หน้าเว็บ

วันพุธ, กันยายน 30, 2563

จุดเปลี่ยนเทรน ( ร่วมทุก T/F )

 ในการที่จะหาจุดเปลี่ยนเทรน ในการเข้า order เป็นเรื่องยาก  ที่จะเข้า order แล้วกราฟจะขึ้นเลยฉะนั้น ถ้าต้องการจุดนี้ ต้องเอาจุดเปลี่ยนเทรนของหลาย T/F มาร่วมกันแล้วเอาจุดเปลี่ยนเทรนที่ สมดุลย์ ของทุก T/F มาหาจุดที่เป็นจุดแนวร่วมเดียวกัน ถึงจะเป็นจุดเปลี่ยนเทรนที่ดี  

กราฟ 15 นาที 

  • จะเห็นจุดเปลี่ยนเทรนจาก กราฟ และ indicator

กราฟ 15 นาที

กราฟ 60 นาที
  • จะเห็นจุดที่เป็นจุดเปลี่ยนเทรน ที่เป็นจุดร่วมกับกราฟ 15 นาที

กราฟ 60 นาที

กราฟ 240 นาที หรือ 4 ชั่วโมง
  • จะเห็นว่ากราฟลงมาที่แนวรับแล้วเกิดการเด้งขึ้นจากแนวรับนี้
  • ซึ่งเป็นจุดเด้งที่เป็นแนวร่วมจาก T/F 15 และ 60 นาที

กราฟ 240 นาที หรือ H4

กราฟ day 
  • จากการนับคลื่นลงมาทำ abc แล้วชนแนวรับสำคัญของ day
  • หลังจากนั้นวิ่งขึ้นด้วย demand ที่แนวรับนี้
  • เกิดเป็นจุดร่วมเดี่ยวกันกับ 3 T/F ก่อนหน้า 

กราฟ day


ลักษณะ สัญญาณการหยุดลง

 วิธีสังเกตุหาสัญญาณของการหยุดลงของกราฟ

  1. ดูแนวรับจาก T/F ใหญ่ระดับ week เพื่อหาแนวรับสำคัญ
  2. นับคลื่นจากกราฟ week บวก กับ ดูพฤติกรรมการลงชนแนวรับ
  3. ปกติการลง จะเด้งขึ้นติดแนวต้านแล้วลงต่อไปเรื่อยๆ จนชนแนวรับสำคัญแล้วไม่ลงต่อ แต่กลับพยายามจะวิ่งขึ้นแทนที่แนวรับสำคัญนั้นๆ
  4. การกลับตัวจะมีพฤติกรรม คือ จะเกิดการบีบตัวระหว่างแนวต้านและแนวรับ วิ่งขึ้นและลงชนไม่ทะลุลงต่อ แต่กลับพยายามจะวิ่งขึ้นและเห็นแท่งเทียนเริ่มยืนที่แนวต้านได้
  5. ไปดู T/F 60 ซึ่งเล็กกว่า week แล้วดูสัญญาณต่างๆ 3 ข้อดังนี้
          5.1 ชนแนวรับสำคัญระดับ week

          5.2  เริ่มออก sideway ลงสั้นลงเรื่อยๆ

          5.3 เห็นการลงสิ้นสุดลง และเห็นการบีบตัวในกรอบแนวรับและแนวต้าน กราฟเริ่มมีแท่งเขียวที่แนว                    ต้านหลายแท่งปและเริ่มยืนได้

     6.เข้าไปเฝ้าดูการเคลื่อนที่จาก T/F เล็กเพื่อหาจังของการ brake แนวต้านขึ้นเพื่อดูการเปลี่ยนเทรนจาก           ลงเป็นขึ้น


ตัวอย่าง กราฟหุ้น BCPG

นับคลื่นการลงจากกราฟ week


กราฟ week


เข้าไปดูการเคลื่อนที่จาก T/F 60 นาทีเพื่อดูการ เด้ง และ การ low ใหม่ จะสั้นลงเรื่อยๆเมื่อเจอแนวรับสำคัญ จนเกิดกรอบการบีบตัวเื่อเลือกทางอีกครั้ง


กราฟ T/F 60 นาที

หุ้น TASCO ลักษณะพฤติกรรมการหยุดลงคล้ายๆกับ BCPG 

รายละเอียดการนับคลื่นในกราฟ 60 นาที และดูพฤติกรรมของกราลงมาที่แนวรับสำคัญ

กราฟ T/F 60 นาที


วันพุธ, กันยายน 23, 2563

TFEX 22-09-20

 สัญญาณการเด้งขึ้นที่แนวรับของ TFEX 

จุดสังเกตุ การอ่านสัญญาณจากกราฟ

  • กราฟ 15 นาที RSI ไม่ทำ low ใหม่แต่ยืนได้บนแนวรับ
  • กราฟ 1 นาทีเกิดแท่งเทียนเขียวยาว แล้วทะลแนวต้านขึ้นไปยืนได้
  • กราฟ 5 นาที macd เกิดสัญญาณ divergence ขาขึ้น และ RSI เกิดสัญญาณของขาขึ้น
  • กราฟ H1 ลงชนแนวรับสำคัญ RSI 20

กราฟ 4 T/F 1,5,15,H1 นาที


จุดสังเกตุของกรฟาขาลง
  • กราฟ 1 นาทีเกิดการเด้งที่แนวรับสำคัญแล้วขึ้นไปยืนไม่ได้ที่แนวรับ มีแรงขายมากกว่าแรงซื้อกดกราฟลงมาไม่ยอมให้ขึ้น
  • กราฟ 5 นาทีเกิดการทำขาลงเป็น abc แล้วทำคลื่น 1,2 ของขาขึ้นไม่ได้
  • กราฟ 15 นาทีติดแนวต้านของขาลง ผ่านไม่ได้
  • กราฟ H1 วิ่งขึ้นยังไม่ครบคลื่นชนแนวต้านของขาลง ยืนไม่ได้ก็จะเปลี่ยนเทรนเป็นขาลง
  • กราฟ H4 ขึ้นครบคลื่นแต่ทะลุแนวต้านของขาลงไม่ได้ 
กราฟ 4 T/F 1,5,15,H1 นาที

กราฟ T/F H4 
  • นับคลื่นการลงยังลงไม่ครบ เด้ง 4 และกำลังลงทำคลื่น 5 อยู่
กราฟ T/F H4 




วันอังคาร, กันยายน 22, 2563

วิธีหากราฟมาเทรด ฉบับพรานล่าหุ้น ( Forex )

อันดับแรกเข้าไปดูข่าวเกี่ยวกับคู่เงินก่อน ว่ามีข่าวอะไรบ้างแล้วคู่เงินไหนมีความเสี่ยงที่จะขึ้นลงแรงจากข่าวที่ประกาศออกมา เพื่อกำหนดรูปแบบการเทรด ว่าจะเทรดช่วงข่าวหรือไหม

link ข่าวจาก web investing.com



หลักการเลือกคู่เงิน แยกออกเป็นข้อได้ดังนี้

  1. เข้าไปดูความแข่งค่าของคู่เงิน ว่าคู่ไหนแข็ง คู่เงินไหนอ่อนเพื่อ ทำการเลือกมาเทรด
  2. กำหนดวิธีการเทรด ว่าจะเทรดหลายคู่ หรือ คู่เดียวแล้วแต่ทักษะของแต่ละคน
  3. เอากราฟที่เลือกแล้วมาเฝ้า เพื่อรอจังหวะการเปลี่ยนเทรน แล้วเข้าตาม
  4. กำหนด stop loss และ tp เมื่อถูกทาง และ ผิดทาง
  5. สรุปการเทรดของตัวเองว่า ได้กำไร หรือ ขาดทุน เพราะอะไร แล้วเอาวิธีเทรดที่ได้กำไรมาทำซ้ำใหม่ เอาวิธีเทรดที่ขาดทุนมาจุดแก้แล้วอย่าทำซ้ำอีก

 

  1. เข้าไปดูความแข่งค่าของคู่เงิน ว่าคู่ไหนแข็ง คู่เงินไหนอ่อนเพื่อ ทำการเลือกมาเทรด

เว็บดูความแข็งค่าของคู่เงิน


วิธีการดูคู่เงิน เพื่อที่จะเลือกมาเทรด
  • ดูว่าคู่เงินที่อยู่หน้า USD นั้นแข็งหรืออ่อนกว่า และ คู่เงินที่อยู่หลัง USD นั้นอ่อนกว่าหรือแข็งกว่าปกติ คู่เงินจะเคลื่อนที่เป็นกลุ่ม เช่นคู่เงินที่อยู่หน้า USD ถ้าแข็งคู่อื่นที่อยู่หน้า USD ก็จะแข็งตามไปด้วย คู่เงินที่อยู่หลัง USD ก็จะตรงข้ามกัน ก็คือจะเป็นกลุ่มที่อ่อนค่าทั้งหมด
  • ดูเทรนของคู่เงิน ว่าคู่เงินไหนมี % บวก หรือ ลบมากที่สุดปแล้วเลือกเอาคู่นั้นมาเทรด เพราะว่าแสดงว่าคู่เงินคู่นั้น กำลังวิ่งเป็นเทรนมากกว่ากคู่อื่น ส่วนจะเลือกบวก หรือ อันนี้อยู่ที่ความถนัดของแต่ละคนว่าถนัดเทรด ขาขึ้น หรือ ขาลง หรือ ถนัด เทรด 2 ฝั่งเลย

ภาพเลือกดู T/F ใหญ่ไปเล็กว่าคลื่นเคลื่อนตัวอย่างใหญ่ เพื่อที่จะเลือกเทรดขึ้น หรือ ลง

กราฟ week ทำคลื่น 4 ในกรอบ sideway



กราฟ day เป้นขาลงชนแนวรับแล้วเด้งขึ้น



กราฟ 5 นาทีเริ่มเด้งขึ้นแล้วชนแนวต้าน ออก sideway ด้านข้างอยู่


วิธีการเลือกคู่เงินมาเทรด
  • ในรูปเลือกคู่เงิน EUR/USD เพราะเป็นเทรนขาขึ้น ก็จะเทรดเฉพาะขาขึ้นตามเทรนเท่านั้น และต้องันบคลื่นด้วยว่าขึ้นครยคลื่นรึยัง ในกราฟ week ถ้ายังก็เทรดขาขึ้นตามไปเรื่อยๆจนกราฟขึ้นครบคลื่น ก็เปลี่ยนทมาเทรดขาลง ตามกราฟ หรือ จะเลือกคู่อื่นที่เป็นขาขึ้นก็ได้
  • กราฟ week sideway ทำคลื่น 4 อยู่ แสดงว่ายังขึ้นไม่ครบคลื่น ก็รอจังหวะเทรดขาขึ้นตาม T/F week
  • กราฟ day มีแรงขายกราฟเป็นขาลง ลงมาที่แนวรับ รอจังหวะที่อนวรับของกราฟ day เพื่อเทรดขาขึ้นตามกราฟ week
  • เมื่อกราฟลงมาชนแนวรับของกราฟ day เข้าไปดูคลื่นย่อยในกราฟ 5 นาที และ 15 นาทีจะเริ่มเด้งขึ้น ให้หาจังหวะเทรดขาขึ้นตามกราฟ week

ลำดับต่อมาเข้าไปดูกราฟจริงเพื่อหาจังหวะเทรดตามตารางด้านบนที่เข้าไปดู เพื่อหาความสัมพันธ์ของคู่เงิน เพื่อรอสัญญาณการเทรด

กราฟ คู่เงิน USD/JPY เด้งขึ้น


กราฟ 4 T/F 5,15,H1,H4


กราฟคู่เงิน EUR/USD เปลี่ยนเป็นขาลงในกรอบ sideway ของกราฟ week 

กราฟ 4 T/F 5,15,H1,H4


กราฟคู่เงิน EUR/USD เด้งขึ้นหลังจากลงมาชนแนวรับในกราฟ day เข้าไปดูจังหวะเด้งขึ้นจาก T/F 5 และ 15 นาที

กราฟ 4 T/F 5,15,H1,H4






วันอาทิตย์, กันยายน 20, 2563

คลื่นย่อยในคลื่นใหญ่ ( ver.2 )

 คลื่นใหญ่จะประกอบไปด้วยคลื่นเล็กเสมอ ฉะนั้นถ้ารู้จักวิธีการดูและเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่าง T/F ใหญ่ไป T/F เล็กได้ก็จะเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดแล้วได้เปลี่ยนมาก เพราะสามารถเห็นการเคลื่อนที่ของ T/F เล็กที่เชื่อมกันจนเกิดเป็น T/F ใหญ่ สามารถออกแบบระบบเทรดให้สอดคล้องกับ คลื่น ที่มองเห็นได้ง่าย และ สามารถแยกได้ว่าช่วงเวลาไหนจะเทรดแบบ run trend หรือ ทรดแบบ swing trade  

ตัวอย่างจากรูป กราฟ TFEX เทรนขาขึ้น แต่ใน T/F ใหญ่ระดับ 60 นาทีเป็นการ swing ในกรอบ

  • จะเริ่มตั้งแต่กราฟ T/F 1 นาที ก็จะมีการสร้างคลื่นที่สัมพันธ์กับกราฟ 5 นาที และ กราฟ 15 นาที ทั้ง 3  T/F นี้จะเป็นองค์ประกอบของกราฟ H1 

กราฟ TFEX 4 T/F 1,5,15,H1


ตัวอย่างกราฟขาลงในกราฟ TFEX T/F 1,5,15 และ 60 นาที
  • นับคลื่นในแต่ละ T/F และเอาเชื่อมกันเพื่อดูสถานะคลื่นใน T/F ที่ใหญ่กว่า ว่าคลื่นย่อยอยู่ในช่วงของคลื่นไหนแล้ว เพือที่จะกำหนดกลยุทธ์ในการเทรดใน T/F เล็กระดับ 1-5 นาที

กราฟ TFEX 4 T/F M1,M5,M15,H1


กราฟขาขึ้นในรูปจะประกอบไปด้วยกราฟ T/F 1,5,15 และ 60 นาทีซึ่งทั้ง 4 T/F ก็จะเป็นองค์ประกอบของ T/F H4 และ day ตามลำดับ
  • กราฟ T/F 1 นาที ก็จะนับคลื่นได้ 5 คลื่นซึ่งในกราฟ 5 นาทีก็จะเป็นคลื่น 3 เท่านั้น
  • กราฟ T/F 5 นาที เมื่อนับคลื่นครบ 5 คลื่นมันก็จะเป็นคลื่นย่อยของกราฟ 15 นาที
  • กราฟ T/F 15 นาที ก็จะเป็นองค์ประกอบของกราฟ H1 เมื่อเอาทั้ง 3 T/F มาประกอบกันก็จะได้กราฟ H1 ซึ่งเป็นชุดของการ swing ในกรอบของ T/F H4

กราฟ TFEX 4 T/F M1,M5,M15,H1


นับคลื่นจาก T/F M15,H1,H4,day 
  • T/F 15 นาทีจะเป็นคลื่นย่อยของ กราฟ T/F 60 นาทีซึ่งจะเห็นว่ากราฟ วิ่งอยู่ในกรอบ sideway  
  • T/F H1 จะวิ่งขึ้นด้วยกราฟที่เป็น pattern Falt ขึ้น 3,4,5 และ ลงด้วย 3,4,5
  • กราฟ T/F H4 จะเห็นว่าเกิดคลื่นวิง่อยู่ในกรอบเท่านั้น ยังไม่เป็นเทรน
  • กราฟ Day กราฟยังเป็นขาลง ยังไม่เปลี่ยนเป็นขาขึ้น ฉะนั้นในกราฟ day ชุดเด้งชุดนี้จะนับเป็นคลื่น 4 เท่านั้น เพราะยังไม่เห็นการเปลี่ยนเทรนเป้นขาขึ้น หรือ การทำคลื่น 1 ย่อ 2 ในกราฟ day เลย 
 
กราฟ TFEX 4 T/F M15,H1,H4,Day


เชื่อม T/F ไปสู่กราฟ week ซึ่งเป็น T/F ใหญ่ที่เอาไว้ดูทิศทางของราคาในภาพใหญ่ จะเห็นว่า นับคลื่นในกราฟ week เป็นคลื่น 3 และกำลังเด้งคลื่น 4 อยู่ ต้องรอดูต่อไป ว่ากราฟจะสร้าง pattern อะไรต่อเมื่อการเด้งจบลง สังเกตุจากเมื่อจบการเด้งในกราฟ 60 นาทีแล้วกราฟจะทำ down ขาขึ้น หรือ ขาลง

กราฟ TFEX 4 T/F H1,H4,Day,Week



วันเสาร์, กันยายน 19, 2563

หุ้น data สามารถเชื่อมโยงการขึ้นลงได้ หาให้เจอแล้วจะเข้าใจหลักการขึ้นลงของกราฟ

 ปัจจุบันนี้มีข้อมูลจำนวนมากในตลาด แต่เราต้องกรองข้อมูลเอาเองว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นสามารถเชื่อมโยงกับการขึ้นลงของราคาได้ไหม อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับทักษะและหลักการวิเคราะห์ของเหล่าเทรดเดอร์ทั้งหลายว่าจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและกรองจนเจอหุ้นที่สามารถเอามาเทรดได้ ก็ถือว่าการเทรดในไม้นั้นๆไม่ได้เทรดแบบมั่วขอไปที แต่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้รองรับอยู่ ไม่ได้เทรดเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา เพราะปัจจุบัน มีข้อมูลจำนวนมากปล่อยออกมามีทั้งข้อมูลจริงที่เชื่อมกับการขึ้นของหุ้นได้ และข้อมูลที่ปล่อยออกมาเพื่อที่จะหลอกให้รายย่อยติดกับ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเหล่าเทรดเดอร์ และทักษะในการเอาตัวรอด เพราะปัจจุบันไม่มีการสอนอย่างเปิดเผย ที่สอนแล้วจะสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อยาวนาน พรานล่าหุ้นจะนำเสนอการกรองข้อมูลในแบบฉบับของพรานล่าหุ้นไว้เป็นข้อมูลให้เหล่าเทรดเดอร์เอาไปประยุกต์ใช้กัน

Flow chart ในการกรองหุ้นเพื่อเอามาเทรด

หลักการกรองแบบพรานล่าหุ้น
  1. ดูสัญญาณจาก set ว่ามีแรงซื้อหรือ แรงขายถ้ามีแรงซื้อ ก็ไปดูข้อ 2. ต่อ ถ้ามี flow ออก ก็ไปเล่นขาลง หรือ รอให้ set กลับมาเป็นขาขึ้นก่อนถ้าเล่นขาลงไม่ถนัด 
  2. เลือกหุ้นที่มี Flow เข้ามาเทรด
          โดยการเก็บข้อมูลที่มี %chg มากที่สุดทุกวันเก็บไว้สัก 7 วันแล้วเรียงลำดับหุ้นที่มี %chg  มากที่สุดออกมาก็จะได้ข้อมูลว่าใน 7 วันที่ผ่านมาหุ้นตัวไหนมี flow เข้ามากที่สุด

      3. เอาหุ้นที่มี flow เข้ามาดูพื้นฐานว่าเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานรองรับไหม และอยู่ในช่วงเติบโตรึเปล่า

      4. เมื่อได้หุ้นที่มี flow เข้าแล้วบวกกับมีพื้นฐานดี ก็เอามาแยกด้วยกราฟอีกครั้งแบ่งเป็น 3 แบบ
         
         4.1 หุ้นที่กราฟกำลังเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นอันนี้เอามาเฝ้าเพื่อทำการเทรดระหว่างวัน
         4.2 หุ้นที่กราฟเป็นขาลง ยังไม่สนใจรอเปลี่ยนเทรนก่อน
         4.3 หุ้นที่ swing ในกรอบยังไม่เลือกทาง ก็รอจังหวะให้เลือกทางก่อน

    5. แบ่งหุ้นที่คัดออกมาต่อว่าหุ้นที่พร้อมจะเทรดอยู่ในช่วงของคลื่นอะไรในมุมของ Elliott wave แบ่งเป็น 2กรณี คือ
        5.1 หุ้นคลื่น 2 อันนี้เอามาเล่นเป็นเทรนได้เพราะได้ช่วงต้นเทรนแล้ว
        5.2 หุ้นคลื่น 4 อันนี้เอามาเกร้งกำไรเท่านั้นเพราะอยฦุ่ในช่วงปลายคลื่อนแล้ว

ตัวอย่างการดึงข้อมูลในโปนแกรม aspen จะมีส่วนให้ดึงข้อมูลออกมาได้จาก %chg มากไปน้อย



ตัวอย่าง Excel ที่ดึงข้อมูลออกมาแล้วเอาเรียงข้อมูลหุ้นที่ %chg มากสุดไปน้อยสุดใน 7 วันที่ผ่านมา




ลักษณะของจุดกลับตัว ( Turning point )

รูปแบบของจุดกลับตัวสามารถแยกได้จากกราฟเพราะ pattern จะทำ pattern  3 รูปแบบเท่านั้น

  1. เทรนขาขึ้น
  2. เทรนขาลง
  3. เทรน sideway
เมื่อรู้ว่ากราฟจะทำรูปแบบ pattern แค่ 3 รูปแบบเท่านั้นก็ไปดูว่ากราฟสร้างสัญญาณของรูปแบบไหนที่แนวรับ โดยองค์ประกอบในกราฟที่ต้องดู

  • แรงซื้อและแรงขายผ่านแท่งเทียนที่แนวรับนั้นๆ
  • พฤติกรรมของกราฟเมื่อลงมาที่แนวรับสำคัญ
  • คลื่นใน T/F ย่อยครบคลื่นรึยัง

ภาพรูปแบบพฤติกรรมของกราฟเมื่อลงมาที่แนวรับสำคัญแล้วเกิดการกลับตัว แต่ถ้าลงมาแล้วเด้งขึ้นครบคลื่นแล้วยืนบนแนวรับไม่ได้ก็จะเปลี่ยนเป็นขาลงตามเทรนเดิม โดยต้องแยกหลังจากกราฟขึ้นมาที่แนวต้านและดุแรงขายที่แนวต้านนั้นๆ ว่ามีเยอะหรือน้อย เมื่อกราฟเกิดแรงขายแล้วลงมาที่แนวรับของฝั่งขาขึ้นไม่หลุดลงไปกราฟก็จะเริ่ม สร้างรูปแบบขแงขาขึ้นใหม่ตามภาพรูป
  • Pattern ที่ 1 เป็นรูปแบบการกลับตัวที่เกิดการ sub แรงขายก่อนแล้วไปกลับตัวที่แนวรับ 
  • Pattern ที่ 2 เป็นรูปแบบการกลับตัวที่แนวรับแต่เกิดการ sub แรงขายที่สูงขึ้น
  • Pattern ที่ 3 เป็นรูปแบบการกลับตัวแล้วลงต่อ แรงขายมากกว่าแรงซื้อ ยืนไม่ได้บนจุดกลับตัว

จุดกลับตัวที่ดีและจะเป็นจุดกลับตัวที่สมบูรณ์ได้ ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

  1. ลงชนแนวต้านรวมทั้ง T/F เล็กและ T/F ใหญ่ ระดับ H1 และ H4 ขึ้นไป
  2. ลงมาครบคลื่นในมุมของคลื่น Elloitt wave ใน T/F ใหญ่
  3. แท่งเทียนเริ่มวิ่งออกข้างที่แนวรับทำ double bottom และเริ่มทำฐานของ down ขาขึ้น
  4. คลืน Elliott wave ใน T/F เล็กเริ่มยืดออกทำ คลื่น 3,4,5 และพักทำ abc ขาเดียวแล้วเด้งขึ้นเลย
  5. T/F ใหญ่ระดับ H1 เห็นการทำคลื่น 1 ย่อ 2 ที่เกิด low ยกขึ้น
รูปกราฟจริงที่ลงมาชนแนวรับแล้วลงต่อ และ ลงมาชนแนวรับแล้วขึ้นต่อ

กราฟ Tfex T/F 1 นาที

กราฟหุ้น TASCO 
  • นับคลื่นจากการเขียนเส้นแทนแท่งเทียน เพื่อให้นับคลื่นง่ายขึ้นใน T/F กราฟ 5 นาที



รายละเอียดจากกราฟ 60 นาที นับคลื่นจากการเด้งขึ้นเป้นคลื่น 4 เหลือ คลื่น 5 ใน T/F นี้




เรียงความสัมพันธ์ของ T/F ให้ถูก 

T/F เล็ก ระดับ H1

จะประกอบไปด้วย T/F 1, 5, 15 นาทีมาประกอบกัน และจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรนที่ T/F 1 นาทีก่อนเสมอแต่ต้องไปดูต่อที่ T/F H1 ว่าตำแหน่งที่เกิดสัญญาณเปลี่ยนเทรนนั้น เป็นจุดที่ชนแนวรับของ T/F H1 ด้วยและคลื่นย่อยใน T/F ที่เล็กกว่า H1 ลงครบคลื่นแล้ว


ภาพนับคลื่นขาลงและขาขึ้นว่าคลื่นย่อยและคลื่นใหญ่เป็นอย่างไงบ้าง

  • จะเห็นว่าคลื่นใน T/F เล็กลงครบคลื่นแล้วชนแนวรับสำคัญแล้วทำคลื่น 1 ย่อ 2
  • แนวรับเป็นแนวรับรวมกับ T/F ใหญ่ 

กราฟ 4 T/F 1,5,15,H1 นาที

ภาพกราฟ T/F H1,H4,Day
  • นับคลื่น T/F H1 ลงมาครบ 5 คลื่นถึงจุดเด้งตากแนวรับสำคัญ
  • นับคลื่น T/F H4 ลงมา 5 คลื่นเช่นกัน
  • นับคลื่นใน T/F day อยู่ในช่วงปลายคลื่น 5 ยังไม่ครบคลื่นเพราะคลื่นย่อยขาลงเป็นได้แค่ขา 4 ยังเหลือขา 5 อีก 1ขาดูการทำ pattern ต่อไปว่าจะทำขาขึ้น หรือ ขาลง ต่อไป 

กราฟ T/F H1,H4,Day




วันอาทิตย์, กันยายน 06, 2563

sub แรงขาย 4 T/F


การเคลื่อนที่ของกราฟ จะเคลื่อนที่เป็น cycle เสมอไม่ว่าจะ T/F เล็กหรือ T/F ใหญ่เมื่อเคลื่อนที่ครบ cycle แล้วก็ทำ cycle ถัดไปโดยแบ่งช่วงของกราฟทีเกิด cycle ได้ 3 ช่วง

  1. ช่วง sideway
  2. ช่วงเทรนขาขึ้น
  3. ช่วงเทรนขาลง
รูปการเคลื่อนที่ของกราฟใน 1 cycle จะเกิดช่วงของการ sub แรงขาย 3 ช่วงไม่ว่าขึ้นลงก็จะเกิดเท่ากัน
ภาพจากกราฟจริง 3 จุดที่เกิดการ sub แรงขายในช่วง sideway แต่เกิดขึ้นในจุดที่แตกต่างกัน
  1. sub แรงขายในเทรนขาลง
  2. sub แรงขายในช่วง bottom
  3. sub แรงขายในเทรนขาขึ้น


ดูช่วงการ sub แรงขายของ คู่เงิน USD/UPY 4 T/F 

ช่วงแรกที่กราฟลงมาที่แนวรับจะเกิดการเด้งขึ้น แต่ถ้ายัง sub แรงขายไม่หมดหรือ เหลือน้อยๆ กราฟก็จะยังไม่วิ่งขึ้น เมื่อเข้าไปดู T/F เล็กจะเห็นการเด้งขึ้นเป้น cycle หลาย cycle ซ้อนกันอยู่ เมื่อเด้งแล้วไปตรงกับจังหวะของ T/F ใหญ่ที่ sub เสร็จแล้วกราฟของ T/F เล็กก็จะวิ่งขึ้นพร้อมกับ T/F ใหญ่

รูปที่ 1 ลงชนแนวรับแล้ว T/F เล็กเกิดชุด sub แรงขายจากกราฟ 1 นาที และกราฟ 5 นาทีตามลำดับ ยังจะไม่วิ่งขึ้นเป็นเทรน

รูปที่ 2 เมื่อ T/F 1 นาที sub แรงขายเสร็จก็วิ่งขึ้นเป็นเทรนสั้นๆเพราะ ในกราฟ 15 นาทีขึ้นไปยังทำชุด sub แรงขายอยุ่เลย 


รูปที่ 3 T/F 1 นาทีขึ้นครบคลื่นและก็ ปรับฐานลงมาที่แนวรับ เกิดเป็น cycle แต่ใน T/F 5 นาทีจะเป็นขา 3 รอย่อ ละเด้ง 5 ต่อเป็น cycle ไปเรื่อยๆ


รูปที่ 4 กราฟ 1 นาทีลงมาที่แนวรับแล้วเกิดชุด sub แรงขายอีก ส่งต่อไปที่กราฟ 5 นาทีและ 15 นาที 


รูปที่ 5 เป็นจังหวะเด้งขึ้นในกราฟ 1 นาที และจะเห็นชุด sub แรงขายหลายชุดในกราฟ 5 นาที


รูปที่ 6 ขยายชุด sub ในกราฟ 1 นาทีเชื่อมต่อไปยังกราฟ 5 นาทีและ 15 นาที

รูปที่ 7 ก็ยังเกิดชุด sub แรงขายในกราฟ 1 นาทีซึ่งเป็นคลื่นย่อยในกราฟ 6 นาที ในรูปจะเห็น 1 cycle

รูปที่ 8 cycle ในกราฟ 1 นาทีแต่เป็นคลื่นย่อยในกราฟ 5 นาทีและเป็ยชุด sub ในกราฟ 15นาที

รูปที่ 9 เกิดชุด sub แรงขายในกราฟ 1 นาทีที่จุดยอดของกราฟ 15 นทีเป็นจังหวะชนแนวต้านแล้วเกิดแรงขายเปลี่ยนเป็นขาลงชั่วคร่าว


รูปที่ 10 เกิดชุด sub แรงหลบายชุดในกราฟ 1 นาทีและก็เปลี่ยนเป็นขาลงตามกราฟ 5 นาที


รูปที่ 11 เกิดการกลับตัวในกราฟ 1 นาทีเป็นรูปตัว V ที่แนวรับดุกราฟ 15 และ H1 ประกอบเพื่อหาจุดกับตัว


รูปที่ 11 จังหวะที่เกิดสัญญาณของขาลงจากกราฟ 1 นาทีส่งต่อไปที่ กราฟ 5 นาที่ตามลำดับ


รูปที่ 12 จังหวะกลับตัวที่แนวรับในกราฟ 1 นาทีแต่หาแนวรับใหญ่จากกราฟ H1


รูปที่ 13 คลื่นย่อยในกราฟ 1 นาที และเกิดคลื่น 3 4 และ 5 .ในกราฟ 5 นาทีเมื่อจบขา 5 กราฟก็ลงพักฐานไปที่แนวรับแต่ยังไม่หลุดแนวรับของขาลง 


รูปที่ 14 เมื่อจบการพักฐานแล้วไม่หลุดแนวรับของขาลงก็มีแรงซื้อเข้ามาเกิด cycle เล็กๆในกราฟ 1 นาที


รูปที่ 15 เกิดสัญญาณซื้อที่กราฟ 1 นาทีต้องไปดูกราฟ 5 นาที ว่าเกิดสัญญาณซื้อเหมือนกันไหม ถ้าเกิดเหมือนกันก็จะจุดเข้าซื้อระยะสั้นๆได้


รูปที่ 16 ในกราฟ 1นาที จบ 1 cycle แล้วเด้งขึ้น low ยกขึ้นเป็นสัญญาณของขาขึ้นซึ่งในกราฟ 5 นาทีกำลังขา 1และ 2 อยู่


รูปที่ 17  เมื่อกราฟวิ่งขึ้นชนแนวต้านจะเกิดสัญญาณขาลงจากกราฟ 1 นาทีแล้วส่งต่อไปที่ 5 และ 15 นาทีตามลำดับแต่ให้ใช้แนวต้านจากกราฟ H1 เป็นหลัก


รูปที่ 18 สัญญาณขาลงต่อจากการเกิดชุดพักที่แนวรับแล้วเกิดการเด้งขึ้นจนเกิดชุด sub แรงขายเมื่อครบคลื่นในกราฟ 1 และ 5 นาทีก็เปลียนเป็นขาลงต่อ


รูปที่ 19 ลักษณะแรงขายที่เกิดขึ้นเมื่อ กราฟ 1 นาทีลงมาชนแนวรับแต่ใน T/F ใหญ่ยังลงไม่ครบคลื่น เมื่อ T/F 1 นาทีเด้งขึ้นครบคลื่นแล้วทะลุแนวต้านของฝั่งขาขึ้นไม่ได้ก็จะลงต่อเพื่อทำคลื่นขาลงของ T/F ใหญ่ให้ครบ


รูปที่ 20 เกิดชุด sub ที่แนวรับเห็น cycle จากกราฟ 1 นาทีและ 5 นาทียังไมเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้น


รูปที่ 21 เกิดชุด sub ในกราฟ 1 นาที เคลื่อนที่เป็น cyle ประกอบกับกราฟ T/F 5 นาที