หน้าเว็บ

วันเสาร์, พฤษภาคม 29, 2564

ลักษณะกราฟที่ไม่ยอมลงและพุ่งขึ้นแบบ v shape เมื่อชนแนวรับ

 ถ้ากราฟยังไม่จบขาขึ้น แต่ถูกขายลงมาจนแนวรับ ถ้ากราฟจะขึ้นต่อ จะเห็นพฤติกรรมอย่างหนึ่ง คือ 

  • เมื่อลงมาชนแนวรับก่อนหน้า จะมีแรงซื้อเข้ามาจำนวนมาก
  • กราฟจะวิ่งขึ้นทะลุแนวต้านก่อนหน้าได้และยืนได้
  • volume ซื้อจะสูงมากและแท่งเทียนจะเกิดเป็นสีเขียว แท่งยาวและใหญ่
ถ้ากราฟชนแนวต้าน แล้วยังไม่จบรอบขาขึ้นแต่เจอแรงขายจนหลุดแนวรับสำคัญไป ถ้ากราฟจะขึ้นต่อจะเห็นพฤติกรรมด้านเมื่อกราฟลงมาชนแนวรับเพราะ กราฟจะเกิดการทำ dow ขาขึ้นที่แนวรับ  และจะมีแรงซื้อเข้ามาดันกราฟขึ้นทะลุแนวต้านแล้วยืนบนแนวรับที่หลุดลงไปได้ แล้วก็เปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นต่อได้

สามารถใช้ T/F เล็กขยายเพื่อดูแนวรับแนวต้าน และลักษณะการวิ่งขึ้น วิ่งลงผ่านแนวรับแนวต้าน และดูทิศทางในการเคลื่อนที่ของกราฟ เพราะถ้าดูกราฟผ่าน T/F ใหญ่การ swing ของกราฟจะทำให้ดุรายละเอียดได้ไม่ชัดเจน

ตัวอย่างที่ 1 กราฟทอง ( XAU/USD ) 3 T/F 

T/F M5 

  • จะเห็นคลื่นย่อย ทำ double bottom ที่แนวรับ
  • แล้ววิ่งขึ้นทะลุแนวต้านขึ้นไปแนวยืนได้
  • เมื่อยืนได้ก็วิ่งขึ้นต่อไปที่แนวต้านถัดไป
T/F M15 

  • เป็นตัวเชื่อมระหว่าง T/F M5 กับ H1 เกิดการตัดขึ้นเป็นสัญญาณซื้อตาม T/F  M5
T/F H1

  • ลงมาชนแนวรับที่ยังเป็นขาขึ้นอยู่
  • สามารถเด้งขึ้นกลับมายืนบนแนวรับที่หลุดลงมาก่อนหน้าได้
 



ตัวอย่างที่ 2 กราฟ ทอง ( xau/usd )
  • ขังหวะเด้งขึ้นเมื่อลงมาที่แนวรับของ T/F H1
  • ใน T/F M5 เกิด double bottom เป็นจังหวะของการกลับตัว
  • กราฟ T/F M15 confirm จงหวะกลับตัว




ตัวอย่างที่ 3 กราฟทอง ( xau/usd )
  • กราฟหลุดแนวรับลงมาที่แนวรับ ถัดไปแต่ยังไม่หลุดแนวรับที่เป้นขาลง
  • พอถึงแนวรับของ T/F H1 ก้เด้งขึ้นกลับอย่างรวดเเร็วกลับขึ้นไปยืนบนแนวรับที่หลุดลงมาได้
  • T/F M15 ก็ confirm จังหวะการเด้งขึ้นระหว่าง T/F M5 กับ H1   



ตัวอย่างที่ 4 กราฟ TFEX 

  • T/F M15 กราฟลงมาที่แนวรับก่อนหน้าที่ยังเป็นเทรนขาขึ้นอยู่
  • T/F M5 พอกราฟลงมาที่แนวรับ ก็มีแรงซื้อจำนวนมากกลับเข้ามาดันราคาขึ้นไปยืนบนแนวรับ ที่หลุดลงมาได้ และเป็นจังหวะของการเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นต่อ
  • T/F M1 เอาไว้ดูรายละเอียดของ cycle ที่เกิดขึ้น และจุดตัดของ indicator เพื่อเอาไว้ confirm  ทิศทางการเคลื่อนที่ของกราฟ




วันศุกร์, พฤษภาคม 28, 2564

ความสัมพันธ์ ระหว่าง set index กับ ตัวหุ้น

 ความสัมพันธ์ของกราฟ set กับ ตัวหุ้น ถ้าสามารถหาได้ก็จะทำให้รู้ว่า ในเวลา set กำลังเปลี่ยนเทรน ก็จะทำให้เทรดเดอร์เตรียมตัวหาหุ้นมาเทรดได้ทัน 

เปรียบเสมือนว่า set index เป็นประตูเมื่อประตูเปิด ก็จะมี flow ไหลเข้าไปในหุ้น ฉะนั้นถ้าวันไหนมี flow ผ่านเข้ามาจำนวนมาก หุ้นซึ่งเป็นปลายทางของ flow เหล่านั้นก็ขึ้นได้ดีตาม flow ที่ไหลผ่าน set เข้ามา





แต่อาจจะมีหุ้นบ่างกลุ่มบ้างประเภท การขึ้น หรือ ลงจะไม่ได้อิงกับ flow เข้าออก set อันนี้พรานล่าหุ้นจะขอไม่พูดถึง เพราะหุ้นเหล่านี้จะคาดเดาทิศทางราคายากขึ้นเพราะไม่มีอะไรอ้างอิง

ตัวอย่างรูป set index ดูที่ T/F H1 จะเกิด cycle ของขาขึ้น 2 cycle 

Cycle ที่ 1

  • ช่วงแรกจะมีแรงขายออกมาในกราฟ H1 และกราฟไหลลงไปชนแนวรับด้านล่าง 
  • พอชนแนวรับ มีแรงซื้อกลับมาดันกราฟขึ้นไป ชนแนวต้านด้านบนแล้วย่อตัวลงแต่ลงไปไม่ถึงแนวรับก่อนหน้า
  • เริ่มมีแรงซื้อกลับที่แนวรับที่ยกตัวขึ้นจาก เพื่อที่จะทำการ mark low เพื่อที่จะสร้างจุดกลับตัว
  • เมื่อสร้างจุดกลับตัวเสร็จแล้ว กราฟก็สร้างฐานของขาขึ้นด้วยการทำ ยก low ขึ้นเพื่อที่จะเปลี่ยนเทรนนั้นคือ การทำ dow theory 
  • เมื่อสร้างฐานของ dow theory ก็จะเริ่มยืดกราฟออกไปที่แนวต้านถัดไป 
Cycle ที่ 2 ก็จะทำลักษณะเดียวกับ cycle แรกเพียงยก low ขึ้นไปทำ cycle ด้านบน

กราฟ tfex 3 T/F M1,M5,H1



ต่อมาดูว่าเมื่อ set เริ่มกลับเป็นขาขึ้นแล้ว flow จะไหลเข้าไปที่หุ้นกลุ่มไหนบ้าง
ตัวอย่างกราฟ หุ้น BGRIM 

Cycle ที่ 1
  • ลักษณะจะเหมือนกับ กราฟ set เพราะใน T/F H1 จะเห็นว่มีแรงขายออกมากราฟเปลี่ยนเป็นขาลง
  • เมื่อลงมาชนแนวรับ ก็มีแรงซื้อซึ่งเป็นลักษระเดียวกับ กราฟ set 
  • หลังจากขึ้นมาแล้วก็ sub แรงขายลงมาที่แนวรับอีกครั้ง แต่ไม่หลุด แล้วมีแรงซื้อเป็นครั้งที่ 2 ที่แนวรับนี้
  • กราฟิวิ่งอยู่ในกรอบ บีบตัวแล้ววิ่งขึ้นทะลุแนวต้านขึ้นชนแนว้ตานถัดไปได้ แล้ก็พักตัวลงมาที่แนวรับก่อนหน้าแต่ลงไม่ถึง low ก่อนหน้า
Cycle ที่ 2
  • มีแรงซื้อกลับเข้ามาที่แนวรับที่ยกตัวขึ้น แล้ววิ่งอยู่ในกรอบบีบตัว
  • หลังจากนั้นจะเห้นว่า set วิ่งขึ้นทะลุแนวต้านขึ้นไปเกิดเป็น cycle ที่ 2 
  • กราฟ BGRIM ก็วิ่งขึ้นทะลแนวต้านเปลี่ยนเป้นขาขึ้น ตาม set เหมือนกัน
  • บ่งบอกว่า เมื่อมี flow เข้ามาที่ set แล้วก็ flow บ้างส่วนไหลเข้ามาที่หุ้น BGRIM ด้วยเพราะลักษณะการเคลื่อนที่ของ กราฟ BGRIM เป็นไปตามกราฟ set index  

กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day


ตัวอย่างหุ้น  JMT ลักษณะเดียวกับ กราฟ set index 
  • เกิด 2 cycle ขึ้นตามแรงซื้อจาก set 

กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day


หุ้น SAWAD 
  • ก็เกิดกราฟ ที่เป็น pattern เดียวกับกราฟ set บ่งบอกว่ามี flow ไหลเข้ามาที่หุ้นตัวนี้ด้วย


กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day


กราฟหุ้น JMART 
  • ก็เกิดการกลับตัวที่แนวรับ และเกิดการเปลี่ยนเทรนตาม flow ที่ผ่านเข้ามาทาง set index 

กราฟ 4 T/F M15,H1,H4,Day






วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 27, 2564

ลำดับขั้นตอน ช่วงกราฟกลับตัว 4 step

 ลำดับของการกลับตัวที่ พรานล่าหุ้น ใช้เป็นสูตรหาจุดกลับตัว

  1. mark low เพื่อทำเป็นแนวรับ ของโซนกลับตัว
  2. หยุดลงด้วยการทำ double bottom ที่แนวรับของ T/F ใหญ่
  3. สร้างฐานเพื่อเปลี่ยนเทรน
  4. เปลี่ยนเทรนด้วย dow theory
 ตัวอย่างกราฟที่เกิด 4 ขั้นตอนในจังหวะกลับตัว


  1. mark ฐานราคาของกราฟเพื่อหาจุดกลับตัว ลักษณะในช่วงนี้
  • จะเห็นการลงมาชนแนวรับของ T/F ใหญ่ แล้วไม่ลงต่อ
  • เห็นการหยุดลงจากการเด้งขึ้นของกราฟ ที่มีแรงซื้อเข้ามา
  • เห็นการเด้งขึ้นไปชนแนวต้าน แล้วเปลี่ยนเป็นขาลงเมื่อลงมาที่แนวรับก่อนหน้า ก็จะไม่ลงต่อเปลี่ยนเป็นเด้งขึ้นแทน ซึ่งไม่ใช่พฟติกรรมแบบเดิมของกราฟขาลง
     ลักษณะของกราฟที่ทำการ mark ฐานเพื่อจะกลับตัว
       ตัวอย่างในกราฟรูปแรก จะเห็นกลับตัวตาม step ที่กล่าวมา คือ 
  • ลงมาที่แนวรับของ T/F ใหญ่แล้วหยุดลง
  • เกิด double bottom เพื่อหยุดลงที่แนวรับ และเริ่มเข้าสู่ step ถัดไป
  • เกิดการสร้างฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนเทรน คือ สร้างฐานของ dow ขาขึ้น
  • เมื่อสร้างฐานเสร็จก็จะเปลี่ยนเทรนโดยการวื่งขึ้นไปที่แนวต้านด้านบน เกิดเป็น cycle 

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15


   2. หยุดลงด้วยการทำ double bottom ที่แนวรับของ T/F ใหญ่
  • จะเห็นการทำ double bottom เพื่อบ่งบอกว่ากราฟหยุดลง ชั่วคร่าวแล้วกำลังจะเปลี่ยนเทรน
  • ลักษณะ คือ ลงมาชนแนวรับของ T/F H1 แล้วไม่ลงต่อ
  • เกิดแรงซื้อที่แนวรับนี้ แล้วกราฟเด้งขึ้นชนแนวต้านลงมาที่แนวรับ เกิดการสร้างฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนเทรน

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15

ภาพที่ 2.1 ไล่ขั้นตอนต่อไปเป็น step 
  • หลังจากที่กราฟสร้างเสร็จก็จะเปลี่ยนเทรน
  • โดยมีแรงซื้อเข้ามาที่แนวรับ ดันกราฟขึ้นไปที่แนวต้านเพื่อที่จะทะลุ เป็นขาขึ้น
  • เมื่อทะลุแนวต้านได้แล้วกราฟก็จะเคลื่อนที่ต่อไปที่แนวต้านถัดไป



  3. สร้างฐานเพื่อเปลี่ยนเทรนโดยจะเกิดหลังจากผ่านช่วงของการทำ double bottom มาแล้ว  
  • หลังจกาที่กราฟผ่านการทำ double bottom มาแล้วก็จะเกิการเด้งที่แนวรับเพื่อที่จะ sub แรงขายให้ลดลง
  • หลังจากนั้นก็จะวิ่งขึ้นไปชนแนวต้าน แล้วกราฟลงมาจากแรงขาย แต่กราฟติดแนวรับที่ยกตัวขึ้น เพื่อที่จะทำฐานของ dow ขาขึ้น
  • จากรูปแรก จะเห็นว่าเมื่อ กราฟผ่านช่วงเด้งเพื่อหยุดลงแล้วก็จะเป็นช่วง การทำ double bottom และ หลังจากผ่านช่วงนี้มาแล้วก็จะเห็นการสร้างฐานของ dow ขาขึ้นโดยยก low ขึ้นที่แนวรับ แล้วกราฟก็จะพยายามวิ่งขึ้นจากแนวรับนี้เพื่อเปลี่ยนเป็นขาขึ้นต่อไป 
ภาพ 3.1 ลำดับขั้นตอน 4 ขั้นตอนใน 1 cycle

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15

ภาพ 3.2 ลำดับขั้นตอน 4 ขั้นตอนใน 1 cycle

กราฟ 3 T/F M1,M5,M15

4. เปลี่ยนเทรนด้วย dow theory
    คือ การที่กราฟสร้างฐานในขั้นตอนที่ 3 เสร็จแล้วก็จะเริ่มขั้นตอนของการเปลี่ยนเทรนต่อ ด้วยการวิ่งขึ้นชนแนวต้านแล้วลงมาที่แนวรับก่อนหน้าที่ยกตัวขึ้น เกิดเป็นการทำ dow theory ของกราฟขาขึ้น

ภาพตัวอย่างกราฟที่ ยก low ขึ้นเกิดเป็นฐานของแนวรับ เมื่อกราฟวิ่งขึ้นไปชนแนวต้านด้านบน แล้วลงมาที่แนวรับที่เกิดเป็นลักษณะของ dow theory กราฟก็จะกลับตัวแล้วขึ้นไป

ภาพ T/F H4,H1,Day 

ภาพกราฟ ด้านขวาเป็น T/F H1 ทีเกิดการทำฐาน dow ขาขึ้นเสร็จแล้วเมื่อกราฟวิ่งขึ้นชนแนวต้านแล้ว มีแรงขายออกมากราฟเปลี่ยนเป็นขาลง เมื่อลงมาชนแนวรับที่ฐานของ dow ขาขึ้นนี้กราฟก็จะกลับตัวแล้วขึ้นต่อไปได้

ภาพ T/F M15,M5,H1



วันพุธ, พฤษภาคม 26, 2564

อ่าน cycle ในช่วง sideway ของกราฟขาขึ้น

 เมื่อเจอ sideway ลักษณะคือ กราฟ วิ่งขึ้นชนแนวต้าน แล้วมีแรงขายออกมาไม่ยอมให้ขึ้นต่อ กราฟกลับเป็นขาลง เมื่อลงมาที่แนวรับ ก็มีแรงซื้อที่แนวรับ วิ่งขึ้นที่แนวต้านใหม่อีกครั้ง และก็เกิดแรงขายที่แนวต้าน เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าแรงซื้อ หรือ แรงขาย ฝั่งใดๆฝั่งหนึ่งจะอ่อนแรงลง 

ลักษณะของกรอบ sideway ของกราฟขาขึ้น

เมื่อเจอกราฟวิ่งอยู่ในกรอบ sideway แล้วจะอ่านอย่างไงว่ากราฟจะขึ้นต่อ หรือ จบขึ้นแล้วกำลังจะเปลี่ยนเป็นลง วิธีสังเกตุการเคลื่อนที่ขจองกราฟ ในกรอบ sideway จะมีรูปแบบที่เห็นบ่อยๆ 2 แบบ คือ 

  1. ขึ้นมาด้วยแรงซื้อชนแนวต้านแล้วเปลี่ยนเป็นขาลง ลงมากลับตัวที่แนวรับแล้วขึ้นต่อ
  2. ขึ้นชนแนวต้านแล้วกราฟยืนได้ พยายามจะขึ้นต่อแต่ไม่ผ่าน จนหมดแรงและเปลี่ยนเป็นขาลง เมื่อลงมาที่แนวรับก็กลับตัวแล้วเปลี่ยนเป็นขาขึ้นต่อได้    
วิธีที่จะคาดการณ์ว่ากราฟจะขึ้นต่อ หรือ ลงให้มองหาองค์ประกอบดังนี้

  • คลื่นที่กราฟวิ่งขึ้นมาครบคลื่นรึยัง ถ้ายังกราฟก็ยังจะขึ้นต่อจน ถึงจุดเปลี่ยนเทรน
  • ใน T/F ใหญ่ยังขึ้นไม่ครบ cycle กราฟก็ยังจะขึ้นต่อได้เพื่อทำคลื่นฝั่งขึ้นให้ครบ
  • ลักษณะโครงสร้างของ pattern ภายในที่กราฟทำออกมา


แบบที่ 1 ชนแนวต้านเปลี่ยนเป็นขาลง กลับตัวที่แนวรับ แล้วเปลี่ยนเป็นขาขึ้นต่อ

  • แบ่งช่วงของ cycle ได้ 4 cycle


แบบที่ 2 ขึ้นชนแนวต้านยืนได้พยายามขึ้นต่อจนหมดแรง แล้วลงมาที่แนวรับกลับตัวแล้วเปลี่ยนเป็นขาขึ้น

  • เกิด cycle ในกรอบ sideway 7 cycle 



กราฟ ทอง ( xau/usd ) 
  • pattern ที่เกิดในรกอบ sideway แบบที่ 1 และ แบบที่ 2




กราฟ TFEX
  • Pattern ที่เกิดในกรอบ sideway ทั้ง แบบที่ 1 และ แบบที่ 2






วันอังคาร, พฤษภาคม 18, 2564

จุดกำเนิดของ Cycle เริ่มจาก T/F M1


จุดเริ่มต้นของกราฟจะเริ่มจาก T/F เล็กไป T/F ใหญ่เสมอ
กราฟจะเริ่มต้นเดินทางจากแนวรับใด แนวหนึ่ง ที่เกิดเป็น cycle แต่เป็น cycle ที่วิ่งในกรอบ หรือ ที่เรียกว่า flat คือ  คือ กราฟจะวิ่งขึ้นลงในกรอบแนวรับและแนวต้านนั้นๆ โดยที่ไม่ยืดออกไปฝั่งไหน แต่เมื่อมีแรงมา
กระทำมากพอ กราฟก็จะเกิดการเคลื่อนที่ออกนอกกรอบ ไปยังฝั่งใดฝั่งหนึ่ง เกิดเป็นการเคลื่อนที่ยืดตัวออกนอกกรอบ sideway ปกติเรียกว่าการเกิดเทรนขาขึ้น หรือ เทรนขาลงเคลื่อนที่ผ่านแนวรับ และ แนวต้านไปเรื่อยๆ จนหมดแรงและไปต่อไม่ไหว ก็จะจบการยืดเป็น cycle และพักตัวเพื่อทำการ สร้างฐานใหม่เก็บสะสมพลัง เพื่อที่จะวิ่งขึ้น หรือ ลงต่อไป เกิดเป็นวัฎจักร ของกราฟ 

รูปตัวอย่างกราฟที่เคลื่อนที่ในรกรอบ sideway จะเห็นเป็รูป Falt ขึ้นและลงเท่ากันไม่ยืดไปฝั่งไหนฝั่งหนึ่ง  

หลักการเกิด cycle และเกิดการยืดออกของ cycle
  • เกิดจากแรงซื้อ หรือ แรงขาย เข้ามากระทำกับกราฟ มากพอที่ยืดออกจากรอบที่เคบวิ่งอยู่
  • กราฟจะเคลื่อนที่จาก T/F M1 ออกไปเสมอ
  • เมื่อกราฟ M1 เคลื่อนที่ครบ cycle และมีแรงเข้ามากระทำ ก็จะเกิดการยืดออกจากรอบ
  • วิ่งผ่าน T/F M5 เกิดเป็น cyle ย่อยต่อจาก T/F M1
  • และก็จะยืดออกเป็น cycle ย่อยๆ ไปเรื่อยๆจาก M5 ไปสู่ T/F M15 
  • เมื่อ เคลื่อนที่ถึง T/F M15 แล้วพักฐานที่ T/F นี้ แต่แรงที่เข้ามากระทำยังมีอยู่ กราฟจะเคลื่อนที่ต่อยัง T/F H1 เห็นเป็น cycle ขนาดใหญ่ขึ้น
  • กราฟก็จะยืดออก ตามแรงที่เข้ามากระทำ ยืดออกเป็น cycle ไปตาม T/F ต่างๆจนถึง T/F Day, week และ month   


ตัวอย่างกราฟ TFEX S50M21

  • เกิดการเคลื่อนที่จากจุดกำเนิดเทรนใน T/F M1 ยืดออกเป็น cycle ขาลงไปสู่ T/F M15   


กราฟ 3 T/F M1,M5,M15


ตัวอย่าง กราฟ TFEX จุดกำเนิดเทรนขาขึ้น จาก T/F M1 ยืดไป  M5,M15 และ H1

กราฟ T/F M1,M5,H1


กราฟ T/F M1,M5,H1





วันอาทิตย์, พฤษภาคม 16, 2564

Pattern ของกราฟขาขึ้นในกรอบ sideway

Pattern ขาขึ้นในกรอบ sideway  คือ 

  • กราฟยังเป็นขาขึ้น แต่ติดแนวต้านสำคัญของ T/F ใหญ่ ที่มีแรงขายออกมาจำนวนมากทำให้กราฟขึ้นต่อไม่ได้
  • จะเห็นการ sub แรงขายก่อนที่จะขึ้นต่อ โดยการยก low ยก high ขึ้นไปที่แนวต้าน
  • แต่ถ้าขึ้นชนแนวต้านด้วยการทำคลื่น ครบแล้วไม่สามารถผ่านแนวต้านได้ ก็จะต้องมาสร้างฐานใหม่
  • จะเห็นการเคลื่อนที่ของกราฟเป็น cycle ประมาณ 3 cycle  

ตัวอย่างการขึ้นชนแนวต้าน เกิดเป็น cycle 3 cycle ที่แนวต้าน

ตัวอย่างกราฟทอง XAU/USD

T/F H1

  • ทำคลื่นฝั่งขึ้นครบ 5 คลื่นและชนแนวต้านพอดี ไม่สามารถยืนบนแนวรับก่อนหน้าได้
  • กราฟก็จะลงจากแรงขายที่ supply นี้ลงมาทำฐานใหม่ที่แนวรับด้านล่าง
  • เงื่อนไขของการลงมาสร้างฐาน ต้องยังอยู่ในเทรนขาขึ้นอยู่ คือ ต้องลงมาที่แนวรับก่อนหน้าที่ยังยก low อยู่
  • เมื่อสร้างฐานเสร็จแล้ว ก็จะขึ้นไปที่แนวต้านอีกครั้ง เพื่อที่พยายามจะทะลุให้ได้
T/F H4

  • เอาไว้ดูคลื่นย่อยประกอบกับ T/F H1
  • ดูในกรอบ sideway จะมีแรงขายออกมาที่แนวต้านไม่ยอมให้ขึ้น
  • เมื่อกราฟขึ้นไปชนแนวต้านแล้วยืนไม่ได้ก็จะต้องลงมาที่แนวรับด้านล่างใหม่
  • แต่ถ้ายังยืนบนแนวรับก่อนหน้าได้ กราฟก็ยังบ่งบอกอยู่ว่าัยงอยู่ในเทรนขาขึ้นอยู่
  • รอแรงซื้อเข้ามาดันกราฟให้ขึ้นไปใหม่เพื่อทะลุแนวต้านอีกครั้ง
T/F Day

  • จะเห็นกรอบ sideway และคลื่นใหญ่ทียังเป็นขาขึ้นอยู่
  • เมื่อเห็นภาพรวมใน day แล้วก็เข้าไปดูการสร้างคลื่นใน T/F ที่เล็กกว่าเพื่อดูทิศทางของกราฟว่าจะสร้างฐานของขาขึ้นต่อได้หรือไหม
  • ถ้ากราฟลงมาที่แนวรับก่อนหน้า แล้วยังไม่หลุด คลื่นยังไม่ครบรอดูการสร้างฐานว่าจะสามารถสร้างฐานของขาขึ้นต่อได้ไหม ถ้าสร้างได้กราฟก็จะขึ้นต่อไปที่แนวต้านอีกครั้ง

ตัวอย่างที่ 1

  • กราฟ H1 ดูรายละเอียดของคลื่นที่วิ่งขึ้นไปที่แนวต้าน
  • กราฟ H4 ดูกรอบแนวรับแนวต้านหลัก และ ทิศทางของกราฟในกรอบ sideway
  • กราฟ day เอาไว้ดูคลื่นใหญ่ ว่าครบรึยัง และแนวรับ แนวต้านหลักที่มีผลต่อกราฟ

กราฟ 3 T/F H1,H4,Day

ตัวอย่างที่ 2

  • T/F H1 กราฟขึ้นชนแนวต้านแล้วผ่านไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนเป็นขาลงมาที่แนวรับด้นล่างเพื่อ สร้างฐานของขาขึ้นใหม่ เมื่อสร้างเสร็จก็จะเปลี่ยนเป็นขาขึ้นใหม่จนแรงขายเริ่มอ่อนแรงลง
  • T/F H4 เอาไว้ดูการวิ่งขึ้นลงของกราฟในกรอบ sideway 
  • T/F Day เอาไว้นับคลื่นใหญ่และดูแนวรับแนวต้านหลัก

กราฟ 3 T/F H1,H4,Day

กราฟ TFEX กรอบ sideway ที่ยังเป็นขาขึ้นอยู่

ลักษณะของกราฟที่ยังเป็นขาขึ้นอยู่

T/F H1

  • จะเกิดการชนแนวต้าน 2 ครั้งเกิดคลื่น คลื่น 3 และ 5 เมื่อครบ 5 คลื่นแล้วผ่านไม่ได้กราฟก็จะเปลียนเป็นขาลงจากแรงขายที่แนวต้านนี้
  • แต่ถ้ากราฟลงมาที่แนวรับก่อนหน้าแล้วไม่หลุด และเริ่มสร้างฐานราคาหใหม่ เกิดการทำฐานของขาขึ้นใหม่ได้ กราฟก็จะเปลี่ยนเป็นขาขึ้นไปที่แนวต้านต่อได้
  • กราฟจะเริ่มบีบตัวขึ้นไปที่แนวต้าน และพยายามที่จะทะลุผ่านขึ้นไปให้ได้
T/F H4

  • จะเห็นกรอบ sideway และคลื่นที่ยังขึ้นไม่ครบ
  • เมื่อกราฟลงมาที่แนวรับก่อนหน้า แล้วสร้างขาขึ้นรอบใหม่ได้กราฟก็จะขึ้นต่อได้
T/F Day

  • เอาไว้ดูแนวรับแนวต้านหลัก และ การสร้างคลื่นว่าครบรึยัง

กราฟ 3 T/F H4,H1,Day

ตัวอย่างที่ 2  เป็นช่วง sideway ที่ขึ้นต่อในกราฟ H4 ในช่วงของ cycle ที่ 2 

กราฟ 3 T/F H4,H1,Day



วันเสาร์, พฤษภาคม 15, 2564

ลักษณะของกราฟขาขึ้น ตามทฤษฎี dow theory

ลักษณะของกราฟขาขึ้นตามแบบ dow theory

 เหล่าเทรดเดอร์คงเคยได้ยินคำว่า ยก low ยก hight แต่หลายคนก็ยังอาจจะไม่เห็นภาพว่าการยก low ยก hight ในกราฟจริงๆจะเป็นแบบไหน และในแต่ละ T/F ภาพจะเป็นอย่างไง

ลองมาดูลักษณะของ dow theroy ในกราฟว่าจะเป็นอย่างไร เป็นไปตามทฤษฎีที่เขียนไว้ไหม

ตัวอย่างกราฟทอง xau/usd

กราฟ T/F M5

  • เกิดสัญญาณของการยก low ยก hight เป็น cycle นับได้ 4 cycle
กราฟ T/F M15
  • นับ cycle ที่ยก low ยก hight ได้ 2 cycle
กราฟ T/F H1

  • นับ cycle ที่ยก low ยก hight ได้ 2 cycle 

กราฟ 3T/F M5,M15,H1


ตัวอย่างที่ 2 กราฟทอง 3 T/F 

T/F M5
  • นับคลื่นและแยก cyle ที่ยก low ยก hight ได้ 3 cycle
T/F M15
  • นับ cycle ที่ยก low ยก hightได้ 4 cycle 
T/F H1 
  • นับ cycle ที่ยก low ยก hight ได้ 2 cycle  

กราฟ 3T/F M5,M15,H1




ช่วงที่กราฟเหวี่ยงขึ้นลงแรงๆ จะดู T/F ไหนดี

ลักษณะพฤติกรรมของกราฟในการเหวี่ยงขึ้นลงแรงๆ

ช่วงที่กราฟเหวี่ยงแรงๆ ส่วนมากจะเป็นช่วงที่ชนแนวรับ หรือ แนวต้านของ T/F ใหญ่และเทรนใหญ่ยังเคลื่อนที่ในทิศทางเดิมอยู่ แต่ในใน T/F เล็กพยายามจะเปลี่ยนเทรนและเคลื่อนที่ตรงข้ามกับ T/F ใหญ่อยู่เมื่อกราฟใน T/F เล็กเคลื่อนที่มาชนแนวรับ หรือ แนวต้าน ของ T/F ใหญ่ก็จะเกิดปฎิกริยาโต้ตอบอย่างรุนแรง คือ ถ้ากราฟของ T/F เล็กเป็นขาลงแต่ T/F กราฟยังอยู่ในเทรนขาขึ้นอยู่ ก็จเห็นแรงซื้อเข้ามาดันกราฟที่บริเวณแนวรับของ T/F ใหญ่ทำให้แท่งเทียนเกิดหางยาววิ่งขึ้นตามแรงซื้อมายืนที่แนวรับได้

ฉะนั้นพอจะสรุปได้ว่า

ถ้ากราฟจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมอยู่ ที่แนวรับ หรือ แนวต้าน จะเห็นแรงซื้อหรือแรงขายที่ผิดปกติเข้ามาดันราคาไม่ให้เปลี่ยนทิศทาง จนกราฟไม่สามารถลงต่อหรือขึ้นต่อได้ จะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า กราฟยังจะเคลื่อนที่ไปทิศทางเดิมอยู่ ถ้าเทรดเดอร์เจอสัญญาณแบบนี้ ก็เป็นจังหวะของการหาจุดเปลี่ยนเทรนของ T/F เล็กที่จะเปลี่ยนเทรนไปตามทิศทางของ T/F ใหญ่ต่อไป

ตัวอย่างกราฟทองเด้งครั้งที่ 1 ( xau/usd )

T/F M15
  • จะเห็นกราฟลงแรง เมื่อลงมาชนแนวรับของ T/F H1 ซึ่งเป็นแนวรับเดียวกับ T/F day ก็จะเห็นปฎิกริยาต่อต้านแรงขายที่แนวรับนี้ 
  • จะมีแรงซื้อเข้ามาดันกราฟวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลับขึ้นไปยืนบนแนวรับและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมต่อได้
T/F M1
  • ถ้าจะดูรายละเอียดของ cycle ในช่วงนี้ให้ใช้ T/F นี้จะเห็นรายละเอียดของการเคลื่อนที่ได้ดีที่สุด
  • เพราะจะเห็นตำแหน่งของการกลับตัว และ cycle เล็กๆเชื่อมต่อกันหลาย cycle จนเกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ขึ้นมา
  • โดย cycle เล็กๆที่เกิดขึ้นนี้จะเคลื่อนตัวไปตามแนวรับ และ แนวต้านของ T/F ใหญ่เสมอ
T/F M5
  • เป็นกราฟที่เชื่อมระหว่าง M1 กับ M15 เอาไว้ดูคลื่นทีเกิดขึ้นและจุดเชื่อมของกราฟ
  • ระหว่าง T/F เล็กและ T/F ใหญ่


กราฟ 3 T/F M1,M5,M15


ตัวอย่างกราฟทองเด้งครั้งที่ 2
  • ลักษณะจะเหมือนกับการลงชนแนวรับครั้งแรก คือ มีแรงซื้อกลับที่แนวรับไม่ยอมให้หลุดใน T/F H1
  • มีแรงซื้อกลับที่แนวรับนี้ และ ไล่ราคากลับขึ้นไปทีี่แนวต้านของ H1
  • เข้าไปดูคลื่นย่อยที่กราฟ T/F M1 จะเห็นคลื่นชัดที่สุด
  • ลักษณะของการวิ่งขึ้น ในเทรนขาขึ้น คือ ต้องยก low ยก high ขึ้นไปเรื่อยๆที่แนวต้านของ H1 





กราฟ T/F H1,H4,Day

ลงมาชนแนวรับครั้งแรก
  • ใช้ T/F H1 ดูแนวรับและแนวต้านสำคัญจะเห็นเมื่อกราฟลงมาชนแนวรับใน T/F H1ซึ่งเป็นแนวรับเดียวกับ T/F day
  • เมื่อลงมาชนแล้วก็เด้งขึ้นเลย บ่งบอกว่ากราฟ ยังไม่ใช่ขาลงเพราะมีแรงซื้อเข้ามาที่แนวรับ ไม่ยอมให้หลุดแนวรับนี้
  • เมื่อมีแรงซื้อเข้ามาแล้วดันกราฟกลับขึ้นไป แรงขายก็ลดลงและกราฟก็กลับตัวและวิ่งกลับเป็นขาขึ้นต่อได้
ลงมาชนแนวรับครั้งที่ 2
  • ก็มีแรงซื้อกลับเข้ามาอีก และดันกราฟกลับขึ้นได้อีกครั้งใน T/F H1
  • เมื่อกราฟกลับตัวเป็นขาขึ้นแล้ว ก็วิ่งขึ้นชนแนวต้านเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถผ่านแนวต้านได้
ลักษณะของกราฟขาลง
  • กลับกันมีแรงขายจำนวนมากออกมา ที่แนวต้านนนี้ก็บ่งบอกว่าที่แนวต้านนี้ เป็นแนวต้านสำคัญของฝั่งลง ซึ่งจะเห็นแรงขายออกมามากเป็นพิเศษที่แนวต้านใดแนวหนึ่ง
  • แล้วกราฟไม่สามารถผ่านได้ ด็จะบ่งบอกได้ว่าแนวต้านนั้น ต้องเป็นแนวต้านสำคัญ ถ้ากราฟผ่านได้ก็จะขึ้นได้ไกล แต่ถ้าผ่านไม่ได้ก็จะเปลี่ยนเทรนเป็นขาลงได้ไกลเช่นกัน
  • ปกติแนวต้านที่ผ่านยาก จะเป็นแนวต้านที่มีแนวร่วมเดียวกัน ระหว่าง T/F H1,H4,Day

กราฟ 3 T/F H4,H1,Day


กราฟ TFEX ก็มีลักษณะเดียวกัน
คือ ใช้ลักษณะของการเกิดแรงซื้อที่แนวรับของ T/F H1 ได้เหมือนกับกราฟทอง

เงื่อนไขในการหาแนวรับสำคัญ
  • กราฟ T/F ใหญ่ ระดับ H1 ยังอยู่ในเทรนขาขึ้น
  • ชนแนวต้านของ T/F H1 ซึ่งเป็นแนวที่จะเป็นจุดสูงสุด หรือ ต่ำสุดได้ ซึ่งอาจจะเป็นแนวต้านเดียวกับ T/F ใหญ่กว่าระดับ day
  • คลื่นใน T/F เล็กสร้างไม่ครบ 5 คลื่นถูกทำลายก่อน
  • เกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรนจาก indy พร้อมกันทั้ง 3 เครื่องมือในกราฟ M5 
  • เกิดการเชื่อมสัญญาณจาก indy ทั้ง 3 T/F โดยเฉพาะตัวเร็วอย่าง RSI 


กราฟ 3 T/F M1,M5,M15

กราฟ 3 T/F M5,M15,H1



 

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 09, 2564

ความรู้ระดับ อะตอม สำคัญสำหรับคนเทรด wave

 ความรู้ระดับ อะตอม หมายถึง

 คนเทรด wave ต้องสามารถเห็นคลื่นย่อยในคลื่นใหญ่ได้ และสามารถเขื่อม T/F ใหญ่ลงไป T/F เล็กได้และ ย้อนคลื่นเล็กไปสู่คลื่นใหญ่ได้ 

เพราะ ถ้าเทรดเดอร์สามารถ รู้หลักการสร้างคลื่นจาก T/F เล็กไปสู่คลื่นใหญ่ได้ ก็จะสามารถ หาจุดเปลี่ยนเทรนจาก T/F เล็กไปสู่ T/F ใหญ่ได้ เช่นกันทำให้สามารถหาฐานราคาของกราฟจาก T/F เล็ก ที่กลับตัวแล้ว และ เริ่มสร้างฐานของของเทรนขาขึ้นใน T/F ใหญ่ก็จะทำให้เหล่าเทรดเดอร์เห็นายละเอียดของการเปลี่ยนเทรน และ จุดเชื่อมโยงจาก T/F เล็กไปสู่ T/F ใหญ่เพราะในมุมของ wave จะเชื่อเรื่อง คลื่นย่อยในคลื่นใหญ่และ อาจจะได้รับการพิสูจน์มาแล้วจากเหล่าเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ และได้ออกมาเขียนทฤษฎีของ wave เป็น หน้งสือออกเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในเหล่านัก technical ส่วนหนึ่ง

ตัวอย่างกราฟ TFEX จังหวะกลับตัวที่ T/F Day

กราฟ 3 T/F M5,M15,H1

T/F M5 

  • เกิดการเด้งขึ้นที่แนวรับแล้วยืนบนแนวรับได้เกิดการยืดของคลื่นขึ้นต่อ
  • เมื่อครบ 5 คลื่นแล้ว แล้วยืนบนแนวรับได้ ก็เปลี่ยนเป็นขาขึ้นต่อ
  • ลักษณะของการย่อที่ยืนบนแนวรับได้ บ่งบอกว่ากราฟยังขึ้นต่อได้
T/F M15

  • เมื่อเกิดคลื่นในกราฟ M5 5 คลื่นครอบแล้วถ้าจะลงต่อก็ลงหลุดแนวรับที่ขึ้นมา
  • แต่ดูจากกราฟแล้วชนแนวต้านแล้วมีแรงขายออกมา แต่กราฟยังไม่หลุดแนวรับ บวกกับแรงขายที่น้อยลงมาก ทำให้ถ้ามีแรงซื้อเข้ามากราฟก็จะยืดฝั่งขึ้นต่อได้ง่ายขึ้น
  • เมื่อกราฟ M15 ยืดคลื่น 3 แล้วชนแนวต้านเกิดแรงขึ้น แต่กราฟลงมาที่แนวรับแล้วเห้นสัญญาณกลับตัวขึ้นต่อจากการทำ double bottom ที่แนวรับ
T/F H1

  • เกิดคลื่น 2 เมื่อ T/F M15 ยืด 5 คลื่นแล้วชนแนวต้าน เกิดแรงขายออกมา กราฟลงมาพักฐานที่แนวรับและไม่หลุดแนวรับที่ยก low ขึ้นก็ยังบ่งบอกว่า การยืดฝั่งขาขึ้น ยังไม่จบในกราฟ H1

กราฟ T/F M5,M15,H1

แกะคลื่นย่อยใน T/F M1
  • จะเห็นว่าในกราฟ M5 เกิดการยืดคลื่นฝั่งขึ้นครบ 5 คลื่นที่แนวรับของ day
  • ถ้าจะให้ความมั่นใจของการนับคลื่น ก็เข้าไปดูใน T/F ที่เล็กกว่าอย่างเช่น กราฟ M1 เพื่อดูความสอดคล้องของคลื่นที่ยืดออก 
  • จากกราฟ M1  ก็จะเห็นการยืดของกราฟ นับได้ 5 คลื่นซึ่งสอดคล้องกับกราฟ M5 ทำให้เกิดสัญญาณ confirm การนับคลื่นว่าถูกแล้ว 

กราฟ T/F M1

ตวรจสอบคลื่นและติดตามด้วย T/F ใหญ่
  • เมื่อเกิดการสร้างคลื่น 2 ในกราฟ H1 แล้วก็จะเกิดการยือของคลื่น 3 ตามมา
  • ก็เอากราฟ H4 มาดูเพื่อดูความสอดคล้องคลื่นที่ T/F H1 ยืดออกมา
  • ใช้ T/F day ดูภาพใหญ่ รวมทั้งแนวรับแนวต้านสำคัญ

กราฟ T/F H1,H4,day



ดูคลื่นคลื่นย่อยในกราฟทอง (xau/usd)
จากรูปเป็นตัวอย่างกราฟทองล่าสุด
กราฟ T/F M5
  • นับคลื่นครบ 5 คลื่นขนแนวต้านแล้วเกิดแรงขายแต่ลงมาไม่หลุด low เดิม
  • มีแรงซื้อกลับ แต่ดันราคาขึ้นชนแนวต้านเกิดคลื่น 2 ขึ้น
  • หลังจากเกิดคลื่น 2 ที่แนวรับ กราฟก็ยืดคลื่น 3 ทะลุแนวต้านขึ้นไป
กราฟ T/F M15
  • นับคลื่นที่เกิดขึ้นจากแนวของกราฟ M5 ได้ว่าเป็นการ sideway ของคลื่น 2 ในกราฟ M15
กราฟ T/F H1
  • นับชุด sideway ของกราฟ M5 และ M15 ว่าเป็นชุดคลื่น 4 ในกราฟ H1
  • และเกิดการย่อตัวจากการชนแนวต้าน เกิด sideway ที่กำลัง mark low ใหม่ขึ้น
  • นับชุดที่ลงมาที่แนวรับนี้ และออก sideway ว่าเป็นการทำคลื่น 4 
  • รอดูสัญญาณกลับตัวเพื่อ ยืดคลื่น 5 ขึ้นไปที่แนวต้านอีกครั้ง 


กราฟ T/F M5,M15,H1


กราฟ T/F ใหญ่ระดับ H4 และ day
  • หลังจากที่ภาพเล็กที่ประกอบไปด้วย T/F M5,M15,H1 แล้ว
  • ก็เข้าไปดูกราฟ T/F H4 เพิ่อดูการทำคลื่นย่อยของกราฟ Day
  • ใช้ H1 เป็นคลื่นย่อยของกราฟ day ก็จะเห็นคลื่นครบ 5 คลื่น

กราฟ T/F H1,H4,day




วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 06, 2564

sub แรงขายก่อนเปลี่ยนเป็นขาขึ้น

 ก่อนที่กราฟจะเปลี่ยนเทรนเป็นขึ้น หรือ ลง เมื่อขึ้นมาชนแนวต้านแล้วจะมีแรงขายออกมา จะสังเกตุได้ว่ากราฟจะขึ้นต่อไหม เพราะถ้าหากว่ากราฟจะขึ้นต่อ การลงของกราฟจะไม่หลุดแนวรับก่อนหน้า เป็นการ sub แรงขายครั้งสุดท้ายก่อนเปลี่ยนเทรน

จะสังเกตุเห็นบ่อยในกราฟที่เป็นขาขึ้นมาก่อนแล้วขึ้นไปชนแนวต้านสำคัญครั้งแรกส่วนใหญ่จะไม่ผ่าน ถ้าแนวต้านนั้นมี จำนวนของ supply มากๆ ดังนั้นการที่กราฟจะผ่านแนวต้านนี้ไปได้ ก็จะเห็นการ sub แรงขายโดยลักษณะ และ เงื่อนไขดังนี้

  • กราฟลงมาที่แนวรับของ T/F ใหญ่ระดับ H1
  • เกิดการเด้งขึ้นจากแนวรับที่มี demand ของกราฟ H1
  • เด้งขึ้นชนแนวต้านก่อนหน้า เกิดกรอบ swing ขึ้นลง
  • ไม่สามารถขึ้นทะลุแนวต้านได้ เกิดการทำ dow ขาลงที่แนวต้าน
  • กราฟหมดแรงขึ้น กลายเป็นขาลง ลงมาที่แนวรับถัดไป
  • เมื่อลงมาที่แนวรับถัดไปก็จะเจอกับ demand ชุดใหม่ที่แนวรับใหม่นี้
  • เกิดการเด้งขึ้นจากแนว demand ใหม่แต่ครั้งนี้กราฟสามารถขึ้นทะลุแนวต้านก่อนหน้าได้
  • ก็จะเกิดการทำขาขึ้นรอบใหม่ หลังจากผ่านการ sub แรงขายจนหมดแล้ว
ตัวอย่างกราฟทอง XAU/USD 

T/F M5

  • กราฟลงมาที่แนวรับแล้วเกิดเด้งขึ้น แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านก่อนหน้าได้
  • เมื่อ swing ในกรอบจนแรงซื้อหมดแรง กราฟก็เปลี่ยนเป็นขาลงต่อไปที่แนวรับถัดไป
T/F M15

  • จะเห็นกรอบการเด้งขึ้นที่ติดแนวต้าน กลายเป็นคลื่น 4 เพื่อลงทำ คลื่น 5 ในุมุมของ wave
  • เมือกราฟลงมาที่แนวรับถัดไปแล้ว เกิดสัญญารกลับตัว ก็จะเกิดการเด้งขึ้นอีกครั้ง
  • ถ้านับคลื่นย่อยในกราฟ M15 จะลงมาครบ 5 คลื่นจึงเป็นจุดที่จะสามารถกลับตัวขึ้นได้ หลังจากผ่านการ sub แรงขายที่ตำแหน่งของคลื่น 4 
  • เมื่อกราฟวิ่งขึ้นอีกครั้งจากแนว demand ชุดใหม่ก็อาจจะขึ้นทะลุแนว้ตานก่อนหน้าได้เพราะลงครบคลื่นแล้ว
T/F H1

  • ลงครบ 5 คลื่นที่แนวรับสำคัญ
  • เห็นการลงที่สั้นลงเรื่อยๆ บ่งบอกถึงแรงขายที่เริ่มอ่อนแรงในแต่ละแนวรับ
  • จนถึงแนวรับสุดท้ายที่มีองค์ประกอบครบ คือ 
    1. ลงครบ 5 คลื่น
    2. แรงขายลงสั้นลง และลดลงเรื่อยๆ 
    3. เกิดการเด้งขึ้นทะบุแนวต้านได้และยืนทำ ฐานของ dow ขาขึ้นได้ หรือ เกิดคลื่น 2 เพื่อยืดขึ้นต่อ 

กราฟ 3 T/F M5,M15,H1

ภาพต่อจากกราฟด้านบน
  • ในกราฟ M5 จะเห็นการกลับตัวจากลงเป็นขึ้น
  • กราฟ M15 เห็นการลงมาที่แนวรับที่นับคลื่น 4 และ ลง 5เป้นคลื่นขาลงสุดท้ายก่อนจะเปลี่ยนเทรน
  • กราฟ H1 เห็นโครงสร้างทั้งหมด ของการ คลื่นขาลง ชนแนวรับ และ เปลี่ยนเแ้นคลื่นขาขึ้น 

กราฟ 3 T/F M5,M15,H1

ภาพตัวอย่างกราฟทอง xau/usd
  • เกิดการ sub แรงขายวิ่งขึ้นไปที่แนวต้าน
  • ถ้าไม่ผ่านก็จะลงมาที่แนวรับที่ขึ้นไป 
  • แล้วเริ่มกระบวนการของการของการวิ่งขึ้นใหม่

กราฟ 3 T/F M5,M15,H1


ตัวอย่างกราฟทอง xau/usd ภาพต่อจากด้านบน
  • T/F M5 ขยายเพื่อดูลักษณะการ sub แรงขายก่อนกลับตัว
  • T/F M15 ดูกรอบของการ sub แรงขายก่อนจะเปลี่ยนเทรน
  • TF H1 ดูภาพรวมของการเคลื่อนที่ครบ  1 cycle 

กราฟ 3 T/F M5,M15,H1



จุดเปลี่ยนจากกราฟขาลง ที่จะเปลี่ยนเป็นเป็นขาขึ้นในหุ้น

 เมื่อกราฟเปลี่ยนเป็นขาลงแล้ว จุดไหนจะเป็นสัญญาณบอกว่ากราฟเริ่มจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้นแล้ว

ในกราฟหุ้นแนวรับ แนวต้าน เป็นจุดสำคัญของการกลับตัวขึ้น หรือ ลงก็ตามกราฟจะกลับตัวตามแนวรับ หรือ แนวต้านสำคัญ ถ้ารู้ถึงแนวรับ และ แนวต้านสำคัญเหล่านั้นได้ เทรดเดอร์ก็มีโอกาสสูงที่จะทำกำไรกับจังหวะกลับตัวที่แนวรับได้ 

พฤติกรรมของกราฟเมื่อลงบมาชนแนวรับสำคัญ ที่จะสามารถกลับตัวได้

  • เมื่อกราฟลงมาชนแนวรับนี้หลายครั้ง ก็ไม่หลุดเด้งขึ้นได้
  • เป็นแนวรับเดียวกับหลาย T/F 
  • เป็นแนวับระดับ day ขึ้นไป
  • เกิดการทำ double bottom ที่แนวรับนี้
จุดกลับตัวจะมีลักษระแบบไหน

  • จุดกลับตัวจะเป็นจุดที่กราฟ ลงมาที่แนวรับสำคัญและเกิดกรอบบีบตัว
  • เกิดการทำ dow ขาลงมาที่แนวรับและลงต่อไม่ได้แล้ว จนกราฟ swing ลงเรื่อยๆ
  • เมื่อถึงจุดที่บีบตีวเป็นจุดที่ แคบที่สุดแล้วชนแนวรับไม่หลุด กราฟก็จะเลือกกลับตัวขึ้น
  • โดยที่จะเห็นว่ากราฟจะเด้งขึ้น ติดแนวต้าน และก็ลงต่อไปที่แนวรับนี้ จนเกิดการ break ขึ้นทะลุแนวต้านแล้วก็เปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้น และกราฟก็จะจบขาลง
ตัวอย่างกราฟหุ้น TOA

  • T/F day กราฟทำ dow ขาลงไปเรื่อยๆจนถึงแนวรับ 
  • เห็นการทำ double bottom ที่แนวรับ
  •  หลังจากจบการทำ double bottom กราฟก็เปลี่ยนเทรนเด้งขึ้นทันที
 

กราฟหุ้น TOA 4 T/F

กราฟหุ้น TPIPP ลักษะเดียวกัน
  • กราฟ day เป็นขาลงไปเรื่อยๆจนชนแนวรับสำคัญ
  • แล้วก็เกิดการทำ double bottom ที่แนวรับนี้
  • แล้วก็ยก low ขึ้นเปลี่ยนเทรนทะลุแนวต้านขึ้นไป

กราฟหุ้น TPIPP 4 T/F


กราฟ sawad
  • เด้งขึ้นแล้วชนแนวต้านกลับเป็นขาลง
  • จนลงมาชนแนวรับของแนวต้านก่อนหน้า ก็เกิดการเด้งขึ้นจนเกิดกรอบบีบตัว
  •  หลังจากนั้นกราฟไม่สร้าง low ใหม่ พยายามเด้งขึ้นเพื่อเปลี่ยนเทรน
  • กราฟวิ่งขึ้นชนแนวต้าน แล้วก็ไม่ผ่านเปลี่ยนเป็นขาลง
  • เมื่อลงมาชนแนวรับเดิมอีกครั้งก็วิ่งขึ้นเปลี่ยน หลังจากผ่านช่วงของการ sub แรงขายที่แนวต้านก่อนหน้ามาแล้ว