว่าว่าในสภาวะของเทรนต่างๆการสรา้งคลื่นในมุมของ Elliott wave มีลักษณยอย่างไรบ้างเพื่อ หาจุดเทรดตามคลื่นที่เกิดขึ้น

คลื่นที่เกิดในเทรนแต่ละเทรนก็จะแยกออกมาได้ 3 รูปแบบ
  1. ภาวะ side way
  • จะเห็นการสร้างคลื่นที่เป็นแบบ flat ก็ คือ ระยะทางของการสร้างขาละขาลงจะเท่ากัน ละเกิดคลื่นเพียง 3-4-5 เท่านั้นไม่ค่อยเห็น คลื่น 1-2 เพราะเป็นช่วง sw การสร้างคลื่น จะสั้นขึ้นละลงจะเท่ากัน แต่จะเกิด หลายลูกเพราะเป็นช่วงที่แรงซื้อละแรงขายเท่ากัน ฉะนั้น ทั้ง 2 ฝั้งก็จะสร้างคลื่นออกมาเมื่อขึ้นไปชนแนวต้านก้มีแรงขายออกมากลายเป็นขาลง แต่เมื่อราคาลงมาชนแนวรับก็จะมีรงซื้อกลับเช่นกัน สลับกันไป จึงเห็นคลื่นที่ถูกสร้างในช่วงนี้ที่เรียกว่า flat การสรา้งคลื่นขาขึ้นและขาลงจะเท่ากัน

      2.ภาวะที่เป็นเทรนขาลง ( down trend )
  • ในเทรนขาลงจะมีแรงขายมากกว่าแรงซื้อ ฉะนั้นจะเห็นการสร้างคลื่นขาขึ้นสั้นๆ ติดแนวต้านก็จะมีแรงขายออกมาแล้วเกิดขาลงยาวกว่าเสมอ ฉะนั้นจะสรุปได้ว่าเมื่อคลื่นเกิดในเทรนขาลง คลื่นฝั่งลงจะถูกขยายให้ยาวกว่าคลื่นฝั่งขึ้นนั้นเอง จึงเห็นคลื่นใน down trend ฝั่งลงจะยาวกว่าฝั่งขึ้นเสมอ

     3.ภาวะ ที่เป็นเทรนขาขึ้น ( up trend ) 
  • ในเทรนขาขึ้น ก็จเห็นการสร้างคลื่นขาขึ้นยาวกว่าขาลง คือ จะมีแรงซื้อมากกว่าแรงขาย คลื่นฝั่งขึ้นจึงวิ่งได้ยาวกว่าฝั่งลง ตามรูปเมื่อลงมาชนแนวรับก็จะย่อไมลึกแล้ววิ่งขึ้นต่อเลย จะตรงข้ามกับเทรนขาลง


คลื่นทีเกิดในเทรนแต่ละแบบ ขึ้น, ลง, sw


ต่อมาต้องมาเข้าใจเรื่อง Time frame ซะก่อนถึงจะหาจุดเข้าสถานะที่ถูกต้องได้ และเรื่องของคลื่นในมุมของ elliott wave

ตัวอย่าง กราฟ XAUUSD

คลื่นใน t/f month
นับเป็นคลื่น 3 ในมุม elliott wave ใน t/f month
และภาพโดยรวม กำลังทำคลื่น 1 ย่อคลื่น 2 อยู่เมื่อรู้ว่า คลื่นใน t/f month ทำขา 3 อยู่ต่อไปต้องย่อ ขา 4 แล้วขึ้นขา 5   แต่ช่วงย่อขา 2 อาจจะทำคลื่นไม่ครบชนแนวต้านแล้วอาจจะลงเลยก็ได้ เพราะยังไม่ใช่ช่วงที่จะวิง่เป็นเทรนขึ้นไป เพราะยังอยู่ในช่วงของการ  sub แรงอยู่ยังวิ่งขึ้นเป้นเทรนไม่ได้

ต่อไป เอาภาพกราฟ week มาขยายดูคลื่นภายในว่าตอนนี้ คลื่นในกราฟ week ขึ้นครบคลื่นรึยัง หรือ อยู่ในช่วงคลื่นอะไร อยู่


คลื่นภานใน t/f week



เอากราฟ Week มานับคลื่นเทียบ Month

คลื่นภายในของกราฟ week
นับได้ 5 คลื่นแล้วฉะนั้นต้องย่อ ทำ abc ที่นี้ก็มาดูต่อทิศทางที่เป็นไปได้ของกราฟ week ที่เป็นไปได้มีกี่แบบ ซึ่งรูปแบบที่เป็นไปได้มี 2 แบบ คือ

  1. ลงทำ abc ติดแนวรับ 1276 แล้วกลับตัวขึ้นเพื่อทำคลื่น 4 แล้ว sub แรงขายเพื่อทำคลื่น 5 ต่อ
  2. ลงทำ abc และทำขา c ยาวลงไปที่แนวรับ 1222 กลายเป็น กราฟเคลื่อนที่อยู่ในกรอบยังไม่สามารถเคลื่อนขึ้นเป้นเทรนได้
คาดการณ์ 2 ทางเลือกที่เป็นไปได้
เมื่อได้ทิศทางที่เป็นไปได้ต่อไปก็คือ เฝ้าและดูการเคลื่อนที่ของราคา ว่ากราฟเลือกไปทางไหร เมื่อเห็นว่ากราฟที่เป็น แบบที่ 1 หรือ แบบที่ 2 แล้วต่อไปก็หาจุดเข้าสถานะเพื่อทำกำไรตามคลื่นที่เกิดขึ้น

ลำดับต่อไป ก็เข้าไปดูใน t/f day 
เพื่อนับคลื่น ว่าตอนนี้ t/f day อยู่ในช่วงของคลื่นอะไร

คลื่นที่นับใน t/f day
ซึ่งใน t/f day นับคลื่นที่กำลังทำอยู่ในช่วงของคลื่น 5 ขาลงซึ่งถ้าเป็นคลื่น ก็แสดงว่าใกล้จุดกลับตัวแล้วก็เข้าไปดูว่าแนวรับ ที่มี demand มากๆเพียงพอที่จะกลับตัวได้อยู่ตรงไหน ซึ่งเมื่อเข้าไปหา แนว deamnd ที่จะสามารถกลับตัวได้อยู่ที่แนวรับ 1282 ก็เข้าไปดูคลื่นจากกราฟ H4 เพื่อดูว่าใน H4 ที่แนวรับ นี้มีพฤติกรรม ของการกลับตัวหรือไหม



กราฟนับคลื่นภายใน H4




ภาพที่เอา H4 มาดูช่วงแนวรับที่เป็นแนวกลับตัว
เมื่อนับคลื่นจาก H4 แล้วพบพฤติกรรมดังนี้
  • ลงมาครบคลื่นฝั่งลงแล้ว 
  • ติดแนวรับสำคัญที่มี deamnd เพียงพอที่สามารถจะกลับตัวได้
  • เกิด sw sub แรงขายที่แนวรับนี้
เหล่านี้คือ พฤติกรรมของกราฟที่กำลังจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ ไม่ลงต่อ

ลำดับขั้นตอนต่อไปก็เข้าไปดูที่ T/F H1 เพื่อดูการเคลื่อนตัวของ demand & supply ที่แนวรับว่าจะสามารถกลับตัวได้ไหม หรือจะลงต่อ เพราะลงครบคลื่นใน T/F H4 แล้วติดแนวรับสำคัญ


คลื่นและแนวรับที่เกิดการ sub แรงขาย
ใน T/F H1 นี้ก็จะเห็นการเคลื่อนที่ของกราฟชัดขึ้นเพราะจำนวนแท่งเทียนที่เรียงตัวกันมากขึ้นกว่า H4 และเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนขึ้น

ต่อไปก็เฝ้าดูแรงซื้อและแรงขายที่แนวรับนี้ว่าจะสามารถกลับตัวเด้งขึ้นจากแนวรับทีมี demand จำนวนมาก พฤติกรรมอของกราฟที่วิ่งขึ้นอยู่ในกรอบเป็นอย่างไร

ภาพขยายคลื่นใน H1
  

เมื่อหาแนวรับสำคัญที่มี demand เพียงพอที่จะกลับตัวได้แล้วเข้าไปดูแนวรับแนวต้านและแรงซื้อแรงขายผ่านกราฟ H1 ถ้ายังไม่ละเอียดพอก็เข้าไปที่ T/F ที่เล็กกว่าต่อ ในที่นี้พรานล่าหุ้นใช้ T/F 5 นาทีเป็น T/F ที่เล็กที่สุดที่เอาไว้ดูพฤติกรรมของแรงซื้อและแรงขายผ่านแนวรับและแนวต้านสำคัญ ว่าจะมีพฤติกรรม ลงต่อ หรือ sw sub แรงขายได้และสามารถเปลี่ยนเทรนได้


เฝ้าดูพฤติกรรมจากกราฟ 5 นาที

ขยายภาพ M5 เพื่อสังเกตุพฤติกรรมการกลับตัว

พฤติกรรมที่มีโอกาสกลับตัวได้สำเร็จ
  1. ลงมาครบคลื่นใน t/f day
  2. ติดแนวรับที่มี deamnd มากพอที่จะกลับตัวได้
  3. เกิดการเด้งขึ้นของราคาด้วย volume จำนวนมากและ การสรา้งคลื่นได้สูงขึ้นกว่าปกติ
  4. เกิดการ sub แรงขายจากแนว supply ลงมาที่แนวรับแล้วไม่หลุด low หรือ ยก low ขึ้น
  5. เห็นการบีบตัวของกรอบราคา แล้วแรงซื้อสามารถดันราคาทะลุกรอบขึ้นมาได้
  6. เห็นการ sub แรงขายจากแนวต้านที่มี supply แต่ลงมาติดแนวรับที่ยก low ขึ้นแล้วก็กลับตัวขึ้นต่อได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น