หน้าเว็บ

วันพุธ, กรกฎาคม 25, 2561

มองมิติของรายใหญ่ผ่านแรงซื้อและแรงขาย

ในกาฟ 1 กราฟจะประกอบไปด้วยมิติหลายมิติทับซ้อนกันอยู่ หนึ่งในมิติก็คือ มิติของรายใหญ่ที่สามารถควบคุมราคาได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะลองแกะรอยพฤติกรรมผ่านกราฟหุ้น malee ออกเป็นข้อดังนี้

MALEE 60 Minute

  1. มี volume ซื้อดันราคาขึ้นไปรวมๆตีเป็นเงินประมาณ 131 ล้านบาท
  2. มี volume ขายออกประมาณ 44 ล้านบาท
  3. ยังเหลือหุ้นที่ถูกซื้อเป็นเงินประมาณ 87 ล้านบาท
  4. volume ขายยังออกมาน้อย แสดงว่าไม่ใช่การขายออกจริงๆ
  5. เกิดสัญญาณเคลียล้างเพื่อขึ้นบน

  สัญญาณเคลียล่างเพื่อขึ้นบน
  • ลงมาทำ abc เล็กเท่านั้น ลงสั้นไม่ลงลึก
  • เกิดการดึงกลับเมื่อหลุดแนวรับ หรือถึงแนวรับสำคัญแล้วไม่หลุด
  • ฝั่งซื้อเริ่มซื้อกลับเมื่อราคาลงชนแนวรับสำคัญ volume ซื้อเริ่มมากขึ้นที่แนวรับนี้
  • เมื่อราคาขึ้นชนแนวต้านของฝั่งขายมีแรงขายออกมาแต่ติดแนวรับแล้วยกตัวขึ้น volume ขายลดลงเป็นสัญญาณบอกว่าแรงขายเริ่มน้อยลง หรือเรียกว่าการซับแรงขายเพื่อดูปริมาณการขายว่ามีมากหรือน้อย
  • เมื่อเห็นว่าแรงขายเริ่มน้อยลงแท่งเทียนถัดมาเป็นแรงซื้อ ก็จะเป็นสัญญาณว่าแรงซื้อเริ่มมีมากกว่าแรงขาย เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า แรงขายเริ่มหมดลง ก็รอแรงซื้อกลับมาซื้ออย่างต่อเนื่องจุดนี้กราฟก็จะเริ่มวิ่งขึ้นได้

สรุป
พฤติกรรมที่เห็นก็คือ มีการไล่ราคาขึ้นไปด้วย volume ซื้อจำนวนมากแล้วพักฐานด้านบน volume ขายยังไม่ออก ก็แสดงว่าต้องมีการไล่ราคาต่อเพื่อขึ้นไปขายด้านบนเพื่อทำราคาให้สูงขึ้นได้กำไรมากขึ้นและเรียกรายย่อยให้เข้ามารวมวงด้วยจากภาพ อาจจะเกิด sw เล็กๆก่อนวิ่งขึ้นทำคลื่น 5 สุดท้ายและอาจจะเห็นการ sw ด้านบนสักพักใหญ่เพื่อกระจายหุ้นสู้มือรายย่อยแล้วก็จะเห็นการขายอย่างจริงจัง volume ขายจะออกมากเป็นสัญญาณจบรอบของการขึ้นรอบนี้


วันอังคาร, กรกฎาคม 24, 2561

หลักการนับคลื่น Elliott wave ในช่วงกลับตัว

หลักการนับพอจะสรุปเป็นโซนได้ 4 โซน ดังนี้
  1. โซนขาลงต้องรอให้ cycle หุ้นเป็นขาลงและลงมาครบคลื่นของฝั่งลง
  2. โซนจบขาลงโดยต้องลงมาติดแนวรับสำคัญของฝั่งซื้อ
  3. เริ่มออก sideway เข้าสู้โซนสะสม จะเห็นการ swing ขึ้นลงแต่จะไม่ขึ้นยก low ยก high
  4. โซนขาขึ้นเมื่อจบระยะสะสมจะเห็นการสร้างคลื่น 1 และ คลื่น 2 และเริ่มยก low ยก high ขึ้น  


ส่วนประกอบที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า " Flat "
เป็นคลื่นที่เล็กที่สุดของกราฟจะเรียกว่า Flats เป็นสวนประกอบที่เล็กที่สุดแล้วมาต่อกันเป็นคลื่นใหญ่
ตัวอย่างคลื่นเล็กที่เอาประกอบกันในหุ้น Advanc

ส่วนประกอบคลื่นเล็กในกราฟ 60 นาที

ภาพ Day เอาบ้างส่วนมาขยายดูภาพเล็ก


หลักการนับคลื่นเล็กประกอบคลื่นใหญ่
  • ดูเทรนจากภาพใหญ่แนวรับแนวต้านสำคัญ
  • ดูการเคลื่อนที่ของคลื่นว่าครบคลื่นรึยัง และจุดซื้อจุดขายใช้ time frame ที่เล็กกว่า 


RPH Day

RPH Week



วันเสาร์, กรกฎาคม 21, 2561

หน้าเทรด

ข้อสังเกตุของหุ้นที่โดนขายแล้วมองว่าไม่น่าจะลงจริง หรือเรียกว่า "ไม้ตกใจ" ในขาขึ้นถ้าเป็นขาลงแล้วมีแรงขายออกมามากๆราคาลงแรง อันนี้ พรานล่าหุ้นจะไม่เรียกว่า ไม้ตกใจ เพราะกราฟเป็นขาลง ฉะนั้นการเทขายออกมาจำนวนมากจากรายใหญ่ หรือการเกิด panic sale จากราย่อยเป็นไปได้ง่ายถ้าใช้วิธีซื้อแบบขาขึ้นจะผิดทางได้ง่าย ต้องเข้าซื้อแบบเด้งที่แนวรับแล้วดูพฤติกรรมว่ากลับได้ไหมถ้าไม่กลับก็ออกก่อน ถ้ากลับก็จะได้ต้นเทรนไป

จะแบ่งมุมมองออกเป็น 2 ส่วน

มุมของ Technical
  1. อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ยังไม่จบรอบ
  2. ยังนับคลื่นขาขึ้นไม่ครบ
  3. ลงมาแท่งเทียนไม่ยาวมาก volume ขายทำกำไรยังไม่ออก
  4. ลงมาชนแนวต้านสำคัญแล้วมี volume ซื้อกลับทันทีราคายืนที่แนวรับได้ไม่หลุด
  5. เกิด sw แล้วแรงซื้อสู้กับแรงขายจนแรงซื้อเริ่มชนะแรงขาย  volume แรงขายน้อยลงไปเรื่อยๆ
  6. ที่แนวรับสำคัญเมื่อแรงซื้อชนะแรงขายได้แล้วจะเห็นการสร้างขาขึ้นรอบใหม่ โดยสร้างคลื่น 1 และ ย่อทำคลื่น 2 volume ลดลงลงมาติดแนวรับสำคัญของฝั่งซื้อ และก็วิ่งขึ้นทำคลื่น 3 ต่อ
  7. หุ้นในกลุ่มเดียวกันส่วนใหญ่กำลังวิ่งขึ้นกันอยู่ เหมือนมี flow เข้าทั้งกลุ่ม
  8. Set ยังเป็นขาขึ้นมี flow เข้าอยู่จะทำให้ง่ายต่อการดันราคาขึ้นเพราะยังอยู่ในช่วงที่มีแรงซื้อเข้ามา 
มุมของรายใหญ่
  1. ยังไม่เห็นการขายทำกำไรไม้ใหญ่ๆตามมา หลังจากที่มีแรงขายออกมาก้อนหนึ่ง
  2. การวิ่งขึ้นเพิ่งเริ่มต้นถ้าขายก็คงได้กำไรไม่มากพอ ฉะนั้นน่าจะมีการทำราคาขึ้นไปต่ออีก


AP 60 M

AP Day

DELTA 60 M

หน้าเทรดลงแรง เล่นเด้งที่แนวรับสำคัญ ( ไม้ตกใจ )

เมื่อมีแรงขายพร้อม volume ออกมาแต่ทรงกราฟยังไม่จบรอบ แค่อยู่ในช่วงของการพักฐานจากแรงขายที่ขายแบบผิดปกติ ขายออกมาอย่างหนาแน่นแต่ set ยังเป็นขาขึ้นหุ้นที่ถูกขายออกมาแบบนี้มีโอกาสที่จะเด้งได้แรงๆ สูงแต่ต้องคัดหุ้นที่มีพื้นฐานรองรับ เป็นที่ต้องการของเหล่า กองทุน และ ฝรั่ง ไม่งั้นการเข้าไปรับอาจจะเป็นการรับมีดก็ได้

ข้อสังเกตุของการหาหุ้นไม้ตกใจ

  • เป็นหุ้นที่มหาชนต้องการซื้อ
  • มีพื้นฐานรองรับเมื่อราคาลงแรงพร้อมมีแรงซื้อกลับมารับ
  • กราฟยังเป็นขาขึ้นอยู่ หรืออยู่ในช่วงพักฐานในขาขึ้น ยังไม่เป็นเทรนลง
  • มี volume ขายออกมาจำนวนมากแบผิกปกติ
  • อาจเห็นการเปิด gap ลง
  • คลื่นย่อย ในรายชั่วโมงลงมาครบขาลง
  • ติดแนวรับสำคัญของฝั่งซื้อ
  • เห็น volume ขายออกมาเป็น selling climax และเริ่มลดลง แรงซื้อกลับมาที่แนวรับสำคัญ


BH

QH



วันอังคาร, กรกฎาคม 17, 2561

แกะคลื่นภายในหุ้นที่ลงแรง

ลองแกะคลื่นในหุ้นที่ลงแรงว่ามีสัญญาณ เตือนก่อนลงหรือไม่

    เมื่อทำการแกะคลื่นแล้วพอเห็นสัญญาณบ้างอย่างที่บ่งบอกได้ว่าจบขาขึ้นแล้ว แต่จะปรับลงแรงรึเปล่า  อันนี้ไม่มีสัญณาญบอก แต่ถ้าจะป้องกันไว้ก่อนก็สามารถทำได้โดยพิจารณาจากการจบรอบขาขึ้นแล้วขายออกเป้าทันทีเพื่อปิดความเสี่ยงของขาลงที่รุนแรง โดยมีจุดสังเกตุดังนี้

  • ราคาขึ้นไปถึงช่วง distribution phase แล้ว
  • มีการลงมาครั้งแรก เรียกว่าขา A อาจจะขายเมื่อเห็นสัญญาณของการลงก่อนก็ได้
  • เมื่อลงมาครั้งงแรกแล้วมีเด้งที่แนวรับสำคัญขึ้นมาไม่ทำ high ใหม่ก็พิจารณาขายออกก่อนเพราะชุดนี้จะชุด B แล้วจะต่อด้วยชุด C อาจจะลงแรง หรือไม่แรงก็ได้
  • เมื่อราคลงมาทำชุด C แเล้วหลุด เส้น trend line ของขาขึ้นก็พิจารณาขายออกเพื่อปิดความเสี่ยงของขาลงที่ลงแรง และเพื่อลงไปรับใหม่ที่ฐานด้านล่าง
  • เมื่อเห็นว่าหุ้นตัวที่ซื้อ มีการสวิงขึ้นและลงแรง เมื่อตอนเป็นขาลงอาจจะลงแรงเช่นขาขึ้นก็ได้
ตัวอย่างหุ้น KTC ลองแกะคลื่นแล้วใน time frame 60 นาทีจะเห็นว่าคลื่นจบขาขึ้นและย่อด้วยชุด a,b,c และมาลงแรงที่ชุด c ซึ่งปกติจะชุดสุดท้ายของขาลงที่ลงลึกและแรง แต่ในกรณีของ KTC ลงแรงมากจนคาดไม่ถึง เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการลงแรงก็ควรพิจารณาเมื่อจบขาขึ้นในชุด A หรือ รอเด้ง  B แล้วออกก่อนจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากลงของขา C ได้ แล้วลงไปรับด้านล่างใหม่ 

จุดขาย KTC ใน time frame 60 Minute

 
จุดขาย KTC ใน time frame  Day
จุดสังเกตุการเด้งที่ไม่ลงแรง
  • จากภาพจะเห็นว่า ขา B ซึ่งเป็นขา rebound นั้นวิ่งขึ้นเกือบมาถึง high เดิมได้แสดงว่ามียังแรงซื้อที่ต้องการซื้ออนยู่เป็น พอราคาลงไปที่แนวรับสำคัญและ เกิด panic รายย่อยเทขายหุ้นออกตามก็อาจจะมีการเก็ยและดันราคากลับอย่างรวดเร็วให้รายย่อยเข้าตามไม่ทันก็ได้
  • จากกราฟจะเห็นการวิ่งลงทำคลื่น A,B,C 3 เท่านั้นและขา C เป็นที่ยาวที่สุด ลงติดแนวรับปกติต้องออก sw แล้วลงต่อ แต่กรณี KTC ลงมาทำ C ยาวแต่ไม่ทำคลื่นยืดและก็เด้งขึ้นทันทีทำให้รายย่อยเข้าตามไม่ทัน 
อีกข้อมูลก็คือสินค้าที่มี leverage เช่น DW และ Block trade อาจจะตัวที่ทำให้ KTC ลงเยอะเนื่องมาจากการเกร็งกำไรของนักลงทุนเป็นจำนวนมาก ทำให้มีคนจำนวนหนึ่งเข้ามาเกร็งกำไรในมุมกลับกัน เพราะเมื่อคนสนใจมากก็จะมีเงินจำนวนมากเข้ามา และคนกลุ่มน้อยก็จะหาประโยขน์จากเงินที่กำลังไหลไปที่หุ้นที่กำัลงเป็นที่นิยมในขณะนั้น

ตาราง DW ฝั่ง CALL 
  จากตารางจะเห็นว่าฝั่ง call มีจำนวน 21 series และ put 2 series ทำให้เมื่อนักลงทุนเทขาย dw ออกมาโบรกก็ต้องเทขายหุ้นออกมาด้วยเช่นกันยิ่งจำนวน series เยอะมากเท่าไรก็จะส่งผลลบต่อหุ้นตัวนั้นมากขึ้นเท่านั้น 

แกะคลื่นภานใน BEAUTY ลงแรงจากข่าว

15 Minute

60 Minute

Day

แกะคลื่นภายใน SUPER

SUPER 60

SUPER Day





   

วันจันทร์, กรกฎาคม 16, 2561

ลักษณะของย่อ ABC ขาลงและ abc ขาขึ้น

ถ้าสังเกตุการย่อของขาลงและขาขึ้นให้ดี ก็จะเห็นความแตกต่างของการย่อทั้ง 2 แบบเท่าที่สังเกตุคือ

  1. ย่อของขาลงจะลงลึกและยาว คลื่นขาลงที่ประกอบด้วย ( ABC ) จะลงแบบครบคลื่น
       - คลื่น A มี 5 คลื่น
       - คลื่น B มี 3 คลื่น
       - คลื่น C มี 5  คลื่น volume ขายเยอะมากเป็นช่วง selling climax

ตัวอย่างกราฟ siri นับคลื่นขาลง

SIRI Day กราฟขาลง


      2. ย่อในขาขึ้นจะลงสั้นและอาจจะไม่ครบ ( abc ) จะลงมาทำ abc เล็กก็คือลงมาทำ คลื่น A ใหญ่ของขาลงนั้นเองและทำขา B ใหญ่ fail volume ขายไม่เยอและอาจไม่เห็น selling climax ก็จะเริ่มสร้างคลื่น 1 และ 2 ต่อเลย ถ้าเจอแบบนี้ก็ประเมินได้ว่าหุ้นตัวนั้นอาจจะกลับเป็นขาขึ้นแล้วเพราะไม่เห็นการลงมาทำ ABC ใหญ่ แต่ทำ B fail แสดงว่าแรงซื้อเริ่มมีพลังมากกว่าขาย และก็เริ่มสร้างเทนขาขึ้นใหม่

ย่อในขาขึ้น จะมีข้อสังเกตุดังนี้

- ลงทำ abc เล็กเท่านั้น ก็คือ A ในขาลง
- volume ขายน้อยกว่าซื้อ
- ย่อสั้นกว่าการวิ่งขึ้น
-ย่อลงมาติดแนวรับสำคัญของฝั่งซื้อแล้วก็จะวิ่งขึ้นต่อเลย

SIRI 60 Minute  ย่อ abc ขาขึ้น

ภาพรวมการนับคลื่นทั่งฝั่งขึ้นและลงในหุ้นตัวเดียว

BBL 60 Minute




วันเสาร์, กรกฎาคม 14, 2561

ลักษณะแรงขายหมด และมีแรงซื้อกลับที่จุด bottom


จุดกลับตัวจะเป็นจุดที่ดูอันตรายที่สุดเพราะจะเป็นจุดที่ลงมาลึก และมี volume ขายจำนวนมากออกมาทำให้มองดูแล้วแรงขายยังไม่หมดยังมีต่อเนื่องแต่ถ้าพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างรวมกันก็จะพอเห็น ถึงจุดกลับตัวได้ และจะเข้าใจลักษณะพฤติกรรมของการกลับตัวได้พอสรุปได้จะมีอยู่ 2 แบบ

       1.ลงแล้วออกข้างแรงขายเริ่มหมด แรงซื้อเริ่มกลับมา
          แล้วแรงขายเริ่มหมดแรงซื้อเริ่มมากกว่าและก็เริ่มกลับตัวที่แนวรับสำคัญ ระดับ week
      2.ลงมาที่แนวรับสำคัญแล้วกลับตัวเป็น V shape
          เกิด volume selling climax เกิดสัญญาณกลับตัวเป็น V shape ขึ้นไป

ตัวอย่างการกลับตัวแบบ ออกข้างที่จุด bottom
เงื่อนไขของการกลับตัว

  • set ลงมาที่แนวรับสำคัญระดับ week แล้วเริ่มเด้งเพื่อกลับตัว
  • ลงมาครบคลื่น Elliott wave A,B,C ในภาพใหญ่
  • volume ขายต้องเริ่มลดลงที่จุดกลับตัว และ volume ซื้อเริ่มกลับมาซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ไม่หลุดแนวรับสำคัญ และเริ่มยก low ขึ้นเรื่อยๆ
  • เริ่มสร้างคลื่นขาขึ้นหรือสร้างฐาน เป็น คลื่น 1 และ 2 
1.ทรงกราฟทำ Double bottom  แต่ low ยกขึ้น

BANPU 60 Minute
2.ลงแรงจะเด้งและย่อลงไม่หลุดแนวรับเก่า

BEAUTY 60 Minute

BEAUTY Day
3.Double bottom เด้งจาก low เดิม

HANA 60 Minute

HANA Day
Double bottom ทำเป็น double combination 2 ชุดแล้วเด้ง volume ขายลดลงเรื่อยๆ

SCC 60 Minute


SGP 60 Minute

SGP Day


กลับตัวอย่างการกลับตัว V shape
ข้อสังเกตุที่พพอจะเห็น คือ
  • volume ขายไม่เยอะ
  • เมื่อเป็นขาขึ้นจะวิ่งขึ้นเร็วและแรง เวลากลับตัวจะกลับตัวแบบ V shape ได้
  • ลงมาชนแนวต้านสำคัญของฝั่งซื้อ
  • จะเกิดกับกราฟที่ที่เป็นขาลง แต่ลงไม่ลึก จะเกิดการกลับตัวแบบ V shape ได้ดี แต่ถ้าลงลึกก็จะเป็น v shape ได้แต่จะต้องย่อที่แนวต้านสำคัญก่อนเสมอ
  • เมื่อกลับตัวแล้ว volume ซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง volume ขายน้อยกว่ามาก
  • ลงมาลึกๆ ไม่ได้อยู่ในช่วงสะสมเป็นการย่อของขาขึ้นเท่านั้น

KTC 60 Minute

TOP 60 Minute

TOP Week

SUPER Day

SUPER 60 Minute


วันศุกร์, กรกฎาคม 13, 2561

นับคลื่นขาลง เพื่อหาจังหวะ เด้ง

นับคลื่นขาลงแล้วหาจังหวะเด้งเพื่อเข้าเกร็งกำไร
มีข้อสังเกตุในการหาจังวหะเด้งดังนี้

  1. ดู set ว่าเริ่มกลับตัวรึยังถ้าเริ่มกลับตัวก็ไปหาหุ้นที่ลงแรงๆ เพื่อหาจังหวะที่ volume เข้า
  2. นับคลื่น Elliott wave ให้ครบคลื่นขาลง
  3. เริ่มเห็น พฤติกรรม การกลับตัวที่จุด bottom
  4. ดูพฤติกรรมขแงหุ้นว่าถ้าลงแรงก็จะเด้งได้แรง และพฤติกรรมในอดีตว่าวิ่งขึ้นแรงไหม ถ้าแรงปัจจุบันก็น่าจะวิง่ได้แรงเช่นกัน
  5. ตั้งหน้าเทรดให้เหมาะกับหุ้นที่จะเข้าในจังหวะเด้ง


SET เริ่มเด้งแถวแนวรับสำคัญ



FN Day

FN Week

KAMART Day

KAMART 60 Minute

NUSA Day

NUSA Week

TOP 60 Minute

TOP Day




วันอังคาร, กรกฎาคม 10, 2561

ตัวอย่าง Trade setup ของเพจ ซั่มหุ้น


ตัวอย่าง Trade setup ของเพจ ซั่มหุ้น     https://www.facebook.com/sumhoon/

TRADE SETUP ซื้อตอนย่อตัวจากการ Overlap (ที่แนวรับ)
โดยมีเงื่อนไขคร่าวๆ คือ
1. List หุ้นที่มีการ "ประมาณการกำไรสุทธิ" เติบโตในช่วงสิ้นปี
2. ราคาย่อลงมาที่ฐานของ แนวรับในอดีต
3. หลุดแนวรับลงมาเป็นแท่งกลับตัว แล้ววันต่อมาดีดกลับทันทีเป็นแท่งเทียนเขียวยาว (ตัวแทนของแรงซื้อ)
4. วาง Stoploss แคบ ที่แนวรับสำคัญ
=========================================
Trade Setup นี้ ผมใช้กับหุ้นที่คาดการณ์จากปัจจัยต่างๆ แล้วว่ามีการเติบโตของกำไรสุทธิ
ก็ตามอยู่หลายเดือน จนเมื่อวันศุกร์ราคาหลุดแนวรับ จุดนี้เป็นจุดที่ต้องจับตา
ว่าหลุดโซนนี้จะลงเป็นเทรน หรือดีดเลย เพราะถ้ามันเป็นอย่างที่เราคิดจริง แนวรับสำคัญก็ควรจะรับอยู่ จึงทำให้โซนนี้เป็นจุดที่ได้เปรียบ
หลังจากนี้..ถ้าหลุดลงมาอีกครั้ง แปลว่ามันหลุดแนวรับสำคัญ ถึงแม้คัทลอสก็เสียหายน้อย เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่คาดหวัง ถือว่าน่าสนใจ




วันเสาร์, กรกฎาคม 07, 2561

มองมิติของรายใหญ่

รายใหญ่ในบ้านเรามีผลต่อการปรับตัวของ set index มี 2 กลุ่มคือ
  1. สถาบันลงทุนต่างประเทศ และ นักลงทุนบุคคลต่างประเทศ  
  2. สถาบันในประเทศ ( กองทุนต่างๆ ในประเทศ )
ในการลงทุนของรายใหญ 2 รายนี้จะมองภาพรวมของประทศนั้นๆเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจดี ราคาหุ้นก็จะตอบรับและวิ่งขึ้นได้ดี ฉะนั้นเมื่อเศรษฐกิจเริ่มดี ก็จะมี flow จาก 2 กลุ่มนี้เข้ามาซื้อรอไว้จะแยกการซื้อหุ้นของ 2 กลุ่มได้ว่า

นักลงทุนต่างประเทศ

นักลงทุนต่างประเทศจะพิจารณาการซื้อหุ้นของประเทศนั้นๆ จาก  อัตราเติบโตของเศรษฐกิจ ตัวเลขเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ย มาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดแล้วก็เลือกประเทศนั้น ในการลงทุน ฉะนั้น ภาพรวมของเศรษฐกิจโลก จะมีผลต่อการพิจารณาลงทุนของต่างชาติ เศรษฐกิจ ประเทศไหนดีและเริ่มเป็นขาขึ้นก็จะมี flow จากต่างชาติเข้าไปเกร็งกำไรจำนวนมาก

สถาบันในประเทศ

คือ พวกกองทุนต่างๆ เมื่อมีประชาชนเอาเงินมาลงทุนในกองทุนบ้านเรา พวกบรรดาผู้แลกองทุนก็จะหาจังหวะในการซื้อหุ้น แต่เข้าจะมีกรอบการซื้อที่ชัดเจนจะไม่ซื้อสุ่มสี่สุ่มห้า จะรอให้หุ้นที่มีพื้นฐานดีๆ ราคาลงมาจนอยู่ในโซนที่ราคาน่าสนใจแล้วก็จะเข้าซื้อ เพื่อไปขายเมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นตามผลประกอบของหุ้นตัวนั้นๆ เขาจะเลือกหุ้นจากพื้นฐาน และหาจังหวะเข้าจาก Technical จึงสามรถหาซื้อที่จุดต่ำสุดและขายที่จุดยอดได้ดี

ตัวเลขที่สถาบันหรือ พวกนักวิเคราะห์ใช้ดูก็ คือ ความถูกแพงจาก PE Band และ PBV Band


สถาบันในประเทศ จะเข้าซื้อก็ราคาลงมา -1 Stand division ( SD ) จะเป็นจุดซื้อแรก และถ้าลงมาที่ -2 SD ก็จะซื้อกลับอีกจำนวนมาก บวกกับพิจารณา PVB Band รวมด้วย

SET Index
 จากรูป set ลงมาที่ +/- 1600 ราคา PE อยู่ที่ 16 เท่า ลงมา -1 SD สถาบันก็จะเข้าซื้อเพราะถือว่าราคาลงมาที่แนวรับแรกซึ่งในมุมของสถาบัน ถือว่าราคาถูกแล้ว ก็จะเข้าซื้อที่ราคา 1600 +/- เราจึงเห็น set เริ่มกลับตัวที่แนวรับนี้ จุดนี้ถือเป็นต้นทุนแรก ของสถาบัน ก็ต้องมาดูต่อ เมื่อสถาบันข้าซื้อที่ราคานี้ แล้ว set จะกลับเลยไหม หรือจะลงต่อไปได้อีกนิดหน่อย เราอาจจะเข้าไปเกร็งกำไรช่วงสั้นตามสถาบันก็ได้



การซื้อขายของสถาบันในประเทศ


จากรูปการซื้อรายวันจะเห็นว่า สถาบันเริ่มกลับมาซื้อที่ราคา set อยู่รหว่าง 1600 และซื้อกลับมาแล้ว 5 วัน ซึ่งถือเป็นต้นทุนเมื่อต้นทุนแรกอยู่ที่แนวนี้ ก็ต้องดูว่าสถาบันในประเทศจะซื้อจน set กลับตัวเลยไหม หรือ จะปล่อยให้ลงต่อ และต่างชาติจะกลับเข้ามาช่วยซื้อไหม จุดนี้เป็นจุดที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ถ้า set กลับตัวแล้วเราซื้อตามก็จะได้จุดเข้าที่ดี ตามสถาบันไป